xs
xsm
sm
md
lg

พระวิระธูอ้างชัยชนะหลังชาวมุสลิมพม่าถูกกันออกจากการเลือกตั้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 26 ส.ค. พระวิระธูขณะให้สัมภาษณ์ที่วัดในเมืองมัณฑะเลย์ พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงอื้อฉาวที่สุดในการรณรงค์ต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศ.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu .</font></b>

เอเอฟพี - พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงอื้อฉาวที่สุดของพม่า กล่าวอ้างถึงการไม่จำวัดนานหลายคืนในความเพียรพยายามที่จะต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยตัดสิทธิการลงคะแนนเสียงของชนกลุ่มน้อยหลายแสนคน

พระวิระธู ที่รณรงค์ต่อต้านชาวมุสลิมจนจุดชนวนความตึงเครียดทางศาสนาในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ กล่าวว่า ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในตอนกลางคืนที่วัดในเมืองมัณฑะเลย์อยู่กับจอคอมพิวเตอร์แพร่ภาพถ่ายจากองค์กรก่อการร้ายอิสลามที่รุนแรงที่สุดของโลกบางองค์กร

จากนั้น พระวิระธู ได้โพสต์ข้อความถึงผู้ติดตามบนเฟซบุ๊ก 91,000 คน ช่วยปลุกระดมแนวคิดที่ว่าศาสนาพุทธกำลังถูกคุกคาม

ชาวมุสลิมพม่า ที่มีอยู่อย่างน้อย 5% ของประชากร 51 ล้านคนในประเทศ มีประวัติศาสตร์ของการมีส่วนร่วมในสังคมมาอย่างยาว แต่คนเหล่านี้กำลังเผชิญต่อการกลายเป็นคนชายขอบมากขึ้นภายใต้รัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดปัจจุบันที่เข้าแทนที่รัฐบาลทหารในปี 2554

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดเหตุรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมขึ้นในประเทศ และยังมีความวิตกว่าการแพร่กระจายถ้อยคำสร้างความเกลียดชังอาจก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่วประเทศกำลังมุ่งไปสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 8 พ.ย.นี้

พระวิระธู เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรพระสงฆ์ที่ได้สอดแทรกท่าทีแข็งกร้าวเข้าสู่การเมืองกระแสหลักของประเทศ

พระรูปนี้ถูกจำคุกในปี 2546 จากความผิดฐานยั่วยุปลุกปั่นสร้างความตึงเครียดทางศาสนาภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร แต่ผู้สืบทอดการปกครองในช่วงต่อมาแสดงท่าทีที่จะอนุญาตให้แนวความคิดชาตินิยมชาวพุทธได้ขยายตัวเติบโต

พระวิระธู อ้างชัยชนะสำหรับการกดดันรัฐบาลให้ผลักดันร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา ที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เป็นร่างกฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี และชนกลุ่มน้อยทางศาสนาและยังช่วยฉกฉวยสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปจากชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายแสนคนในรัฐยะไข่

เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พม่าเพิกถอนเอกสารประจำตัวชั่วคราว อันเป็นความเคลื่อนไหวที่ส่งผลกระทบต่อชาวโรฮิงญานับแสน ที่นับตั้งแต่นั้นได้ถูกถอนสิทธิลงคะแนนเสียง หลังรัฐบาลห้ามบุคคลที่ไม่เป็นพลเมืองอย่างสมบูรณ์เข้าร่วมการเลือกตั้ง

ผู้สังเกตการณ์ระบุว่า ทั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี และพรรครัฐบาลยินยอมต่อกลุ่มหัวรุนแรง โดยปฏิเสธที่จะเสนอผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมลงแข่งขันในการเลือกตั้งที่ถูกมองว่าเป็นบททดสอบสำคัญของความคืบหน้าในระบอบประชาธิปไตย

ความเคลื่อนไหวที่เสี่ยงทำให้ชาวมุสลิมที่ไม่ใช่โรฮิงญาซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงไร้ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมให้สนับสนุนในการเลือกตั้ง

สมาชิกอาวุโสชาวมุสลิมของพรรค NLD กล่าวต่อเอเอฟพีว่า ไม่มีชาวมุสลิมอยู่ในรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคกว่า 1,000 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้

“ประชาชนมองสิ่งนี้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางศาสนา ชาวมุสลิมหลายคนพูดกันว่าพวกเขาจะไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง” แหล่งข่าวกล่าว
.
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 26 ส.ค. เผยให้เห็นเด็กชายชาวมุสลิมขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมัสยิด (หลังซ้าย) ในเมืองมัณฑะเลย์.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu .</font></b>
.
ความผิดหวังเห็นได้ชัดที่มัสยิดจูนในเมืองมัณฑะเลย์ ขิ่น หม่อง วิน ที่เป็นผู้ดูแลกล่าวว่า ผู้คนในพื้นที่สนับสนุนพรรค NLD กันมายาวนาน

“ดูเหมือนว่าชาวมุสลิมไม่เป็นที่ยอมรับเลยสักนิดในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง เราควรมีสิทธิที่จะเลือก” ขิ่น หม่อง วิน กล่าว

ชาวพุทธหัวรุนแรงได้วาดภาพผู้นำฝ่ายค้านของพม่าว่า เป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจชาวมุสลิมที่น่าจะเป็นจุดอ่อนในการเลือกตั้ง

“การเปลี่ยนแปลงสิทธิเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งสำหรับพม่า เป็นลางร้ายอย่างมากสำหรับชาวมุสลิมของประเทศนี้” ขิ่น ซอ วิน นักวิเคราะห์ของสถาบัน Tampadipa ในนครย่างกุ้ง กล่าว

พระวิระธู กล่าวว่า องค์กรชาวพุทธกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเฉลิมฉลองการที่ร่างกฎหมาย 4 ฉบับตราเป็นกฎหมาย ทั้งการควบคุมการแต่งงานระหว่างศาสนา ขนาดครอบครัว และการเปลี่ยนศาสนา

ความไม่เต็มใจของพรรค NLD ที่จะสนับสนุนกฎหมายเหล่านี้ถือเป็น “เครื่องหมายสีดำ” พระวิระธู กล่าวเตือนถึงความพยายามใดๆ ที่จะแก้ไขกฎหมาย

“รัฐบาลใดก็ตามที่แก้ไขกฎหมายเหล่านี้จะถูกถอดออก” พระวิระธู กล่าวพร้อมทั้งยินดีต่อการเลือกตั้งที่ชาวมุสลิมไม่มีส่วนร่วม โดยระบุว่า พวกเขาไม่ต้องการชาวต่างชาติในรัฐสภา

ฉ่วย หม่อง สมาชิกสภานิติบัญญัติชาวโรฮิงญาของพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการรณรงค์ครั้งนี้ หลังจากเพิ่งถูกห้ามร่วมลงสมัครรับเลือกตั้ง

เจ้าหน้าที่การเลือกตั้งได้ตัดสิทธิเขาหลังพิจารณาว่า พ่อแม่ของเขาไม่ใช่พลเมืองของพม่า แม้ข้อเท็จจริงว่าในปัจจุบันเขานั่งเก้าอี้ในรัฐสภา และพ่อของเขามีตำแหน่งเป็นนายตำรวจอาวุโส

ชาวโรฮิงญา มักถูกตราว่าเป็นผู้อพยพจากบังกลาเทศ แม้ว่าหลายคนจะมีใช้ชีวิตอยู่ในพม่ามากอย่างยาวนานก็ตาม

คนเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ความไม่สงบในปี 2555 ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่ ที่ทำให้ประชาชนราว 140,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญาต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นชั่วคราว

ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงชาวมุสลิมในเขตเลือกตั้งเมืองบูซีด่อง รัฐยะไข่ ของฉ่วย หม่อง สูญหายไปจาก 150,000 คน ในปี 2553 เหลือเพียง 10 คน หลังการเพิกถอนเอกสารประจำตัวชั่วคราวและจำกัดสิทธิการลงคะแนนเสียง

“หากประชาชนไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมีประโยชน์อะไร หากผู้สมัครรับเลือกตั้งถูกปฏิเสธ ประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ใคร” ฉ่วย หม่อง กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น