xs
xsm
sm
md
lg

F-35 vs หมูป่าเขี้ยวตัน ล่องหนยุคที่ 5 ฉะนักเลงโบราณงานนี้ใครดีใครอยู่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เข้าประจำการในกองทัพอากาศมาหลายปี แต่ F-35A เพิ่งจะทดลองยิงปืนใหญ่อากาศอย่างจริงๆ จังๆ ก็เดือนสองเดือนมานี้ และยังจะต้องพัฒนาอีกไกล ปืนใหญ่ของ F-35 เป็นแกตลิงกันขนาด 25 มม. 4 ลำกล้อง เล็กกว่า และอานุภาพการยิงก็ด้อยกว่าปืน 30 มม. แบบ 7 ลำกล้องของ A-10 อย่างไม่ต้องสงสัย อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าเครื่องบินรบยุคที่ 5 ล่องหนจะใช้แทน “ไอ้หมูป่า” ได้ ในภารกิจสนับสนุนทหารภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด หรืออาจจะทำไม่ได้เลย.. ก็จึงต้องพิสูจน์.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้ตัดสินใจจะทำการทดลองการปฏิบัติการโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด (Close Air Support Strike) ของเครื่องบิน F-35 “สายฟ้า 2” (Lightning II) โดยจะเปรียบเทียบขีดความสามารถด้านนี้แบบตัวต่อตัวกับ A-10 ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ปัจจุบันก็ยังเป็นเครื่องบินรบเพียงชนิดเดียวของกองทัพอากาศที่สร้างขึ้นมา เพื่องานนี้โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า Single Mission Fighter และทั้งฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายค้านเครื่องบินรบยุคที่ 5 ต่างข้องใจกันมานาน

การทดสอบแบบ "ตัวต่อตัว" อาจจะมีขึ้นในปีหน้า หรืออาจจะเป็น 2560 หรือหลังจากนั้นขึ้นอยู่กับว่าการพัฒนาฟังก์ชัน เพื่อภารกิจ CAS ของ F-35 จะพร้อมเมื่อไร

ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพียรพยายามจะปลดระวางประจำการ A-10 “ไอ้หมูป่าเขี้ยวตัน” (Warthog) ที่เหลืออยู่ราว 300 ลำในปัจจุบัน โดยอ้างว่าจะช่วยให้ประหยัดเงินงบประมาณได้ถึง 4,200 ล้านดอลลาร์ ในระยะ 5 ปีข้างหน้า และจะได้ใช้งบก้อนนี้ในการพัฒนา F-35 เพื่อให้เป็นเครื่องบินรบโจมตีร่วมของสามเหล่ารบ หรือ Joint Strike Fighter ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของโลก และยังสามารถปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจได้หลายหน้าที่ รวมทั้งการโจมตีสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิดด้วย

แผนการเกษียณอายุ A-10 อย่างทันทีทันใดของกองทัพอากาศได้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีในรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่ง 2 ปีมานี้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง หลายเสียงกล่าวว่า การปลดระวางประการ “ไอ้หมูป่า” เป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ และกองทัพอากาศกำลังจะทำให้ทหารที่รบอยู่พื้นดินตกอยู่ในอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มีเครื่องบินรบชนิดใด หรืออากาศยานอื่นใดสามารถแทนที่ A-10 ได้

ในขณะที่ยังคงพัฒนา F-35 ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งนี้ วุฒิสมาชิกที่ทรงอิทธิพลทางด้านป้องกันประเทศในรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ขอให้กองทัพอากาศจัดทำแผนการที่เรียกว่า A-10X ขึ้นมา เพื่อหาตัวเลือกทำหน้าที่เป็น Single Mission Fighter แทน A-10 ในกรณีที่ F-35 ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีพอ หรือในวันหนึ่งข้างหน้าก็อาจจะมีความจำเป็นขึ้นมาต้องใช้ F-35 เน้นหนักไปในภารกิจอื่นๆ ซึ่งก็เป็นได้
.
<FONT color=#00003>F-35 ทั้งสองลำเป็นของกองทัพอากาศ ลำหนึ่งในโหมด ล่องหน เก็บอาวุธทุกชนิด ใน Weapons Bay หรือช่องใต้ท้อง ส่วนอีกลำติดเขี้ยวเล็บเต็มอัตรา แต่จะไม่สามารถพรางตัวจากเรดาร์ คือไม่ สเตลธ์ เครื่องบินรบยุคที่ 5 ในครอบครัว F-35 ทั้งสามรุ่น ติดอาวุธพื้นฐานแบบเดียวกันไม่กี่ชนิด ที่เหลือเป็นคอนฟิกูเรชั่นเฉพาะ ของนาวิกโยธินเป็นอีกอย่างหนึ่ง กองทัพเรือก็อีกอย่าง.  </b>
1
.


.
หลายคนเชื่อว่ายานไร้คนบังคับก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งแทน A-10 แต่ก็ยังไม่มีรูปธรรมใดๆ ที่ให้ความหวัง

อย่างไรก็ตาม สำหรับกองทัพอากาศนั้น F-35 เป็นความหวังทั้งหมด เพราะเป็นเครื่องบินรบยุคที่ 5 ใช้เทคโนโลยีล่องหน (Stealth) ทั้งลำ รวมทั้งระบบเซ็นเซอร์อันล้ำหน้าที่ทำให้นักบินสามารถมองเห็นรอบๆ ตัวได้ 360 องศา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเครื่องบินรบลำใดในโลกมีระบบนี้ใช้ ทั้งนี้ เป็นข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต

หลังใช้งานมา 40 ปี กองทัพอากาศต้องการปลดประจำการ A-10 ออกไปให้หมดเพื่อประหยัดงบประมาณมหาศาลดังกล่าว ทั้งยังเห็นว่าสภาพการสู้รบปัจจุบันเครื่องบินรบยุคที่ 3 ย่อมไม่มีอะไรจะไปเทียบเคียงกับ F-35 ได้ แต่คำถามก็ยังเป็นคำถามเดิมคือ .. แล้วจะใช้อะไรในการสนับสนุนภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด

ย้อนไปดูความเป็นมาสักนิด กองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้บริษัทแฟร์ไชลด์รีพับลิก (Fairchild Republic) เมื่อก่อน สร้าง A-10 ขึ้นมา หวังจะนำไปใช้ในสงครามเวียดนาม ขึ้นบินครั้งแรกในเดือน พ.ค.2515 กว่าจะนำเข้าประจำการได้ก็จนกระทั่งปี 2520 ซึ่งสงครามยุติลงไปแล้ว 2 ปี และคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ รวมเอาเวียดนามใต้เข้าเป็นประเทศเวียดนามเดียวกัน

ในช่วงสงครามครั้งโน้น สหรัฐฯ ต้องการอย่างยิ่งยวด จะต้องมีเครื่องบินรบลำหนึ่งเอาไว้เพื่อภารกิจ CAS โดยเฉพาะ หลังจากพบว่าเครื่องบินไอพ่นทั่วไปทำไม่ได้ เนื่องจากบินเร็วเกินไป ทำให้ต้องฝากความหวังทั้งหมดไว้กับเฮลิคอปเตอร์ติดปืน หรือ “กันชิป” ซึ่งไม่มีเขี้ยวลบแหลมพอที่จะทำลายยานเกราะของฝ่ายเวียดกง กับเวียดนามเหนือได้

ในหลายสมรภูมิรบในเวียดนาม ฝ่ายสหรัฐฯ กับทหารรัฐบาลเวียดนามใต้สูญเสียหนัก เนื่องจากถูกโจมตีจากกองกำลังที่มากกว่าในสงครามเต็มรูปแบบ
.
<FONT color=#00003>F-35A/B/C แตกต่างกันมากมาย กองทัพอากาศดูธรรมดามากกว่า ของนาวิกโยธินพิเศษกว่าใคร เป็นรุ่นขึ้นลงแนวดิ่งได้ เพราะต้องประจำเรือจู่โจมยกพลขึ้นบก แทน แฮริเออร์ ของกองทัพเรืออย่างน้อยที่สุด ต้องปรับแต่งให้ขึ้นลงระยะทางวิ่งสั้นๆ บนดาดฟ้าเรือได้ และ มีตะขอเกาะยึดระบบเหนี่ยวรั้ง บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เมื่อลงจอด แต่ F-35A ของทัพฟ้าถูกเลือกให้ทำภารกิจ CAS. </b>
2
<FONT color=#00003>อาวุธหลากชนิดที่ F-35 จะต้องใช้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นคอนฟิกูเรชั่นใด A, B หรือ C ทุกลำติดปืนกลอากาศ 20 มม. แกตลิงกัน รุ่น A ของกองทัพอากาศซ่อนอยู่ภายในลำตัว ช่วงเหนือปีกซ้าย ของนาวิกโยธินและกองทัพเรือ ติดตั้งภายนอก. </b>
3
<FONT color=#000033>ไอ้หมูป่า ไม่ได้มีอะไรมากมาย นอกจาก ปืนโต แกตลิงกัน 30 มม. 7 ลำกล้อง กระสุนกว่า 2,000 นัด ยิงหูดับตับไหม้ รุ่นใหม่พัฒนาติดตั้งจรวดนำวิถียิงรถถังเพิ่มเขี้ยวเล็บ เป็นเครื่องบินรบรุ่นเดียวที่สร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจเดี่ยวๆ คือ การโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดินอย่างใกล้ชิด เป็นตำนาน 40 ปี ที่ยังไม่มีอะไรแทนที่ได้ และ F-35A จะต้องพิสูจน์ตัวเอง. </b>
4
A-10 จึงถูกออกแบบมาปฏิบัติภารกิจหลัก คือ ยิงรถถังโซเวียต ที่ฝ่ายเวียดนามเหนือใช้ เครื่องบินทั้งลำจึงสร้างขึ้น โอบหุ้มเอาปืนใหญ่อากาศ GAU-8 “อะเวนเจอร์” (Avenger) ซึ่งเป็นปืนใหญ่ 30 มม. แบบ “แกตลิง กัน” (Gatling Gun) 7 ลำกล้อง ยิงรัวได้แบบหูดับตับไหม้ ติดเครื่องยนต์แบบเทอร์โบแฟน ทำให้ไม่เร็วจนเกินไปจนบินเลยเป้า อย่างเช่น A-7A “คอร์แซร์ II” (Corsair II) ซึ่งเป็นคู่แข่งในยุคโน้น และไม่ช้าเหมือน ฮ.ติดปืนกล กับจรวดที่ไม่นำวิถี ซึ่งเป็นเป้าปืนต่อสู้อากาศยานของข้าศึกได้โดยง่าย

ชื่ออย่างเป็นทางการคือ A-10 “ธันเดอร์โบลท์ II” (Thunderbolt II) ตั้งขึ้นตามชื่อ P-47 Thunderbolt ใบพัด ที่ใช้ในการสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทั้งนักบิน และช่างผู้ดูแลต่างก็เรียก A-10 อย่างเอ็นดูว่า “วอร์ตฮ็อก” เนื่องจากหน้าตาที่ออกมาดูคล้ายกับหมูป่า รวมทั้งความเป็นพิเศษในเรื่องเสียงของเครื่องยนต์ กับเสียงยิงรัวของปืนใหญ่หมุนรอบตัว ซึ่งว่ากันว่าเป็นเสียงที่ทำให้ทหารราบมีความสุข และพวกเขาต่างเรียกหาในยามลำบาก

A-10 สร้างขึ้นมาเพื่อภารกิจเดียวเดี่ยวๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว เคยมีการผลิตต้นแบบรุ่น 2 ที่นั่งออกมา แต่แล้วแผนการก็ล้มเลิกไป แทนที่จะเพิ่มน้ำหนักในส่วนนั้น แฟร์ไชลด์ฯ ได้เสริมเกราะไทเทเนียมหนักกว่าครึ่งตันหุ้มส่วนหน้าของเครื่องบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบๆ ห้องนักบิน ทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเมื่อโดน “ยิงสวน” ขณะดิ่งหัวลงนำปืนกระบอกใหญ่เล็งเป้าหมาย และ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามตะวันออกกลาง มีหลายครั้งที่ A-10 โดน ปตอ. พรุนเกือบทั่วลำ แต่นักบินปลอดภัย และยังสามารถบินกลับรังได้
.


.


.

ตามข้อมูลของกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีการนำเข้าประจำการ A-10 กว่า 700 ลำ ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2527 จำนวนหนึ่งประสบอุบัติเหตุเสียหาย ที่ถูกยิงตกในสมรภูมิมีไม่มาก เนื่องจากจะขึ้นปฏิบัติการในสภาพที่กองทัพอากาศครองน่านฟ้าอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ถูกปลดประจำการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายนั่นเอง ในปัจจุบันจึงเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง

ในวันนี้ A-10 ก็ยังคงออกปฏิบัติงานในแนวหน้า เช่น 40 ปีที่ผ่านมา ฝูงหนึ่งถูกส่งไปประจำการในเยอรมนีเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อสนับสนุนกองกำลังของนาโต้ยันรัสเซีย หลังเกิดความตึงเครียดรอบใหม่ เมื่อรัสเซียผนวกเอาดินแดนคาบสมุทรไครเมียของยูเครนเข้าเป็นดินแดนของตนเอง โดยอ้างความต้องการของชาวไครเมียเอง รัสเซียยังสนับสนุนฝ่ายกบฏที่ทำสงครามแยกดินแดน ในภาคตะวันออกของยูเครน และประกาศจะรวมกับรัสเซีย

ถึงแม้ว่าจะถูกมองเป็นเครื่องบินรบที่ล้าสมัยสุดกู่ แต่ภารกิจสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ชิดก็ยังไม่มีอะไรเทียบปืนโตลูกดกของ A-10 ได้ ทั้งลำบรรจุกระสุนกว่า 2,000 นัด รุ่นใหม่ยังพัฒนาไปติดจรวดนำวิถีเพิ่มเขี้ยวเล็บ ในขณะที่ทราบกันดีว่า “ห้องเก็บอาวุธ” (Weapons Bay) ใต้ท้อง F-35 ใน “สเตลธ์โหมด” ยังติดอาวุธได้อย่างจำกัด ก็เพราะว่าโดยพื้นฐานจะต้องมิให้อาวุธโผล่ เพื่อ “ล่องหน” นั่นเอง

นอกจากนั้น F-35 ก็เพิ่งจะทดลองยิงปืนกลอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ ปืนที่ติดข้างลำตัวด้านซ้ายเหนือปีกของ F-35A ซึ่งเป็นเวอร์ชันของกองทัพอากาศ เป็นปืนแบบแกตลิง กันเช่นกัน แต่เป็น GAU-22A ขนาด 25 มม. มีกระสุนเพียง 181 นัด (โปรดชมคลิป)

เพราะฉะนั้นการพบกันแบบตัวต่อตัวระหว่างระหว่างเครื่องบินล่องหนยุคที่ 5 กับนักเลงโบราณอย่าง A-10 ก็จึงเป็นแมตช์ที่คุ้มค่าที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอยไม่ว่าจะอีกนานเท่าไรก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น