xs
xsm
sm
md
lg

พม่าปลด 2 เจ้าหน้าที่อาวุโสพัวพันทุจริตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเหมืองหยก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนต.ค.2558 เผยให้เห็นรถขุดขนาดใหญ่เข้าขุดดินในเหมืองหยก ในเมืองผากัน รัฐกะฉิ่น จากเหตุการณ์ดินถล่มหลายระลอกภายในเหมืองหยกจนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทางการได้เข้าสอบสวนเหตุการณ์ในอุตสาหกรรมหยกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ของประเทศ และล่าสุดทางการได้ออกมายอมรับว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในการนำเข้าเครื่องจักรอย่างผิดกฎหมาย. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่อาวุโสพม่า 2 คน ถูกปลดออกจากตำแหน่งในสัปดาห์นี้ หลังการสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมเหมืองหยกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ของประเทศ

ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรและการค้าของพม่า ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และถูกกล่าวหาว่านำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ขุดหาหยกในรัฐกะฉิ่นอย่างผิดกฎหมาย ตามการเปิดเผยของผู้อำนวยสำนักงานประธานาธิบดี

นับเป็นการยอมรับของทางการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักว่าเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการทุจริตคอร์รัปชันในอุตสาหกรรมหยก ซึ่งตอบสนองความต้องการอย่างมหาศาลของเพื่อนบ้านอย่างจีน

การคัดค้านของประชาชนต่อการทำเหมืองได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ เมื่อรถขุดขนาดยักษ์เข้าขุดหาหยกทั่วพื้นที่เขตทำเหมืองของเมืองผากัน รัฐกะฉิ่น ที่เกิดเหตุดินถล่มจนทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายครั้ง

“เจ้าหน้าที่ 2 คนนี้เกี่ยวข้องในการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับขุดหาหยกในเมืองผากัน และสำนักงานประธานาธิบดีได้ดำเนินการต่อพวกเขา” ซอ เต ผู้อำนวยการสำนักงานประธานาธิบดี กล่าว

ซอ เต ระบุว่า ยังมีเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมาย ที่ทำงานให้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และกระทรวงเหมืองแร่ โดยหน่วยงานจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินมาตรการอะไรต่อคนเหล่านั้น

การสอบสวนของรัฐบาลในอุตสาหกรรมหยกเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. หลังเกิดเหตุดินถล่มหลายระลอกในเมืองผากัน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และสร้างความวิตกต่อประชาชนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ไม่โปร่งใส และอื้อฉาวนี้

นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นกล่าวหาว่า บริษัททำเหมืองได้เร่งสกัดหาหยกก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากรัฐบาลชุดปัจจุบันไปสู่รัฐบาลที่นำโดยพรรคของอองซานซูจี

Global Witness องค์กรตรวจสอบปัญหาการคอร์รัปชัน ระบุว่า การทำเหมืองหยกในพม่าอาจเป็นการปล้นทรัพยากรธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่

เมื่อปีก่อน Global Witness คาดการณ์ว่า มูลค่าของหยกที่ผลิตได้ในปี 2557 อยู่ที่ประมาณ 31,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่ายอดจำหน่ายในงานแสดงหยกพม่าในปีเดียวกัน ที่มีมูลค่า 3,400 ล้านดอลลาร์

หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานในเดือน ก.พ. ว่า พม่าทำรายได้จากการส่งออกหยกใน 9 เดือน จนถึงเดือน ธ.ค.2558 ไปทั้งสิ้น 567 ล้านดอลลาร์ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์.
กำลังโหลดความคิดเห็น