xs
xsm
sm
md
lg

อีกแค่ 2 วัน ใครจะเป็นตัวแทน “อองซานซูจี” นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ไม่สามารถนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีได้ตามที่รัฐธรรมนูญร่างโดยรัฐบาลเผด็จการทหารกำหนดไว้ แต่ซูจีให้คำมั่นว่าจะปกครองอยู่เหนือประธานาธิบดีที่เป็นตัวแทนของเธอ ซึ่งจนถึงขณะนี้ชื่อของบุคคลที่คาดว่าจะเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากฝั่งพรรค NLD ก็ยังไม่มีปรากฎออกมา. -- Agence France-Presse/Aung Htet.</font></b>

เอเอฟพี - รัฐสภาพม่าจะประชุมกันในวันพฤหัสบดี (10) นี้ เพื่อเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซานซูจีกวาดชัยชนะจากการเลือกตั้งครั้งสำคัญเมื่อ 4 เดือนก่อน

ภายใต้รัฐธรรมนูญอันซับซ้อนของประเทศที่รัฐบาลเผด็จการทหารร่างขึ้น รายชื่อผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 3 คน จะถูกเสนอขึ้นในที่ประชุมรัฐสภา แต่ตัวแทนที่ถูกเสนอชื่อจากพรรค NLD มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ชนะมากที่สุด ด้วยพรรคครองเสียงข้างมากในทั้งสองสภา

อองซานซูจี ที่แม้จะถูกห้ามจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งสูงสุดของประเทศด้วยมีทายาทเป็นชาวต่างชาติ แต่ซูจี ได้ให้คำมั่นว่าจะปกครองอยู่เหนือผู้นำที่เป็นตัวแทนของเธอ

แต่พรรคของซูจียังคงปิดปากสนิทว่าใครคือผู้ที่ซูจีหมายตาไว้ แต่สำนักข่าวเอเอฟพีได้รวบรวมรายชื่อที่คาดว่าน่าจะปรากฏขึ้นในฐานะผู้แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศในครั้งนี้
.
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนพ.ย.2554  ถิน ก่อ (ซ้าย) ยืนอยู่เคียงข้างอองซานซูจี ขณะปีนรั้วบ้านพักเพื่อพูดคุยกับผู้สนับสนุนหลังได้รับการปล่อยตัวจากการควบคุมตัวในบ้านพักในนครย่างกุ้ง บรรดาผู้สังเกตการณ์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ถิน ก่อ จะเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี. -- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
.
ถิน ก่อ (Htin Kyaw)

ถิน ก่อ มักถูกระบุว่า เป็นคนขับรถส่วนตัวของอองซานซูจี แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นมากกว่านั้น คือ เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกันกับซูจี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิของพรรค NLD และที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคนหนึ่งของซูจี และยังถูกมองว่าเป็นผู้ที่จงรักภักดีอย่างไม่มีข้อสงสัย

ชายอายุ 69 ปีผู้นี้ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวางในองค์กร และยังเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสในมูลนิธิการกุศลของซูจี ขณะทีี่ภรรยาของเขาเป็นสมาชิกรัฐสภาของพรรค NLD

.
<br><FONT color=#000033>นายแพทย์ทิน เมียว วิน แพทย์ประจำตัวของอองซานซูจี ที่เป็นเพียงคนเดียวที่ได้เข้าร่วมในการหารือระหว่างอองซานซูจีและพล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย. -- ภาพ : Reforme.net/Remy Favre.</font></b>
.
ทิน เมียว วิน (Tin Myo Win)

นายแพทย์ประจำตระกูลของซูจี เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบอองซานซูจีระหว่างถูกควบคุมตัวในบ้านพักในช่วงการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร

ทิน เมียว วิน เป็นหัวหน้าเครือข่ายสุขภาพแห่งชาติของ NLD และยังคงเป็นคนสนิทใกล้ชิดถึงกระทั่งได้เข้าร่วมการหารือกับ พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย พร้อมกับซูจี แต่นายแพทย์วัย 64 ปี ผู้นี้ขาดพื้นหลังทางทหาร ที่อาจทำให้กองทัพที่ยังคงทรงอำนาจไม่ยอมรับ

นายแพทย์ทิน เมียว วิน ยังมีหน้าที่ประจำในฐานะหัวหน้าศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลมุสลิมฟรีในนครย่างกุ้ง
.
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนพ.ย. 2558 ทิน มา อ่อง (ซ้าย) ผู้ช่วยคนสนิทของอองซานซูจี ทำท่าส่งสัญญาณให้เบาเสียงขณะที่ ซูจี (ขวา) กำลังลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
ทิน มา อ่อง (Tin Mar Aung)

ผู้ช่วยส่วนตัวของซูจี ที่มีหลายอย่างคล้ายกันกับทิน เมียว วิน ด้วยเธอได้ผ่านการฝึกอบรมทางการแพทย์ และเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของผู้นำพรรค NLD

ทิน มา อ่อง ที่เป็นชาวพุทธยะไข่ ยังถูกชักชวนให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แม้ตำแหน่งนี้จะมีการเสนอให้ซูจี รับหน้าที่เองก็ตาม

ส่วนในหมู่คนวงในของพรรค NLD ระบุว่า ทิน มา อ่อง มีลักษณะท่าทางที่โผงผางตรงไปตรงมา และด้วยท่าทีแข็งกร้าวนี้อาจเป็นบางอย่างที่ซูจีต้องการ

.
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนพ.ย. 2558 ทิน อู (ซ้าย) ยืนข้างอองซานซูจี ที่ระเบียงสำนักงานใหญ่พรรค NLD ในนครย่างกุ้ง. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
ทิน อู (Tin Oo)

นายพลที่หันมาเป็นนักเคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตย ผู้อุปถัมภ์ของพรรค NLD ที่ได้รับความเคารพอย่างมากในพม่า เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคหลังการชุมนุมประท้วงใหญ่ในปี 2531 ที่จบลงด้วยการปราบปรามนองเลือด

ก่อนหน้านี้ ทิน อู เป็นผู้บัญชาการของกองทัพภายใต้รัฐบาลเน วิน และยังมีวิสัยทัศน์การป้องกัน อันเป็นคุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับประธานาธิบดีในรัฐธรรมนูญ

แต่อดีตนักโทษการเมืองที่มีอายุเกือบ 90 ปี ผู้นี้ ไม่ค่อยแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะนำประเทศ ด้วยเคยกล่าวต่อเว็บไซต์ข่าวอิรวดีเมื่อปีก่อนว่า เขาไม่ต้องการที่จะเป็นประธานาธิบดี
.
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนพ.ย. 2558 ฉ่วย มาน (ซ้าย) อดดีตนายพลนักปฏิรูป สัมผัสมือกับอองซานซูจี ก่อนการพบหารือที่อาคารรัฐสภาในกรุงเนปีดอ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
ฉ่วย มาน (Shwe Mann)

อดีตพนายพลที่ถูกมองว่าเป็นนักปฏิรูปมากที่สุดในหมู่นายทหาร เขาถูกไล่ออกจากพรรคสหภาพสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ที่กองทัพให้การสนับสนุนเมื่อปีก่อน และฉ่วย มาน เป็นรายชื่อเดียวที่ไม่ใช่คนของพรรค NLD

ฉ่วย มาน อายุ 69 ปี เริ่มสานสัมพันธ์ทางการเมืองกับซูจีในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ขณะที่ทั้งคู่อยู่ในรัฐสภา ด้านผู้สังเกตการณ์ได้คาดการณ์กันว่า ฉ่วย มาน อาจเป็นผู้สมัครที่มีฐานะประนีประนอม ที่อาจเป็นสะพานเชื่อมความแบ่งแยกระหว่างซูจี และกองทัพที่ยังคงยืนอยู่ในทางของประชาธิปไตยอย่างเต็มที่

แต่การเป็นประธานาธิบดีของฉ่วย มาน มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความไม่พอใจให้แก่ฐานเสียงของพรรค NLD และดูไม่่น่าจะสร้างความพอใจให้แก่กองทัพ ที่ไม่พอใจความใกล้ชิดระหว่างฉ่วย มาน กับซูจี

นอกเหนือไปจากบุคคลที่ได้กล่าวไปทั้งหมดแล้ว เนื่องจากพรรค NLD ไม่มีตัวเต็ง บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้เริ่มสำรวจตรวจสอบผู้ที่คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มความเป็นไปได้อยู่บ้าง เช่น วิน เต็ง โฆษกพรรค NLD ที่มีชื่อปรากฏขึ้นมา แม้ว่าในปีก่อนได้กล่าวไว้ว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในสภา เนื่องจากอายุ และปัญหาสุขภาพ

ส่วน ดร.โม อ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิ และสมาชิกคณะกรรมการบริหารกลางพรรค NLD ยังถูกชักชวนด้วยชื่อเสียงทั้งจากความอ่อนน้อมถ่อมตน และเบื้องหลังทางการเมือง.
กำลังโหลดความคิดเห็น