xs
xsm
sm
md
lg

มิตซูฯ ออกรถรุ่นใหม่ใกล้เปิดจอง ทั้งขับเคลื่อน 8 ล้อ ตีนตะขาบสะเทินน้ำสะเทินบก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ต้นแบบยานลำเลียงพลสายพานหุ้มเกราะ ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อของมิตซูบิชิ ได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เป็นรถตีนตะขาบที่ติดขุมพลังรุ่นใหม่ วิ่งห้อได้เร็วกว่า 40 กม./ชม. หรือ กว่าสองเท่าของยานโจมตีลำเลียงพลยกพลขึ้นบก AAV7 ของนาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งมีใช้ในราชนาวีไทย กองทัพเรือเกาหลีกับอีกหลายประเทศ เว็บไซต์ข่าวกลาโหมกล่าวว่า เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง ในการพัฒนาขีดความสามารถของ กองทัพบก ญี่ปุ่น. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- "รถรุ่นใหม่" ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ โดยกลุ่มมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรี กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากสำนักข่าวกลาโหมหลายแห่งทั่วโลกในช่วงข้ามสัปดาห์มานี้ ตั้งแต่ในย่านเอเชีย จนถึงยุโรป อเมริกา รวมทั้งสื่อในรัสเซีย ที่จับตามองพัฒนาการในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แหล่งต่างๆ ยังมีความเห็นคล้ายกัน เกี่ยวกับความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง สำหรับการพัฒนาขีดความสามารถป้องกันตนเองทางบก ของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งญี่ปุ่น

การผลิตรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เป็นเรื่องแสนธรรมดาสำหรับหลายประเทศ แม้แต่ไทยเองซึ่งทั้งสถาบันป้องกันประเทศ และ บริษัทเอกชนบางแห่ง ก็กำลังผลิตออกมา แต่สิ่งที่ต้องจับตามองก็คือ เทคโนโลยีก้าวหน้าที่นำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นมีอุตสาหกรรมยานยนต์ใหญ่โตทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ญี่ปุ่นส่งจำหน่ายไปทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป และ ตลาดสหรัฐ จนถึงนักรบอิสลามหัวรุ่นแรงในซีเรีย ที่ประยุกต์ใช้กระบะยี่ห้อหนึ่ง เป็นรถอเนกประสงค์ในการรบ

สิ่งที่มิตซูบิชิฯ นำออกแสดงเมื่อไม่นานมานี้เป็นต้นแบบของรถ APC หรือ รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (Armored Personnel Carrier) 2 รุ่น เป็นรถสายพาน (ตีนตะขาบ) สะเทินน้ำสะเทินบกหนึ่ง กับ รถล้อยางขับเคลื่อน 8 ล้ออิสระ (All Wheel Drive) อีกหนึ่ง ซึ่งคันหลังนี้จะเป็นเพียงรุ่นที่สองของรถประเภทเดียวกัน ที่ผลิตออกมาสำหรับ "กองทัพบก" และ สร้างขึ้นบนแพล็ตฟอร์ม ที่มีอยู่แล้วของมิตซูบิชิ แต่ขนาดใหญ่ขึ้น ติดเครื่องยนต์ที่ทรงพลังมากขึ้น

แหล่งข่าวที่ไม่มีการระบุตัวตนเปิดเผยว่า ต้นแบบรถตีนตะขาบที่เห็นในภาพ สามารถวิ่งได้เร็ว 20-25 น็อต หรือ 37-46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบกับยาน AAV7 หรือ "ยานโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก" ( Amphibious Assault Vehicle) ที่ใช้เป็นยานลำเลียงพล ยกพลขึ้นบก ของนาวิกโยธินสหรัฐ และ มีใช้ในกองทัพเรือไทย เกาหลี กับ อีกหลายประเทศ ซึ่งทำความเร็วได้เพียง 7 น็อต หรือ 13 กม./ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ Military-Today.Com

ยังไม่มีรายละเอียดอื่นใดอีก รวมทั้งเกี่ยวกับจำนวนพล ที่รถ APC ตีนตะขาบของมิตซูบิชิ สามารถบรรทุกได้ รวมทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอาวุธที่จะติดตั้ง ขณะที่ยาน AAV7 ขณะสหรัฐนั้่น มีขนาด 23 ตัน บรรทุกทหารได้ 23 นาย ใช้ขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล 400 แรงม้า ของบริษัทคัมมินส์ (Cummins)

แม้ว่าจะทราบรายละเอียดยังไม่มากก็ตาม แต่ตัวเลขจำนวนหนึ่ง ที่เปิดเผยออกมาล่วงหน้า แสดงถึงก้าวหน้าในการผลิตเครื่องยนต์สมรรถนะสูง ซึ่งแหล่งข่าวกล่าวว่า "เป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่" ที่ใช้ติดตั้งในแพล็ตฟอร์มอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยอาจจะหมายถึง "ยานพิฆาตรถถัง" รุ่นแรกที่มิตซูบิชิกำลังประกอบอยู่กว่า 30 คัน ในขณะนี้ สำหรับกองทัพบกซึ่งจะนำเข้าประจำการปีหน้า และ กำลังจะตามกันออกมาจากโรงงานอีกหลายร้อยคัน

"เป็นโอกาสสำหรับมิตซูบิชิฯ ในการหาตลาดต่างประเทศสำหรับเครื่องยนต์รุ่นนี้" แหล่งข่าวเดียวกัน ที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ กล่าวกับสื่อในญี่ปุ่น

ส่วนรถล้อยาง 8x8 AWDนั้น แหล่งข่าวเดียวกันกล่าวว่า สร้างขึ้นบนแชสซีของ Type 16 "ยานพิฆาตรถถัง" หรือ ยานโจมตีเคลื่อนที่เร็ว (Maneuver Combat Vehicle) ขนาด 26 ตัน ติดปืนใหญ่ 105 มม. กับปืนกล 12.7 มม. กับ เครื่องยิงลูกระเบิด ติดเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบรุ่นใหม่ ที่ให้พลังกว่า 530 แรงม้า
.

2
<bR><FONT color=#000033>การทดสอบแล่นลุยน้ำ ของยานต้นแบบตีนตะขาบรุ่นแรก ของมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสตรี ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เครื่องยนต์ทรงพลังรุ่นใหม่ สามารถติดตั้งใน แพล็ตฟอร์ม อื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งอาจจะรวมหมายถึง ยานโจมตีเคลื่อนที่เร็วติดปืนใหญ่ 105 มม. รุ่นใหม่ ที่ต้องการแรงม้ามากยิ่งขึ้น เพื่อให้ลุยเข้าได้ในทุกพื้นที่. </b>
3
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า ต้นแบบรถลำเลียงพล 8x8AWD เป็นขนาด 18 ตัน สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 10 ตัน รวมเป็น 28 ติดตั้งระบบกันกระเทือนไฮดรอลิก สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม. มีที่นั่งสำหรับกำลังพลอาวุธครบมือ 11 นาย พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำรถอีก 2 คน

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้มีรถหุ้มเกราะลำเลียงพลรุ่นใหม่ ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อนำเข้าประจำการสมทบกับ Type 96 รถประเภทเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงรุ่นเดียว โดยประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 กำลังจะครบ 20 ปี ซึ่งหมายความว่าจะค่อยๆ "เฟสเอ้าต์" ออกไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ข้อมูลในเว็บไซต์ระบุว่า Type 96 เป็นรถ 8x8 AWD ขนาดเล็กกว่า คือ 14.6 ตัน บรรทุกกำลังพลได้เพียง 8 นาย ผลิตโดยกลุ่มโคมัตสุ (Komatsu) ติดเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบรุ่นหนึ่งของมิตซูบิชิ ที่ให้กำลังเพียง 360 แรงม้า ถึงแม้รถจะทำความเร็วสูงสุดได้ 100 กม./ชม. แต่กำลังขนาดนั้นไม่เพียงพอ สำหรับการแล่นลุยไปตามเส้นทางที่ยากลำบาก

ประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย เศรษฐกิจที่เข้มแข็งเช่นญี่ปุ่น มีงบประมาณมหาศาล สามารถซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยที่สุดได้ทุกชนิดในโลก รวมทั้งรถถังที่ก้าวหน้าที่สุดจากค่ายยุโรปและสหรัฐ แต่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดอีกค่ายหนึ่ง ทำให้ญี่ปุ่นเลือกที่จะผลิตใช้เอง รวมทั้งเพื่อจำหน่ายให้แก่ชาติพันธมิตรในอนาคต ถึงแม้ว่าสายการผลิตในปัจจุบัน จะมีต้นทุนสูงกว่ายวดยานที่นำเข้าก็ตาม
.

<bR><FONT color=#000033>รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 8x8 All Wheel Drive ขับเคลื่อนแปดล้ออิสระ ยังไม่ได้ตั้งชื่อของมิตซูบิชิ สร้างขึ้นบนแพล็ตฟอร์ม Type 16 ซึ่งเป็นรถโจมตีเคลื่อนที่เร็ว ที่ผลิตให้ กองทัพบก เป็น ยานพิฆาตรถถัง ติดปืนใหญ่ 105 มม. ปืนกล ขนาด .50 (12.7 มม.)  ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบรุ่นใหม่ของมิตซูบิชิ ที่ให้พลังกว่า 530 แรงม้า มีกำหนดจะเข้าประจำการล็อตแรกราว 36 คันปีหน้า. </b>
4

5
<bR><FONT color=#000033>ประตูหลังรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 8x8 ของมิตซูบิชิ ระหว่างการทดสอบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจะเป็นเพียงแบบที่สองของรถประเภทนี้ที่ใช้ในกองทัพ แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ติดเครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่าเดิม และ ยังมีแนวโน้มอาจจะต้องผลิตออกมามาก กว่าแผนการเดิมอีกด้วย.</b>
6
รถถังทั้งสองรุ่นที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ทั้ง Type 90 และ Type 10 ที่ใหม่กว่า มีต้นทุนการผลิตสูงกว่ารถถัง M1A2 "เอบรามส์" (Abrams) ของสหรัฐ แต่อะไรก็ตามที่ผลิตเอง เงินทองก็จะไม่รั่วไปไหน และ ยังเป็นการสร้างงานให้แก่อุตสาหกรรมของประเทศอีกด้วย

การผลิตรถสายพานลำเลียงพลหุ้มเกราะ กับ รถล้อยางลำเลียงพลหุ้มเกราะ 8x8 AWD โดยมิตซูบิชิ เป็นผลต่อเนื่องมาจาก แผนการผลิตรถถังกับยานหุ้มเกราะโจมตีเคลื่อนที่เร็ว MCV ของกองกำลังป้องกันตนเอง ซึ่งไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ มีแผนจะลดจำนวนรถถังจาก 760 เหลือเพียง 390 คัน รวมทั้ง Type-10 "ฮิโตมารุ" (Hitomaru) ด้วย จึงจะต้องมี "ยานพิฆาตรถถัง" แบบ Type 16 จำนวนมากขึ้น ภายใต้แผนการที่ใช้ชื่อว่า "การผลิตยานเคลื่อนที่เร็วที่มีอำนาจการยิง"

ยาน MCV ทั้งหลายทั้งปวง จึงต้องแล่นเร็วกกว่ารถถัง ที่น้ำหนักมากและมีปัญหาในเรื่องการขนย้าย ไม่ทันการสู้รบ แต่รถล้อยาง 8x8 ติดปืนใหญ่ 105 มม. น้ำหนักเบากว่า ไปได้เร็วกว่า เข้าถึงทุกพื้นที่โดยไม่ติดหล่ม และ หากจำเป็นก็ยังสามารถหุ้มเกราะได้อีกหลายชนิด เช่นเดียวกับรถถัง

อย่างไรก็ตาม รายงานชิ้นใหม่ของทบวงป้องกันตนเอง ที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าอาจมีความจำเป็น ต้องเพิ่มทั้งจำนวนรถถัง และ ยานพิฆาตรถถัง เพื่อรับมือกับการรุกรานของรัสเซีย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทางเกาะตอนเหนือของประเทศ รวมทั้งการคุกคามจากจีน หลังเกิดความตึงเครียดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเกาะเซนกากุ (Senkaku) หรือ เกาะเตี่ยว-อวี้ ตามที่จีนเรียก

เมื่อความตึงเครียดกับจีนเพิ่มทวีขึ้นหนักขึ้นไปอีก ในช่วงปีหลังๆ นี้ รถลำเลียงพลยกพลขึ้นบกที่ทันสมัย ก็จึงมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน ในภิรกิจการป้องกันเกาะเล็กเกาะน้อย ในหมู่เกาะทางตอนใต้ของประเทศ .
.

<bR><FONT color=#000033>รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 8x8 Type 96 จอดให้แขกเหรื่อชม ที่ค่ายชิโมชิสุ (Shimoshizu) ที่ตั้งโรงเรียนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ใน จ.ชิบะ (Shiba) ของญี่ปุ่น ในภาพวันที่ 29 เม.ย.2550 เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2539 ผลิตออกมาทั้งหมดราว 400 คัน ขนาดเล็กกว่า รถ 8x8 AWD รุ่นใหม่ ที่มิตซูบิชินำต้นแบบออกทดสอบ เมื่อไม่นานมานี้. -- Commons.Wikipedia.Org </b>
7
<bR><FONT color=#000033>ประตูหลังรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 8x8 Type 96 จอดให้แขกเหรื่อชม ที่ค่ายชิโมชิสุ (Shimoshizu) ใน จ.ชิบะ (Shiba) ของญี่ปุ่น ในภาพวันที่ 29 เม.ย.2550 เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2539 ผลิตออกมาทั้งหมดราว 400 คัน ขนาดเล็กกว่า รถ 8x8 AWD รุ่นใหม่ ของมิตซูบิชิ. -- Commons.Wikipedia.Org </b>
8
<bR><FONT color=#000033>Type 16 ของมิตซูบิชิอินดัสตรีส์ ภายใต้แผนการผลิต ยานเคลื่อนที่เร็วที่มีความสามารถในการโจมตี กองกำลังป้องกันตนทางบก จะนำเข้าประจำการล็อตแรกกว่า 30 คันในปี 2559 นี้ แผนการเดิมคาดว่า อาจจะต้องใช้ 200-300 คัน แต่แผนการที่กำลังทบทวนอยู่ในขณะนี้ อาจต้องการมากกว่านั้น. </b>

<FONT color=#000033>ต้นแบบคันหนึ่งของ Type 16 ติดปืนใหญ่ 105 มม. บางคันติดระบบป้อนกระสุนอัตโนมัติ หลายคนเรียกว่า ยานพิฆาตรถถัง แต่แท้จริงก็คือยานโจมตีสำหรับทหารราบ หรือ IFV (Infantry Fighting Vehicle) หรือ รถถังขนาดเบา มีทั้งสายพานและล้อยาง 8x8  มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสเตรีส์ ใช้แพล็ตฟอร์มเดียวกันนี้ ผลิตรถลำเลียงพลหุ้มเกราะรุ่นใหม่. </b>
10
กำลังโหลดความคิดเห็น