ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เหตุการณ์ที่กองทัพเรือไทยยิงจรวด ESSM จากเรือหลวงนเรศวรสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากเว็บไซต์ข่าวกลาโหมที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของโลกในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ต้องถือว่ามีความเป็นพิเศษยิ่ง ไม่เพียงแต่เป็นครั้งแรกที่ไทยทดลองยิงจรวดต่อสู้อากาศยานจากพื้นสู่ากาศที่มีประสิทธิภาพสูง แบบเดียวกับที่ใช้ในกองทัพเรือสหรัฐฯ เท่านั้น หากยังเป็นการยิงจรวดที่ผลิตในสหรัฐฯ จากเรือรบลำหนึ่งที่ต่อจากจีนคอมมิวนิสต์ และยังข้ามสายพันธุ์ไปใช้ระบบเรดาร์ควบคุมการยิงที่ผลิตจากประเทศสวีเดนอีกด้วย
การยิงจรวดซีสแปโรว์รุ่นพัฒนา หรือ Evolved SeaSparrow Missile จำนวน 1 ลูก วันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ยิงจากเรือหลวงนเรศวร อันเป็นส่วนหนึ่งของการฝีกร่วมกะรัต (CARAT) ซึ่งเป็นครั้งที่ 21 ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จรวด ESSM สามารถทำลายเป้าบินอย่างแม่นยำได้ผล ซึ่งเป้าหมายที่ใช้เป็นโดรนเป้าบินแบบ BQM-74E ยิงขึ้นจากเรือเยอรมันทาวน์ (USS Germantown, LSD 42) ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ส่งเข้าร่วมการฝึก
จรวด ESSM ของบริษัทเรธีออน (Raytheon) ยิงจากระบบท่อยิงแบบ MK 25 ที่ผลิตโดยบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) สองบริษัทอุตสาหกรรมกลาโหมชั้นนำในสหรัฐฯ ภายใต้การกำกับของกระทรวงกลาโหม และใช้ระบบเรดาร์ควบคุมการยิงแบบซีรอส 200 (CEROS 200) กับระบบสนับสนุน ที่กลุ่มซาบ (Saab Group) แห่งสวีเดน ติดตั้งบนเรือหลวงนเรศวร
“วันที่ 30 ส.ค.58 เรือหลวงนเรศวร ได้ทำการทดสอบยิงอาวุธ ESSM ที่ท่อ 4 (จากแท่น VLS ช่องด้านบนซ้ายมือสุด) ผลการยิง ESSM เป้าหมาย Drone ที่ปล่อยมาจากเยอรมันทาวน์ เป้าหมายถูกทำลายเรียบร้อยที่ระยะยิงประมาณ 9 ไมล์ทะเล (16.66 กม.)” สำนักข่าวเทคโนโลยีด้านการทัพเรือ และการทัพอากาศ รวมทั้งข่าวกลาโหมนับสิบแห่งรายงาน อ้างกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
.
|
คลิกชมภาพมากกว่านี้
.
ราชนาวีไทย ซื้อจรวดอีโวลว์ซีสแปโรว์ จากสหรัฐฯ จำนวน 9 ลูก เมื่อปี 2556 พร้อมระบบท่อเก็บแบบ MK41 จำนวน 8 ท่อ ระบบท่อยิง MK25 ซึ่งติดตั้งบนเรือหลวงนเรศวร เมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว
ก่อนหน้านั้น เมื่อปี 2554 ไทยได้ให้กลุ่มซาบแห่งสวีเดน ทำการอัปเกรดเรือทั้งสองลำ ด้วยระบบ 9LV MK4 ซึ่งเป็นระบบอำนวยการสู้รบที่พัฒนาโดยซาบ ติดตั้งเรดาร์แบบซียีราฟ (Sea Giraffe AMB Radar) ระบบควบคุมการยิง CEROS 200 และ ระบบติดตามอีเล็กโตร-ออปติก EOS 500 กับระบบดาต้าลิงก์ เชื่อมกับเครื่องบินรบ JAS-39 “กริพเพน” (Gripen) ของกองทัพอากาศ ทำให้เรือชุดนี้กลายเป็นเรือรบที่ทันสมัย และก้าวหน้าที่สุดของราชนาวี
.
2
เป็นที่ทราบกันดีว่า เรือหลวงนเรศวร-ตากสิน สร้างขึ้นจากโครงเรือแบบ 035H2 (Type- 035H2) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นเจียงฮู 3 (Jianghu III-class) ของกองทัพเรือจีน ต่อโดยรัฐวิสาหกิจต่อเรือ China State Shipbuilding Corp แห่งนครเซี่ยงไฮ้ มูลค่าลำละ 2,000 ล้านบาท กองทัพเรือไทยต้องแก้ไขหลายจุดก่อนนำไปติดเครื่องยนต์ และระบบอาวุธของตะวันตก
การทดลองยิงจรวด ESSM มีขึ้นในวันที่ 3 ของการฝีกร่วมกะรัต ระหว่างไทย และสหรัฐฯ ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา และกำลังจะปิดฉากลงในวันที่ 3 ก.ย.นี้
ตลอดเวลา 8 วัน ทหารของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันฝึกในเนื้อหาต่างๆ ตามกำหนด ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การดับเพลิง ซึ่งอยู่ในเนื้อหาการช่วยเหลือกู้ภัยพิบัติ การดำน้ำ จนถึงการสาธิตการจู่โจมเข้ายึดเรือ และการควบคุมตัวคนร้าย จนถึงการฝึกยกพลขึ้นบก การจู่โจม-โจมตีชายฝั่งพร้อมยานเกราะ และยานยกพลขึ้นบกในบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี ในขณะที่วงดนตรีกองทัพเรือที่ 7 เปิดการแสดงรับใช้ประชาชนหลายรอบที่เมืองพัทยา ฯลฯ.
.
การฝึกผสมกะรัต 2015 ไทย-สหรัฐฯ เข้าสู่วันสุดท้ายกลางสัปดาห์นี้ เตรียมจะปิดฉากลงในวันพฤหัสบดี 3 ก.ย.2558 รวมเป็นเวลา 8 วันเต็มตามแผนการ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. พล.ร.ต.กล้าหาญ เพ็ชรมีศรี ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ร่วมกับคณะผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 และคณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ เยี่ยมชมการฝึกการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก สำหรับการฝึก CARAT 2015 ที่บริเวณสนามฝึกหมายเลข 15 หาดยาว ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี. |
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25