xs
xsm
sm
md
lg

เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เรือพิฆาตยักษ์สเตลธ์ทรงเตารีด USS Zumwalt ออกทะเลครั้งแรก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>รูปทรงแปลกตา กับขนาดอันใหญ่โต ความยาวตลอดลำ 183 เมตร เรือพิฆาต USS Zumwalt ปรากฏเป็นเงาทะมึน  ขณะแล่นช้าๆ ไปตามแม่น้ำเคนเนเบ็ก (Kennebec) ในรัฐเมน ภายใต้อุณหภูมิที่เย็นจัด เพื่อออกสู่ทะเลเปิด ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องของบรรดาเจ้าหน้าที่ และ พนักงานอู่ต่อเรือเก่าแก่ราว 200 คน นี่คือเรือรบแห่งอนาคต มูลค่ากว่า 4,200 ล้านดอลลาร์ ที่มีกำหนดเข้าประจำการปีหน้า ปัจจุบันกำลังต่ออีก 2 ลำ จากแผนการจัดหาทั้งหมดถึง 32 ลำ.  -- Associated Press/Robert F Bukaty. </b>

MGRออนไลน์ -- เรือพิฆาตยักษ์รูปทรงแปลกตาย้อนยุค เป็นเรือพิฆาตขนาดใหญ่โตมหึมาที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ซึ่งจะเป็นเรือรบแห่งอนาคตของกองทัพเรือสหรัฐ และ ยังเป็นศูนย์รวมแห่งเทคโนโนยีเรือรบชั้นนำของโลก ได้ออกแล่นในทะเลแอตแลนติกเป็นครั้งแรก วันจันทร์ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้กลายเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของอุตสาหกรรมเดินเรือ กับกองทัพเรือทั่วโลก

ตามรายงานในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐ เรือพิฆาตซูมวอลต์ (USS Zumwalt, DDG 1000) ถูกลากจูงออกจากบริเวณอู่ต่อเรือบาร์ธไอออนเวิร์ค (Bath Iron Works) ของกลุ่มเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics) ในรัฐเมน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในการทดสอบจริงทางทะเลเป็นครั้งแรก ก่อนเตรียมนำเข้าประจำการในปี 2559 นี้

ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี เรือรบซึ่งเป็นเรือต้นของเรือพิฆาตพันธุ์ใหม่ "ชั้นซูมวอลต์" หรือ "เรือ DDG 1000" แล่นไปตามแม่น้ำเคนเนเบ็ก (Kennebec) สู่ทะเลเปิด ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องของบรรดาเจ้าหน้าที่ และ พนักงานอู่ต่อเรือราว 200 คน ซึ่งหลายคนในนั้นร้องตะโกนด้วยความรู้สึกลิงโลดใจ ในความสำเร็จ อันเป็นผลงานชิ้นประวัติศาสตร์ของพวกเขา

อู่ต่อเรือเก่าแก่ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกแห่งนี้ ให้กำเนิดเรือรบมานับจำนวนไม่ถ้วน เรือจำนวนมากจากที่นี่ เคยเข้าร่วมในการยกพลขึ้นบก ที่หาดนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 70 ปีที่แล้ว รวมทั้งเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวณที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังไม่เคยสร้างเรือรบรุ่นใด ที่มีรูปลักษณ์ประหลาดล้ำ และ มีขนาดใหญ่โตระดับนี้มาก่อน

เรือชั้นซูมวอลต์กำลังจะเข้าประจำการแทนเรือพิฆาต (Destroyer) ชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke-Class) และ เมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุด อาจจะใช้แทนเรือลาดตระเวณ (Cruiser) ชั้นติคอนดีโรกา (Ticonderoga-Class) ในปัจจุบันอีกด้วย

หมายความว่าในอนาคตที่ยังไม่ได้กำหนดแน่นอนในขณะนี้ เรือซูมวอลต์อาจจะเป็นเรือรบเพียงแบบเดียว ชนิดเดียว และ รุ่นเดียว ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยใช้งานในหลากหลายภารกิจ เนื่องจากมีเขี้ยวเล็บเพรียบพร้อม กับขีดความสามารถรอบด้าน ที่มีในเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวณ ซึ่งเป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน และ ยังมีมากกว่านั้นอีก ทั้งกองทัพจึงฝากความหวัง กับเรือลำที่แล่นเข้าสู่กระบวนการทดสอบใช้งานจริงในทะเลสัปดาห์นี้

เรือซูมวอลต์สร้างขึ้นมาด้วยดีไซน์ประหลาดตาและขนาดใหญ่โต โดยมีระวางถึง 15,000 ตัน เทียบกับเรือพิฆาตอาร์ลีห์เบิร์ก Flight I ถึง Flight IIA กับ Flight III ในอนาคต ที่มีขนาดตั้งแต่ 9,000 ไปจนถึง 11,000 ตันเมื่อบรรทุกเต็มอัตรา และ เทียบกับเรือลาดตระเวณชั้นคิคอนดีโรกา เพียง 9,800 ตันเท่านั้น

รูปทรงเป็นแบบ "ทัมเบิลโฮม" (Tumblehome) ส่วนล่างเป็นฐานกว้าง แต่แคบขึ้นไปสู่ส่วนบน จนดูคล้ายรูปทรงของเตารีดที่ใช้ถ่านไฟแบบเก่า เมื่อมองจากระยะไกล ทั้งนี้เพื่อให้เป็น "สเตลธ์" (Stealth) กราบเรือทั้งสองด้านเพรียวขึ้นข้างบน และ โค้งมนไปตามความยาว มีลักษณะลู่คลื่น และ หลบเลี่ยงการตรวจจับของเราดาร์ข้าศึก
.

.

.

.
ด้วยขนาดอันมหึมา กับความยาวตลอดลำถึง 183 เมตร เรือซูมวอลต์ออกแบบมา เพื่อให้ลำเรือส่วนใหญ่จมอยู่ในน้ำแบบเดียวกับเรือดำน้ำ เหลือเพียงกราบเรือกับส่วนกระโดงเรือราว 8 เมตร ที่จะโผล่เหนือน้ำ รวมทั้งปืน MK-45 และ ปืนใหญ่ 155 มม. AGS ที่จะติดตั้งบน "ดาดฟ้า" ในอนาคต

นั่นคือเรือพิฆาตยักษ์ถูกออกแบบให้ "แล่นแหวกไปในน้ำ" แบบเรือดำน้ำ แทนที่จะ "แล่นบนผิวน้ำ" หรือ "ลอยอยู่บนน้ำ" เช่นเรือรบทั่วไปในปัจจุบัน ก็จึงทำให้ทำให้วิศวกร กับ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง ตั้งคำถามใหญ่ๆ ว่า เรือขนาดมหึมา และ มีรูปทรงเช่นนี้ จะสามารถทนการกระแทกของคลื่นขนาดใหญ่ในทะเลเปิดได้จริงหรือ หลายฝ่ายแสดงความกังวลต่อความเสถียรของเรือรบทั้งลำ ที่จะอาจส่งผลถึงประสิทธิภาพในการรบด้วย

อย่างไรก็ตามรูปทรง Tumblehome ได้พัฒนาไปอีกขั้น เรือรบทรงเตารีดแห่งศตวรรษที่ 21 ย่อมแตกต่างโดยพื้นฐาน เป็นคนละลำ คนละแบบ กับเรือทรงคล้ายกัน ในศตวรรษที่ 19 หรือ 20 และ กองทัพเรือสหรัฐตัดสินใจฟื้น "ดีไซน์" นี้ กลับมาใช้งานอีกครั้ง พร้อมเทคโนโลยีล่องหน กับ เทคโนโลยีล้ำหน้าด้านอื่นๆ อีกมากมาย

เรือพิฆาตชั้นซูมวอลต์ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ตั้งแต่การขับเคลื่อน ไปจนถึงการควบคุมความเสถียรของลำเรือ โดยไม่ต้องพูดถึงระบบอาวุธ ซึ่งไฮไล้ท์สำคัญที่สุดอาจจะเป็น ป.155 มม. แคลิเบอร์เดียวกันกับปืนใหญ่สนามทั่วไป แต่เป็น Advanced Gun System หรือ "ระบบปืนใหญ่ก้าวหน้า" ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในขั้นตอนสุดท้าย โดย BAE Systems เพื่อติดตั้งบนเรือพิฆาตพันธุ์ใหม่นี้โดยเฉพาะ

กองทัพเรือสหรัฐเคยมีเป้าหมาย จัดหาเรือชั้นซูมวอลต์ถึง 32 ลำในช่วง 2-3 ทศวรรษปีข้างหน้า แต่ในปัจจุบันมีงบประมาณผูกพัน สำหรับ 3 ลำเท่านั้น ซึ่งลำต่อไปคือ เรือไมเคิล มอนซูร์ (USS Michael Monsoor, DDG 1001) กำลังต่อที่อู่แห่งเดียวกันนี้ กับ เรือลีนดอน บี จอห์นสัน (USS Lyndon B Johnson, DDG 1002) จะเป็นลำสุดท้าย
.
<br><FONT color=#00003>Associated Press/Robert F Bukaty </b>
2

***DDG 1000 "ไอ้ปืนโต" ยิงไกล 100 กม.***

แรกเริ่มเดิมที ปืนใหญ่เรือ AGS 155 มม. ของเรือซูมวอลต์ ออกแบบมาเพื่อติดตั้งตรง ตั้งฉากกับลำเรือ แบบเดียวกับเสาธง และ เอนลงเมื่อยิง แต่ในที่่สุดก็ตัดสินใจกันเมื่อไม่นานมานี้ ให้ติดตั้งเป็นแนวราบ บนป้อมปืนที่ออกแบบรูปทรงล่องหน เช่นเดียวกันกับส่วนอื่นๆ ของเรือทั้งลำ ปืนสามารถยกเอนได้ เป็นมุมตั้งแต่ 5-70 องศา

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ BAE Systems ปืน AGS ไม่สามารถใช้ยิงกระสุนปืนใหญ่สนาม 155 มม.ทั่วไป แคลิเบอร์ของลำกล้องเป็นขนาด 62 นั่นคือ 155/62 มม. เทียบกับปืนใหญ่สนามพันธุ์อเมริกัน 155/39มม. หรือ 155/52มม. อำนาจการยิงจากทะเลจึงไม่ได้ด้อยไปกว่าปืนใหญ่สนาม กองทัพเรือสหรัฐต้องการปืนขนาดนี้ เพื่อใช้ยิงโจมตีเป้าหมายบนบก หรือ ยิงสนับสนุนกำลังทหารราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หน่วยนาวิกโยธิน ในสังกัด

ปืน AGS ระบายความร้อนลำกล้องด้วยน้ำ สามารถยิงได้นาทีละ 10 นัด และ ยิงติดต่อกันได้จนหมด "แม็กกาซีน" 300 นัดหรือมากกว่านั้น ในรวดเดียว โดยใช้ระบบป้อนกระสุนอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่า ปืนใหญ่เรือบนเรือพิฆาตชั้นซูมวอลต์ มีอำนาจการยิงเท่าๆ กับปืนใหญ่สนาม 155 มม. ถึง 5 กระบอกเมื่อยิงพร้อมๆ กัน

นอกจากจะยิงด้วยกระสุนมาตรฐานจำเพาะแล้ว บริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) กำลังพัฒนากระสุนพิเศษอีกชนิดหนึ่ง สำหรับ ป.155 บนเรือซูมวอลต์ ที่เรียกว่า LRLAP หรือ กระสุนยิงโจมตีเป้าหมายบนบกจากระยะไกล (Long Range Land Attack Projectile) เป็นกระสุนความแม่นยำสูง มีระยะยิงพลาดเป้าหมาย ในเส้นรอบวงเพียง 50 เมตร หรือ แคบกว่านั้น

ในเดือน ก.ค.2548 ล็อกฮีดมาร์ติน ทดลองยิงกระสุน LRLAP รุ่นแรก ซึ่งยาว 220 ซม. น้ำหนัก 102 กก. สามารถยิงได้ไกลถึง 109 กม. (68 ไมล์ หรือ 59 ไมล์ทะเล) และ กำลังพัฒนาต่อไป เพื่อเพิ่มอำนาจการยิง

"ปืนใหญ่เรือจะต้องไม่พลาด" เป็นแนวคิดทั่วไปสำหรับปืนนาวี ทั้งนี้หากพลาดขึ้นมา ก็จะไม่สามารถหาทดแทนได้ในทันท่วงที และ จะไม่มีหน่วยใดสามารถจัดหาทดแทนได้ บนเรือซูมวอลต์ยังติดตั้ง "ปืนใหญ่ 5 นิ้ว" MK45 อีกกระบอกหนึ่ง เพื่อใช้ในปฏิบัติการปรกติ
.

<br><FONT color=#00003>Associated Press/Robert F Bukaty </b>
3
<br><FONT color=#00003>Associated Press/Robert F Bukaty </b>
4
<br><FONT color=#00003>US Navy Photo/Released </b>
5
<br><FONT color=#00003>เรือต้น USS Zumwalt มีโรงเก็บท้ายเรือ บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนส่ง/ปราบเรือดำน้ำ ซีฮอว์ก หรือ ระดับเดียวกัน จำนวน 2 ลำ. -- Associated Press/Robert F Bukaty. </b>
6
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปืนใหญ่ทั้งสองระบบ ก็เป็นเพียงเขี้ยวเล็บหนึ่ง

เรือซูมวอลต์ยังติดตั้งระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน ESSM (Evolved SeaSparrow Missile) แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตชุดนเรศวร-ตากสิน ของราชนาวีไทย ระบบจรวดยิงเรือดำน้ำ หรือ ASROC (Anti-Submarine Rocket) ติดตั้งระบบท่อยิงจรวดแบบ MK 57 จำนวน 20 ชุด รวมทั้งหมด 80 ท่อ สำหรับจรวด BMG-109 "โทมาฮอว์ก" จรวดร่อนรุ่นใหญ่ที่ติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ และยิงได้ไกลตั้งแต่ 1,300 -2,500 กม.

ระบบท่อยิง MK 57 ยังใช้ยิงจรวดมาตรฐาน RIM-66 ซึ่งเป็นจรวดยิงโจมตีระยะปานกลาง (70-164 กม.) ขนาดเล็กกว่าจรวดโทมาฮอว์ก แต่ละท่อยิงบรรจุได้ถึง 2 ลูก

เมื่อมองจากบรรดา "กระสุน" เหล่านี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เรือซูมวอลต์เป็นที่ต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในน่านน้ำที่กองทัพเรือสหรัฐ ต้องการครองความเป็นต่อ เหนือกว่าฝายตรงข้าม

ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีบนเรือพิฆาตยักษ์อีกจำนวนมาก รวมทั้งหัวใจสำคัญคือ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ให้พลังถึง 105,000 แรงม้าเรือ หมุนใบพัดในการขับเคลื่อน ระบบโซนาร์ล้ำหน้ากับเรดาร์ AN/SPY-3 Multi-Function สแกนอาร์เรย์ใน X-Band ซึ่งพัฒาต่อจาก AN/SPY-1/2 ในเรือลาดตระเวณ จึงเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน ฯลฯ

โครงการซูมวอลต์ก่อเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ต้นสหัสวรรษใหม่ เริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2551 โดยมีมูลค่าลำละ 3,500 ล้านดอลลาร์ แต่งบประมาณบานปลายขึ้นเป็น 4,200 ล้านดอลลาร์เศษ ทำพิธีวางกระดูกงูเดือน พ.ย.2554 ปล่อยลงน้ำเดือน ต.ค.2556 ตั้งชื่อเดือน เม.ย.ปีที่แล้ว ก่อนจะนำมาสู่เหตุการณ์ในวันจันทร์ที่ผ่านมา
.

<br><FONT color=#00003>เรือ DDG 1000 ที่บริเวณอู่บาธไอออนเวิร์ค ในรัฐเมน 28 ต.ค.2556 หลังพิธีปล่อยลงน้ำ ติดตั้งระบบต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง ก่อนจะมีพิธีตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ และ นำมาสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์วันจันทร์ที่ผ่านมา.  -- US Navy Photo Courtesy of General Dynamics. </b>
7

8
<br><FONT color=#000033>สเป็กส่วนหนึ่งของเรือ DDG 1000 มีขนาดใหญ่กว่า แต่ใช้ทหารเรือกับเจ้าหน้าที่ประจำน้อยลง เทียบกับเรืออาร์ลีห์เบิร์กทีใช้ 280 คน กับ 330 คนบนเรือลาดตระเวณติคอนดีโรกา เทียบความยาวกับเรือ DDG 53 คือ 505 ฟุต กว้าง 66 ฟุต เรือ CG 51 ที่ยาว 567 ฟุต กว้างสุด 55 ฟุต เทียบความเร็วกับเรือทั้งสองแบบ 30 และ 32.5 นอต ตามลำดับ. -- US Navy Graphic/Mass Communication Specialist 1st Class Arif Patani. </b>
9
<br><FONT color=#000033>นายเรย์มอนด์ เมบัส (Ray Mabus) รัฐมนตรีว่าการทบวงกองทัพเรือ กับแขกเหรื่อในพิธีให้ชื่ออย่างเป็นทางการแก่เรือต้น DDG 1000 วันที่ 12 เม.ย.2557 โดยตั้งตามชื่อ พล.ร.อ.เอลโม ซูมวอลต์ (Elmo R Zumwalt Jr) อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือ ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็น ผบ.ทร.อายุน้อยที่สุดของสหรัฐ.  -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class Arif Patani. </b>
10
<br><FONT color=#000033>นายชัค เฮเกล (Chuck Hagel) อดีต รมว.กลาโหม ปราศัยต่อเจ้าหน้าที่ หน่วยเตรียมการขึ้นระวางเรือ USS Zumwalt ที่อู่บาธไอออนเวิร์ก เมืองบรันสวิกค์ รัฐเมน 21 พ.ย.2556 หลังพิธีปล่อยลงน้ำไม่นาน. -- US Navy Photo/Glenn Fawcett. </b>
11
<br><FONT color=#00003>มูเซ็ตตา ซูมวอลต์-เวเธอร์ (Mouzetta Zumwalt-Weathers) กับแอน ซูมวอลต์ (Ann Zumwalt) สองธิดาของ พล.ร.อ.เอลโม ซูมวอลต์ ขึ้นทำพิธีให้ชื่อแก่เรือ DDG 1000 วันที่ 12 เม.ย.2557 เพื่อเป็นเกียรติแก่บิดาผู้ล่วงลับ อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐ ระหว่างปี 1970-1974 ช่วงสุดท้ายของสงครามเวียดนาม. -- US Navy Photo Courtesy of General Dynamics Bath Iron Works/ Dennis Griggs. </b>
12
<br><FONT color=#00003>เรือไมเคิล มอนซูร์ (USS Michael Monsoor, DDG 1001) เป็นลำที่ 2  ในบรรดาเรือรบแห่งอนาคตทั้งสามลำ วันที่ 14 พ.ย.2557 ขณะติดตั้ง ห้องดาดฟ้า ที่จัดเก็บระบบเรดาร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ เป็นศูนย์อำนวยการ/บัญชาการ อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการต่อเรือ DDG 1000 มูลค่ากว่า 4,200 ล้านดอลลาร์. -- US Navy Photo Courtesy of Bath Iron Works. </b>
13
<br><FONT color=#00003>เรือลีนดอน บี จอห์นสัน (USS Lyndon B Johnson, DDG 1002) ลำสุดท้ายในบรรดาเรือพิฆาตชั้นซูมวอลต์ลอตแรก ภาพจากคอมพิวเตอร์เผยแพร่วันที่ 16 เม.ย.2555 กระทรวงกลาโหมสหรัฐสั่งต่อเรือลำนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2554.  -- US Navy Photo Illustration/Lt Shawn Eklund. </b>
14
ตั้งชื่อตามชื่อของ พล.ร.อ.เอลโม ซูมวอลต์ จูเนียร์ (Elmo Russell Zumwalt, Jr) อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือคนที่ 19 ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งได้ชื่อเป็น CNO (Chief of Naval Operation) อายุน้อยที่สุด เคยมีบทบาทสำคัญในสงครามเวียดนาม และ ยังได้รับยกย่องในฐานะ เป็นผู้นำรณรงค์ปฏิรูปชีวิตความเป็นอยู่ของกำลังพล และ ลดความขัดแย้งทางเชื้อชาติภายในกองทัพ

ชีวิตในบั้นปลายหลังเกษียน พล.ร.อ.ซูมวอลต์ เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคที่ทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามถูกสังคมต่อต้าน และ ไม่ได้รับเกียรติเยี่ยงวีรบุรุษ

เรือซูมวอลต์กำลังจะเข้าแทนที่เรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก ที่ประจำการมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 จากเรือ USS Arleigh Burke, DDG-53 จนถึงเรือไมเคิล เมอร์ฟี (USS Michael Murphy, DDG-112) แต่ในปัจจุบันเหลือประจำการอยู่เพียง 32 ลำ และ ในขณะนี้ยังคงสร้างต่อไป จนถึง DDG-119 คือ เรือเดลเบิร์ต ดี แบล็ก (Delbert D Black) ในล็อตที่มีชื่อเรียกว่า Flight III ซึ่งเป็นล็อตที่พัฒนาสูงสุดตามเป้าหมายของชั้น

กองทัพเรือสหรัฐจะต้องจัดหาเรือพิฆาตอีกไม่ต่ำกว่า 10 ลำก่อนสิ้นทศวรรษนี้ ในขณะที่กำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่อีก 2 ลำ และ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเรือซูมวอลต์บานปลาย ก็จึงจัดหาเรือพิฆาตรุ่นใหม่ได้เพียง 3 ลำ เพราะฉะนั้นการต่อเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์กรุ่นใหม่ล่าสุด คือ Flight IIA และ Flight III ทีมีต้นทุนต่ำกว่า จะต้องดำเนินต่อไปตามแผนพัฒนาเดิม

อย่างไรก็ตาม การจัดหาเรือชั้นซูมวอลต์ จะมีความสัมพันธ์โดยตรง กับการปลดระวางเรือลาดตระเวณชั้นติคอนดีโรกา ที่ประจำการมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 และ สร้างออกมาทั้งหมด 27 ลำ คือตั้งแต่เรีอต้น (USS Ticonderoga, CG-47) จนถึงเรือพอร์ตโรยัล (USS Port Royal, CG-73) ที่ขึ้นระวางเป็นลำล่าสุดในเดือน ก.ค.2547 ก่อนหน้านี้ได้ปลดระวางไป 5 ลำ ปัจจุบันยังเหลืออยู่จำนวน 22 ลำ.
กำลังโหลดความคิดเห็น