xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดหยกพม่าเจ๊ง จีนเลิกหนุนวงเงินผู้ค้ามัณฑะเลย์ปิดบริษัทระนาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ค้าตรวจดูก้อนหยกในงาน Gems Emporium วันที่ 7 ธ.ค.2558 ในเนปีดอ งานนี้ซื้อขายกันด้วยเงินจ๊าต ตามอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐบาลเท่านั้น ส่วนการค้าขายหยกโดยทั่ว มีศูนย์กลางอยู่ในนครมัณฑะเลย์ สื่อในพม่ารายงานสัปดาห์นี้ว่า ผู้ค้าที่นั่นปิดบริษัทกันระนาว หลังจากมีผู้ซื้อจากจีนลดลง. -- Associated Press/Aung Shine Oo. </font></b>

MGRออนไลน์ -- ตลาดหยกในพม่าปีนี้เงียบเหงามาก หลังจากทางการจีนได้หยุดให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนจากจีน เรื่องนี้เป็นที่ทราบกันภายในตลาดซื้อขายในมัณฑะเลย์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจอัญมณีหดตัวตามไปด้วย บริษัทค้าปิดตัวเองลงอย่างมากมาย

ยังไม่ทราบเหตุผลของฝ่ายจีน ที่หยุดให้การอุดหนุนวงเงินกู้ยืมผ่านธนาคารของรัฐเสมอมา แต่ผู้คนในวงในบอกหนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ว่า เรื่องนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว

นายโซนาย (Soe Naing) ผู้บริหาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกสมาคมผู้ค้าหยกและอัญมณี (Myanmar Gems and Jewellery Entrepreneurs Association ในมัณฑะเลย์ หรือ MGJEA กล่าวว่า มาตรการของทางการจีนทำให้ตลาดหยกหยุดชะงักไปโดยปริยาย อีกหลายคนก็กล่าวถึงเรื่องนี้ทำนองเดียวกัน

ผู้บริหาร MHJEA กล่าวว่า เมื่อก่อนเคยมีบริษัทค้าหยกในมัณฑะเลย์ราว 700 บริษัท โดยมีจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด เมื่อผู้ซื้อจากจีนลดลง ปัจจุบันจึงเหลืออยู่ราว 50 บริษัทเท่านั้น ผู้ค้าจากจีนจะซื้อหยกก้อนที่ยังไม่ได้ตัดเป็นหลัก ตัวเลขของสมาคมแห่งนี้ระบุว่า ในแต่ละเดือนมีการผลิตหยกออกสู่ตลาดราว 2,500 ตัน แหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่เมืองผากั๊นรัฐกะฉิ่น ทางตอนเหนือของประเทศ

ยังไม่มีผู้ใดทราบว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไรเกี่ยวกับ ในขณะที่รัฐบาลจัดให้มีการประมูลซื้อขายหยกในกรุงเนปีดอ เป็นประจำทุกปี และ บางปีจัดขึ้นหลายรอบ

อุตสาหกรรมหยกเป็นปัญหามานาน เหมืองหยกในพม่าที่มีบริษัทจีนเป็นเจ้าของสัมปทาน ถูกกล่าวหาจากองค์กรภาคเอกชนที่ไม่สังกัดรัฐบาลหลายกลุ่ม ว่ามีความไม่โปร่งใส มีปัญหาการบังคับใช้แรงงานในท้องถิ่น ปัญหายาเสพติด ขาดมาตรฐานความปลอดภัย เหมืองหยกเกิดถล่มมาหลายครั้ง มีคนงานเสียชีวิตกว่าร้อยคน

ประมาณการเมื่อปีที่แล้วเชื่อว่า ในปี 2557 พม่าผลิตหยกออกมามีมูลค่าราว 31,000 ล้านดอลลาร์ มากมายมหาศาลกว่าที่รัฐบาลนำออกจำหน่ายผ่านการประมูลทั้งปี ที่มีมูลค่าเพียง 3,400 ล้านดอลลาร์

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการของกระทรวงการค้า ในช่วง 9 เดือนจนถึง ธ.ค.2558 พม่ามีรายได้จากการจำหน่ายหยกเพียง 567 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ปีงบประมาณจะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค.นี้.
<br><FONT color=#000033>ก้อนหยกวางรวมกันเป็นล็อต ในงานประมูล Gems Emporium 7-13 ธ.ค.2558 สมาคมผู้ค้าฯ กล่าวว่า มีการผลิตหยกวันละกว่า 2,000 ตัน แต่ 9 เดือนของปีงบประมาณปัจจุบัน การส่งออกหยกมีมูลค่าเพียง 567 ล้านดอลลาร์ ท่ามกลางการกล่าวหาไม่โปร่งใส.  -- Associated Press/Aung Shine Oo. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น