xs
xsm
sm
md
lg

“สะพาน 100 ปี” ข้ามโขงเมืองปากแบง เสร็จ พ.ย.นี้ ชายแดนน่านคึกคักแน่นอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>สภาพเมื่อเดือน พ.ค.2557 แต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการได้เชื่อมสะพานจากทั้งสองฝั่งเข้าเป็นแผ่นเดียวกัน ลาวกล่าวว่า สะพานข้ามโขงเมืองปากแบงยาวเพียง 3 กม.เศษ แต่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่ง ที่สำคัญยิ่ง ทั้งหมดจะแล้วเสร็จก่อนสิ้น พ.ย.ศกนี้ หลังสร้างมาเป็นเวลา 3 ปี โดยบริษัทจีน. -- ภาพ: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - การก่อสร้าง “สะพาน 100 ปี” ข้ามแม่น้ำโขง ที่เมือง (อำเภอ) ปากแบง แขวงอุดมไซ จะแล้วเสร็จตามกำหนดในเดือน พ.ย.ศกนี้ หลังจากได้ทำการเชื่อมสองส่วนเข้าด้วยกันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และหลังจากบริษัทจากจีนแห่งหนึ่งก่อสร้างมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ซึ่งจะช่วยให้การคมนาคมขนส่งระหว่างภาคเหนือของไทย กับภาคเหนือลาว สะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำอีกต่อไป

สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองปากแบง เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญในโครงการระเบียงขนส่งตอนเหนือ (ตะวันออก-ตะวันตก) อีกสายหนึ่งระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย กับ พม่า และยังเปิดทางสะดวกให้แก่การขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวกับมณฑลภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

การเชื่อมต่อสะพานที่สร้างเข้าหากันจากสองฝั่งแม่น้ำเป็นขั้นตอนสำคัญที่บ่งบอกว่าการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ พิธีดังกล่าวจัดขึ้นในวันเสาร์ 19 ก.ย. โดยบรรดาผู้นำการปกครองท้องถิ่นจากเมืองเงิน แขวงไซยะบูลี กับเมืองปากแบง แขวงอุดมไซ ซึ่งได้ทำให้การก่อสร้างแล้วเสร็จไป 92% และเจ้าหน้าที่ของลาวกล่าวว่า โครงการจะแล้วเสร็จครบถ้วนก่อนสิ้นเดือน พ.ย.ศกนี้

เริ่มก่อสร้างวันที่ 23 ธ.ค.2555 เป็นโครงการมูลค่า 30,899,554 ดอลลาร์ ในนั้น 95% เป็นเงินกู้ผ่านเอ็กซิมแบงก์ของจีน อีก 5% เป็นเงินสมทบจากงบประมาณรัฐ ก่อสร้างโดยรัฐวิสาหกิจถนนและสะพานจีน (China Road and Bridge Corp-CRBC) เป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงยาว 379 เมตร กว้าง 13 เมตร มี 8 เสา การก่อสร้างบนพื้นเสร็จสมบูรณ์ 100% รวมทั้งพนังคอนกรีตกันการกัดเซาะบริเวณเชิงสะพานกับด้านข้างทั้งสองฝั่งด้วย สื่อของทางการรายงาน

นี่คือสะพานที่บริษัทจีนเคยกล่าวว่า จะสร้างให้ชาวลาวได้ใช้งาน เป็นเวลานานถึงหนึ่งศตวรรษ

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา สะพานปากแบงจะเชื่อมทางหลวงสองสาย แนวตะวันออก-ตะวันตกเข้าด้วยกัน คือ ทางหลวง 2E กับ 2W ทำให้การไปมาหาสู่ของประชาชนในแขวงภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไซยะบูลี อุดมไซ กับหลวงพระบางสะดวกขึ้น ทั้งเป็นการส่งเสริมการค้าขายในอนุภูมิภาคระหว่างบรรดาประเทศที่มีชายแดนเชื่อมต่อกัน ซึ่งได้แก่ ไทย ลาว จีน และเวียดนามให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทางหลวงสาย 2 ของลาว เป็นอีกสายหนึ่งที่อยู่ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก จากภาคเหนือเวียดนามผ่านลาวเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และต่อไปยังพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย สะพานยังจะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางจากชายแดนไทย ผ่านลาวไปยังด่านชายแดนลาว-จีนแห่งใหม่ ในแขวงผ่งสาลี ที่เริ่มสร้างเมื่อต้นปีที่แล้วอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น