xs
xsm
sm
md
lg

หน่วยงานดูความปลอดภัยอาหารในไทยซ้ำซ้อน แต่ข้อมูลน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สถาบันโภชนาการ เผย หลายประเทศพบปัญหาความปลอดภัยทางอาหารคล้ายกัน บางเรื่องไม่มีใครทำ บางเรื่องแยกกันทำ ระบุไทยมีหน่วยงานซ้ำซ้อน แต่ข้อมูลยังน้อย

รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการประชุมเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร ว่า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้สำรวจสถานการณ์อาหารในหลายประเทศ พบว่า มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เช่น กฎหมายเรื่องดังกล่าวมีความซ้ำซ้อน บางเรื่องไม่มีใครทำ บางเรื่องแย่งกันทำ ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการเรื่องอาหารปลอดภัยไม่เดินหน้า ซึ่งมองว่าต้องมีการรวมอำนาจไว้ตรงกลาง ก่อนจะกระจายอำนาจให้หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมมือกันอย่างถูกต้อง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น อินโดนีเซีย พื้นที่เป็นเกาะจำนวนมาก แต่มีการกระจายอำนาจได้ดี โดยมีกฎหมายจากส่วนกลางที่เข้มแข็ง จากนั้นให้พื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อลดช่องว่างการทำงาน โดยส่วนกลางได้บริหารจัดการความรู้ก่อนที่จะกระจายอำนาจออกไป

รศ.ดร.วิสิฐ กล่าวว่า ปัญหาที่พบคล้ายๆ กัน คือหน่วยงานที่จัดการเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร มีจำนวนมาก ทั้งแยกและแย่งกันทำงาน ซึ่งประเทศไทยก็เช่นกัน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจำนวนมาก มีมาตรฐานในการประเมินความเสี่ยง หรือ จัดการความปลอดภัยอาหารที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยนั้นการจัดการเรื่องความปลอดภัยทางอาหารถือว่าอยู่ในระดับกลาง แต่บางประเทศพบว่ามีองค์ความรู้ที่จะทำเรื่องดังกล่าวยังไม่เพียงพอ ไม่มีกฎหมาย ศักยภาพคนไม่เพียงพอ ทำให้การทำงานไม่เคลื่อนนัก เช่น การเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยจากอาหาร แม้จะมีการเก็บข้อมูลตลอดแต่ก็ยังมีความจุดอ่อน โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่สามารถระบุสาเหตุการเจ็บป่วยได้หรือไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มได้ เป็นต้น

ประเทศไทย มีการตั้งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ มาประมาณ 1 - 2 ปี เพื่อรวบรวมปัญหา และความรู้จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และ การแก้ปัญหา รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ และปรับระเบียบต่างๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับการดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยของไทย จากความกังวลเรื่องสารเคมีในผักผลไม้ ก็เกิดความร่วมมือในผู้ขายส่งเพื่อสร้างความมั่นใจในผู้บริโภค โดยพยายามตรวจหาสารเคมี และลงไปป้องกันในผู้ผลิต แต่เรื่องดังกล่าว ภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตรฯ ต้องช่วยแก้ปัญหาเรื่องการควบคุมการใช้สารเคมีอีกทาง การห้ามนำเข้า และขึ้นทะเบียนสารเคมีให้เกิดความปลอดภัยอีกทาง” รศ.ดร.วิสิฐ กล่าว

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


ไต้หวันเข้ม! ใช้กฎเหล็กจำกัดการนำเข้า “อาหารจากญี่ปุ่น” หลังพบทำฉลากปลอม!!
ไต้หวันเข้ม! ใช้กฎเหล็กจำกัดการนำเข้า “อาหารจากญี่ปุ่น” หลังพบทำฉลากปลอม!!
วันนี้(15)ไต้หวันประกาศใช้กฎใหม่ที่เข้มงวดเพื่อจำกัดการนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่น หลังพบมีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่นเป็นจำนวนหลายร้อยชิ้นที่ถูกพบว่ามีการปลอมแปลงฉลากผลิตภัณฑ์ว่า มีการแจ้งเท็จถึงแหล่งที่มาอาหารเหล่านั้นไม่ได้มาจากบริเวณรอบเขตภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ซึ่งทางไต้หวันได้ประกาศห้ามนำเข้าอาหารที่ผลิตได้จากบริเวณนี้จาก 5 แห่งนับตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งนับตั้งแต่นี้ผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นจะต้องได้รับใบรับรองยืนยันว่า “ไม่ได้มาจากแหล่งการเกษตร 5 แห่งใกล้กับเขตภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ” และอาจมีบางผลิตภัณฑ์ต้องมีใบรับรองปลอดสารกัมมันตภาพรังสี
กำลังโหลดความคิดเห็น