xs
xsm
sm
md
lg

ไปดูกันเลย... รัสเซียขนจรวด S-400 สุดล้ำเข้าซีเรียหมาดๆ สอยได้ทุกอย่างทั้ง "แร็ปเตอร์" ขีปนาวุธข้ามทวีป

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ระบบจรวด S-400 ระบบแรก ประกอบด้วยจรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกลจำนวน 8 ลูก ส่งเข้าซีเรียด้วยเครื่องบินขนส่งทหารขนาดใหญ่ An-124 ในวันพฤหัสบดี 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ยังไม่ทราบแน่ชัดในขณะนี้ว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียจะส่ง ระบบต่อสู้อากาศยานก้าวหน้ามากที่สุดรุ่นหนึ่งของโลกในขณะนี้ ไปติดตั้งในซีเรียจำนวนทั้งหมดกี่ชุด และ นี่คือพัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง หลังจากเครื่องบิน F-16 ของตุรกี ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดรัสเซียแบบ Su-24 ตกในดินแดนซีเรีย เพียงสามวันก่อนหน้านี้. -- ภาพ: กระทรวงกลาโหมรัสเซีย.  </b>


MGRออนไลน์ -- กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศในวันศุกร์ 27 พ.ย. ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานเทคโนโลยีสุดล้ำ S-400 ส่งถึงฐานทัพลาตาเกีย (Latakia) ประเทศซีเรียแล้ว ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ สำนักข่าวโนวอสติรายงาน ในคืนวันพฤหัสบดีว่า จรวดดังกล่าวจำนวน 1 ระบบติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันฐานทัพและที่ตั้งของฝ่ายรัฐบาลให้พ้นจากการโจมตีโดยฝ่ายตรงข้าม

สื่อของทางการรายงานในขณะเดียวกันว่า กระทรวงกลาโหมกำลังจะส่งเครื่องบินโจมตีแบบ Su-30SM เข้าประจำซีเรียอีก 1 ฝูง ระหว่าง 10-12 ลำ เพื่อคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดทุกเที่ยวบินตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หลังจากปล่อยหละหลวมมานาน เนื่องจากเห็นว่า ฝ่ายกองโจรรัฐอิสลามหัวรุนแรง (IS, ISIS, ISIL) ไม่มีเครื่องบินขับไล่ รวมทั้งไม่มีระบบจรวดต่อสู้อากาศยานใดๆ ใช้งาน

Su-30SM (หรือ Serial Modernized) นับเป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาสูงที่สุดในปัจจุบันสำหรับ เครื่องบินรบยอดนิยมในครอบครัว Su-27/30 ที่รัสเซียนำเข้าประจำการเพียงไม่กี่ปีมานี้ และ ยังไม่มีนโยบายส่งออก ถึงแม้สื่อเวียดนามจะเคยรายงานว่า มีการเจรจาเรื่องนี้กับรัสเซีย ระหว่างการเยือนของผู้นำระดับสูงในระยะที่ผ่านมา

พัฒนาการทั้งหมดนี้ มีขึ้นหลังจาก F-16 ของตุรกียิงเครื่องบินทิ้งระเบิด Su-24 ของรัสเซียตกไป 1 ลำในดินแดนซีเรีย วันที่ 24 พ.ย. ซึ่งประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่า "เหมือนถูกแทงข้างหลัง" จากนั้นกระทรวงกลาโหมก็ได้ประกาศหลายมาตรการ เพื่อป้องกันตน ซึ่งรวมทั้งการส่งเรือมอสโก (Mockba) เรือลาดตระเวนติดระบบจรวดต่อสู้อากาศยานแบบ S-300F (หรือ Fort) เข้าสู่บริเวณน่าน น้ำซีเรียที่ติดกับตุรกี และ สั่งให้ยิงอากาศทุกลำที่เป็นภัยข่มขู่คุกคาม

ระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน S-300 มีใช้ในหลายประเทศรวมทั้งจีนในย่านนี้ ในขณะที่เวียดนามเป็นเพียงชาติเดียวในกลุ่มอาเซียนที่มีระบบที่ก้าวหน้านี้ประจำการ และ ทั้งจีนทั้งเวียดนาม ต่างก็อยู่ระหว่างทาบทามขอซื้อ S-400 จากรัสเซีย แต่ฝ่ายหลังยังไม่มีนโยบายส่งออก เนื่องจากเป็นระบบป้องกันทางอากาศใหม่ล่าสุด และ เพิ่งจะนำออกติดตั้งในภาคตะวันออกไกลเมื่อปี่ที่แล้ว

นาโต้เรียกระบบ S-400 ว่า SA-21 "Growler" (โกรลเลอร์) และ ต่างไปจาก S-300 ที่ระบบควบคุมต่างๆ ก้าวหน้ามากกว่า ยิงได้ระยะทางไกลกว่า รัสเซียยังเคลมด้วยว่า S-400 สามารถยิงต่อสู้อากาศยานได้ทุกชนิดและทุกประเภท ตั้งแต่ บี-52 จนถึงเครื่องบินล่องหนยุคที่ 5 ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ F-22 "แร็ปเตอร์" (Raptor) F-35 "ไล้ต์นิ่ง 2" (Lightning II) เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์รุ่นล่าสุดของสหรัฐ คือ B-2 ไปจนถึงขีปนาวุธโจมตีข้ามทวีป และ ยังสามารถล๊อกเป้าหมายได้ หลายสิบเป้าหมายในขณะเดียวกันอีกด้วย

ภาพที่เผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียตอนเช้าวันศุกร์นี้ แสดงให้เห็นคอนเทนเนอร์ทรงกระบอกขนาดใหญ่ ซึ่งภายในบรรจุดจรวด 48N6E3 ความเร็วระดับซูเปอร์โซนิก บรรทุกบนพาหนะ 10 ล้อแบบ 5P85SE2 แพล็ตฟอร์มเดียวกันกับที่ใช้ในระบบจรวด S-300 รุ่นใหม่ๆ ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับการขนส่ง ยกตั้งและใช้เป็นฐาน สำหรับยิงจรวดเก่าแก่ที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง พัฒนามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 ระหว่างสงครามเวียดนาม ในยุคที่ยังเป็นสหภาพโซเวียต และ ปัจจุบันก็ยังใช้กับ S-300PMU-1/2 เวอร์ชั่นที่พัฒนาล่าสุดของกองทัพรัสเซีย ก่อนจะกลายมาเป็น S-400 "ไทรอัมฟ์" (Triumf) ในวันนี้

ถึงแม้ว่าทั้ง S-300 และ S-400 จะเป็น "ระบบป้องกัน" ในยามที่ถูกโจมตีทางอากาศด้วยจรวดที่ยิงจากอากาศยาน เรือรบหรือเรือดำน้ำ หรือ โจมตีด้วยจรวดระยะไกล รวมทั้งด้วยขีปนาวุธข้ามวีป (Intercontinental Ballistics Missile) ก็ตาม แต่โลกตะวันตกเกรงว่า ด้วยระบบนำวิถีที่ก้าวหน้า รัสเซียสามารถทำให้จรวดพื้นสู่อากาศทั้งสองระบบนี้ เป็นแบบพื้นสู่พื้น คือ ทำลายเป้าหมายภาคพื้นดินได้เช่นกัน
.

.
รัสเซียได้โฆษณามาเป็นเวลานานว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลาโหมในประเทศ สามารถพัฒนาระบบเรดาห์ที่ก้าวหน้า จนจับความเคลื่อนไหวอากาศยานที่ใช้ระบบ "ล่องหน" (Stealth) ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีสเตลธ์ของโลกตะวันตกไร้ความหมาย การกล่าวอ้างของรัสเซีย สามารถสั่นคลอนอุตสาหกรรมอากาศยานเพื่อการทหารของสหรัฐ ที่กำลังมองไปยังอนาคต และ เริ่มพัฒนาเครื่องบินรบยุคที่ 6 หลังจากสร้าง F-22 กับ F-35 ออกมา

เมื่อปีที่แล้วหน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ จัดประชุมถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยมีคำถามใหญ่ที่สุดคือ "เครื่องบินรบยุคที่ 6 ยังจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีสเตลธ์อีกหรือไม่" ซึ่งยังไม่ทราบคำตอบ

ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต ด้วยขีดความสามารถของเรดาร์ตรวจไกลทางอากาศรุ่นใหม่ ทำให้ระบบ "ไทรอัมฟ์" ตรวจจับเป้าหมายได้ไกลเป็นระยะทางถึง 600 กม. ตรวจจับอากาศยานที่ใช้ระบบเอโรไดนามิก รวมทั้งพวกเทคโนโลยีสเตลธ์ได้ในระยะ 400 กม. อากาศยาน ตลอดจนวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เพดานบินตั้งแต่ 5 เมตรไปจนถึง 60 กม.

ในระบบ S-400 ไม่เพียงแต่ใช้จรวดขนาดใหญ่เท่านั้น หากยังสามารถทำคอนฟิกูเรชั่นใช้กับจรวดขนาดอื่นๆ ได้อีกหลายขนาด เป็น "จรวดเสริม" ตามความประสงค์ของการใช้งาน เช่นจรวดสำหรับยิงเป้าหมายขนาดเล็ก จรวดความเร็วสูงสำหรับยิงอากาศยาน กับวัตถุเคลื่อนที่ช้าในระยะต่ำ ซึ่งรวมทั้งพวกโดรนรุ่นต่างๆ ในปัจจุบัน เป็นต้น

หมายความว่า ทั้งอากาศยานที่ก้าวหน้าทั่วไป และ ขีปนาวุธที่พุ่งเข้าหาด้วยความเร็วสูง ขณะ "ร่อน" ในระยะเลียดพื้นดิน จะอยู่ในสายตาเรดาร์ระบบ S-400 ทั้งสิ้น และ จะกลายเป็นเป้าหมายของการยิงทำลายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที

ตามข้อมูลของฝ่ายรัสเซีย ระบบจรวดต่อต้านจรวดที่ติดตั้งบนพื้นดิน แบบแพทริอัต (Patriot) ของสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบก้าวหน้าที่สุดในกลุ่มนาโต้ สร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีเป้าหมายบินหรือ "ร่อน" ได้ในเพดานบินต่ำที่สุด 60 เมตรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าถ้าหาก จรวดฝ่ายตรงข้ามยิงมาในเพดานที่ต่ำกว่านั้น ระบบแพทริอัตจะใช้ไม่ได้ผล.
.

2

3

4

5

6

7
กำลังโหลดความคิดเห็น