xs
xsm
sm
md
lg

ชาวสวนลิ้นจี่เวียดนามมองตลาดใหม่ เหตุพิพาททะเลจีนใต้ทำลูกค้าจีนหาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. เผยให้เห็นเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่รอขายผลผลิตชุดใหม่ให้กับผู้ค้าผลไม้ในอ.ลึกเงิน จ.บั๊กซาง ทางภาคเหนือของเวียดนาม ผลผลิตลิ้นจี่ของประเทศราว 60% ถูกส่งออกไปจีน ที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ แต่การค้าขายกับจีนยังมีความเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้ ทำให้เวียดนามต้องมองหาตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาจีน.--Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>

เอเอฟพี - กลุ่มคนงานคัดเลือกและแยกลิ้นจี่อย่างระมัดระวังจากลิ้นจี่ที่กองรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมายมหาศาลภายในโรงบรรจุทางภาคเหนือของประเทศ และลิ้นจี่พวงที่ดีที่สุดจะถูกส่งไปจีน

“ถึงตอนนี้จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของเรา” เจิ่น วัน ซาง ผู้ค้าผลไม้ กล่าวต่อเอเอฟพี ที่คลังสินค้าของเขาในเมืองลึกเงิน (Luc Ngan) เมืองเล็กๆ ทางเหนือของกรุงฮานอย ที่เต็มไปด้วยลิ้นจี่ที่ผลผลิตออกมากในช่วงนี้

ผลผลิตลิ้นจี่ของประเทศราว 60% ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน ตามรายงานของทางการ แต่การค้าก็มีความเสี่ยงสูงหากเกิดภาวะขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสองเพื่อนบ้านคอมมิวนิสต์ ทำให้เวียดนามต้องมองหาตลาดใหม่ ด้วยการส่งออกลิ้นจี่ไปออสเตรเลีย และอเมริกาเป็นครั้งแรกในปีนี้

ในปี 2557 ช่วงที่ผลผลิตออกมากที่สุดเกิดขึ้นในช่วงที่สองประเทศกำลังเผชิญหน้าทางทะเล หลังปักกิ่งเคลื่อนแท่นขุดเจาะน้ำมันเข้าไปในน่านน้ำที่เวียดนามอ้างสิทธิอธิปไตยในทะเลจีนใต้

“มันเป็นช่วงเวลายากลำบาก เรามีผลผลิตอุดมสมบูรณ์แต่ผู้ซื้อจีนไม่มารับซื้อ” ซาง กล่าว

จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นอนของประเทศไม่ได้กระทบการค้าโดยรวม และการเชื่อมโยงการลงทุน แต่ก็มีผลกระทบต่อบางภาคส่วน อย่างเช่น ลิ้นจี่ ผลไม้พื้นเมืองทางภาคเหนือของเวียดนาม และภาคใต้ของจีน เมื่อปีก่อนผู้ค้าระบุว่า ลิ้นจี่ขายไม่ออกจนต้องปล่อยให้เน่าเสีย

ส่วนในปีนี้แม้ความตึงเครียดทางทะเลยังคงมีสูงสืบเนื่องจากโครงการถมทะเลสร้างเกาะเทียมของจีนในน่านน้ำพิพาท แต่บรรดาผู้ซื้อจีนได้กลับมาที่เมืองลึกเงิน ที่ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 40,000 ตัน

แต่เกษตรกร และผู้ค้าบางรายแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 2557 ด้วยการมองหาตลาดที่มั่งคงมากขึ้น และทำราคาได้สูงขึ้น

ปริมาณลิ้นจี่ที่ส่งออกไปออสเตรเลีย และสหรัฐฯ ถือว่ายังน้อย เมื่อรวมกันแล้วมีเพียงแค่ 35 ตันเท่านั้น แต่ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว

“เวียดนามจะพบกับความก้าวหน้าอย่างแท้จริงในการส่งออกลิ้นจี่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า" มาย ซวน ทิน ซีอีโอบริษัทเร้ดดราก้อน ผู้ส่งออกผลไม้ กล่าว

"หากเวียดนามมุ่งเน้นไปที่ความมั่นคงทางอาหาร และผลิตได้ตรงตามมาตรฐานของสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ปริมาณการส่งออกจะสูงขึ้นอย่างแน่นอนในปีหน้า” มาย ซวน ทิน กล่าว

สำหรับอเล็ก อเล็กโซพูลอส ผู้นำเข้าชาวออสเตรเลีย ระบุว่า การซื้อลิ้นจี่จากเวียดนามส่งไปเมลเบิร์นนั้นดีกว่าอย่างชัดเจน

“มันเร็วกว่ามากที่จะซื้อผลไม้จากเวียดนาม แทนการซื้อจากตอนบนของออสเตรเลียส่งมาทางใต้ที่ต้องใช้เวลาขนส่งด้วยรถบรรทุกนาน 4 วัน มันสดกว่าที่จะกินลิ้นจี่จากเวียดนาม และความสดก็เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ” อเล็กโซพูลอส กล่าว
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. เหวียน แอ็ง เกื่อง (ซ้าย) รองประธานจ.หายเซวือง พูดคุยกับอเล็ก อเล็กโซพูลอส ผู้นำเข้าผลไม้ชาวออสเตรเลีย (กลาง) และมาย ซวน ทิน ซีอีโอบริษัทส่งออกเร้ดดราก้อน (ขวา) ขณะเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่ในอ.จี๋ลีง จ.หายเซวือง.--Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>
.
เวียดนาม เป็นทั้งผู้ส่งออกกาแฟ ข้าว และปลาดุกรายใหญ่ และกำลังหันมาให้ความสนใจต่อการส่งออกผลไม้ ที่ในเวลานี้ยังคงเป็นเพียงปลาตัวเล็กๆ ในเวทีโลก เป็นผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่อันดับ 8 ของภูมิภาคเอเชีย ตามหลังจีน ไทย และอินเดีย ที่อยู่ในกลุ่มผู้นำ

การเพาะปลูกผลไม้ของเวียดนามส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่การส่งออกก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 622 ล้านดอลลาร์ในปี 2554 เป็นมากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์ ในปี 2557 รัฐบาลกำลังตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้ได้ 10 เท่า ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยการเพาะปลูกลำไย แก้วมังกร และลิ้นจี่ เป็นลำดับแรก

โดยรวมแล้ว เวียดนามมีศักยภาพที่ดี โรเบิร์ต กิลเยอร์โม ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ กล่าว

“ในระดับ 1 ถึง 10 ผมให้พวกเขา 8 พวกเขาดีมากรับฟังข้อเสนอแนะที่เราให้ไป” กิลเยอร์โม กล่าว

เหวียน วัน ถวต รองประธานสถาบันวิทยาศาสตร์ทางการเกษตรระบุว่า การเปิดตลาดใหม่จะช่วยลดการพึ่งพาจีน เวียดนามต้องมีตลาดส่งออกหลากหลายเพื่อให้การค้าคล่องตัว และทำกำไรมากขึ้น

เกษตรกรขายผลผลิตให้ผู้ซื้อจากสหรัฐฯ หรือออสเตรเลีย สูงกว่าราคาตลาดทั่วไปประมาณ 20% เหวียน ฮิว เดิ่ต จากแผนกคุ้มครองพืชเวียดนาม กล่าว

“โดยรวมแล้วได้ราคาสูงขึ้น และมั่นคงขึ้นหากเทียบกับเมื่อปีก่อนที่ผู้ซื้อจีนหนีหาย เกษตรกรมีความสุขกันมาก” เหวียน ฮิว เดิ่ต กล่าว

เหวียน ถิ งี เกษตรกรอายุ 56 ปี จาก จ.แท็งฮว๊า ภาคเหนือ หวังที่จะทำรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากการขายลิ้นจี่ให้ออสเตรเลีย

“ปัจจุบัน ครอบครัวของเรามีรายได้ประมาณ 20 ล้านด่งต่อปี (900 ดอลลาร์) และตอนนี้เรามีตลาดใหม่ เราหวังที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 50-60 ล้านด่งต่อปี” เหวียน ถิ งี กล่าว

เหวียน ถิ นือ เกษตรกรวัย 55 ปี จาก จ.หายเซวือง กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะรักษาผู้ซื้อต่างชาติไว้คือ การอยู่ให้ห่างจากยากำจัดศัตรูพืช

การส่งออกของเวียดนามประสบต่อปัญหาความปลอดภัยทางอาหารอยู่หลายครั้ง ที่สหภาพยุโรปได้ระงับผลผลิตบางอย่างของเวียดนามไว้ชั่วคราว เนื่องจากพบแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเมื่อไม่นานนี้ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะตกค้างในกุ้ง

“เราไม่เคยใช้สารเคมี สภาพอากาศที่หายเซืองนั้นเยี่ยมมากเหมาะต่อการปลูกลิ้นจี่ ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาซื้อผลไม้ของเรา” เหวียน ถิ นือ กล่าว.
<br><FONT color=#000033>คนงานคัดแยกลิ้นจี่สำหรับส่งออก ภายในโรงงานของบริษัทส่งออกผลไม้เร้ดดราก้อน ในจ.หายเซวือง.--Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. คนงานในโรงงานของบริษัทส่งออกผลไม้เร้ดดราก้อน บรรจุลิ้นจี่ลงในกล่องสำหรับส่งออก โดยในปีนี้เวียดนามส่งออกลิ้นจี่ไปออสเตรเลียและสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก.--Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น