xs
xsm
sm
md
lg

จาก 35,000 กม.บนห้วงหาว ดาวเทียมญี่ปุ่นดวงใหม่ไล่จับไต้ฝุ่นอยู่หมัดชัดแจ๋วแหวว อัศจรรย์แห่งเทคโนโลยี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ภาพที่ แค็ป จากวิดีโอในเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์ส วันที่ 10 ก.ค.2558 แสดงให้เห็นตัวอย่าง ภาพเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์  ที่ดาวเทียม Himawari-8 ส่งกลับสู่สถานีภาคพื้นดินในญี่ปุ่น ทุกๆ 10 นาที <a href=http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077426>ขณะเกิด พายุแฝดสาม  </a>คือ ไต้ฝุ่นสองลูก กับ พายุโซนร้อนอีกหนึ่งกำลังอาละวาด ในย่านแปซิฟิกตะวันตก <a href=http://www.nytimes.com/interactive/2015/07/10/science/An-Image-of-Earth-Every-Ten-Minutes.html>คลิกที่นี่เพื่อชมมากกว่านี้. </a>  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงใหม่ของญี่ปุ่น ได้เริ่มทำงานแล้วในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ ภาพไต้ฝุ่นสองลูกล่าสุดในทะเลแปซิฟิก ที่ส่งลงมายังสถานีภาคพื้นดินนั้น ชัดแจ๋วที่สุดเท่าที่เคยมีมา ดาวเทียมฮิมาวาริ-8 (Himawari-8) กลายเป็นดวงแรก และ เพียงดวงเดียวที่สามารถทำได้เช่นนี้ จากความสูงกว่า 35,000 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกตรงเส้นศูนย์สูตร .. และ ยังทำได้มากกว่านี้อีกด้วย

ภาพแรกที่ดาวเทียมดวงนี้ส่งกลับ ลงมายังสถานีภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 7 ก.ค. แสดงให้เห็นการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 3 หย่อมในทะเลแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเพียงข้ามวันต่อมา ได้กลายเป็นพายุใหญ่ 3 ลูก คือ พายุโซนร้อนหลินฟา (Lin Fa) ไต้ฝุ่นนังคา (Nangka) และ ไต้ฝุ่นจันทน์หอม (Chan Hom) กล้องสุดทันสมัยของ Himawari-8 จะถ่ายภาพส่งกลับสู่พื้นโลกทุกๆ 10 นาที ทำให้พายุใหญ่ทั้งสามลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา

และตั้งแต่นี้ต่อไปพายุโซนร้อน กับ ไต้ฝุ่นทุกลูกที่เกิดและอาละวาดในย่านแปซิฟิกตะวันตก ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนตะวันออก ลงไปจนถึงย่านทะเลใต้ ก็จะถูกจับตาอย่างใกล้ชิดแบบเรียลไทม์ วันละ 24 ชั่วโมง โดยดาวเทียมดวงใหม่

ภาพเคลื่อนไหว และ ภาพถ่ายจริง ด้วยสีจริงของน้ำทะเลและพื้นทวีปในย่านนี้ ที่เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นความน่าอัศจรรย์ทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการถ่ายภาพจากอวกาศ การประมวลข้อมูลในระบบดิจิตอล ฯลฯ ก่อนจะกลายเป็นภาพความชัดเจนสูงพิเศษ (Ultra-High Definition) เมื่อส่งถึงพื้นโลก

ตามข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์องค์การอุตุนิยมวิยาแห่งญี่ปุ่น (Japan Meteorology Agency) ทั้งหมดเป็นผลงานของเทคโนโลยี ที่ใช้กับกล้องถ่ายรูป และ ระบบถ่ายภาพแบบใหม่ ซึ่งมีเพียง Himawari-8 เพียงดวงเดียวที่สามารถทำได้ในขณะนี้

กล้องของ Himawari-8 สามารถแสดงความชัดเจนของวัตถุต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้ในระยะต่ำถึง 2 ใน 3 ไมล์ นั่นก็คือ ประมาณ 1.2 กม. ภาพความชัดเจนสูงมากเป็นพิเศษ ยังสามารถนำไปขยายให้เห็นรายละเอียดต่างๆ ในเบื้องล่างได้อย่างคมชัดอีกด้วย นี่คือดาวเทียมดวงใหม่ ที่องค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น กำลังนำเข้าใช้การแทนดาวเทียม MTSAT2 อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

ทำไมจึงต้องชัดเจน และ เหตุใดจึงต้องจับความเคลื่อนไหวเบื้องล่างทุกๆ 10 นาที? เป็นคำถามที่น่าใจ และ คำตอบง่ายที่สุดน่าจะเป็นว่า เป็นระยะเวลาที่สามารถสุ่มตัวอย่าง (Random) สรรพสิ่งได้ดี ไม่น้อยจนเกินไปและไม่มากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่จัดเก็บข้อมูล และ สิ้นเปลืองเวลาในการประมวลผล

การติดตามความเคลื่อนไหวของพายุใหญ่เหนือผืนสมุทร หรือ ผืนทวีปเบื้องล่างทุกๆ 10 นาทีนั้น ย่อมทำให้สามารถมองเห็นทิศทาง และ ช่วยให้คิดคำนวณทิศทางการเคลื่อนตัว ได้อย่างแม่นยำทันเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง จากเมื่อก่อนวันที่ 7 ก.ค.2558 ซึ่งบนพื้นโลก ต้องพึ่งพาภาพจากดาวเทียม MTSAT2 กับดาวเทียมสื่อสารญี่ปุ่นอีก 1 ดวง ดาวเทียมขององค์การนาซ่าอีก 1-2 ดวง ที่ผลัดกันโคจรเข้ามาย่านนี้เป็นระยะๆ ในช่วงเวลากลางวัน 12 ชั่วโมง
.
<br><FONT color=#00003>ภาพแรกที่ส่งมาจากความสูง 35,800 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตร เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2558 ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำ 3 หย่อม กำลังก่อตัวขึ้นในย่านนี้ ก่อนจะพัฒนามาเป็นพายุโซนร้อนหนึ่งกับไต้ฝุ่นอีกสองลูก ในเวลาต่อมา แต่ทั้งหมดไม่เคยคลาดจากสายตาบนห้วงหาว .. ดาวเทียม Himawari-8 <a href=http://www.jma.go.jp/jma/jma-eng/satellite/news/himawari89/20141218_himawari8_first_images.html>คลิกที่นี่เพื่อชมภาพมากกว่านี้. </a></b>
2
ดาวเทียม Himawari-8 ทำได้อย่างไร?

ต่างไปจากดาวเทียม MTSAT2 และ ดวงอื่นๆ Himawari-8 เป็น "ดาวเทียมคงที่" หรือ "ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า" (Geostationary Satellite) ในภาษาทางวิชาการ ซึ่งความหมายก็คือ ดาวเทียมที่สถิตย์อยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกนั่นเอง

ตามข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น Himawari-8 ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2557 โดยจรวด H-IIA โดยยิงขึ้นจากศูนย์อวกาศตาเนะกาชิมา (Tanekashima) จ.คาโกชิมา (Kagoshima) ที่อยู่ตอนปลายสุด ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคิวชู (Kyushu) หลังจากนั้นได้ใช้เวลาปรับแต่ง และ ทดลองทางเทคนิคต่างๆ เป็นเวลา 9 เดือนเต็ม จนกระทั่งเริ่มใช้อย่างเป็นทางการสัปดาห์ต้นเดือนนี้

เช่นเดียวกันกับดาวเทียมคงที่ดวงอื่นๆ Himawari-8 ถูกส่งขึ้นสู่ความสูง 35,800 กม. สู่จุดที่ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร เหนือทะเลแปซิฟิก ด้วยความสูงดังกล่าว จะทำให้ดาวเทียม หรือ เทหะวัตถุใดๆ หมุนรอบโลกโดยใช้เวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ซึ่งผลก็คือ กลายเป็นดาวเทียมค้างฟ้า ที่อยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา

องค์การนาซ่า กับ องค์การสมุทรศาสตร์และห้วงอวกาศของสหรัฐ กำลังจะยิง ดาวเทียมคล้ายกันนี้อีกดวงหนึ่ง ขึ้นสู่วงโคจรในเดือน มี.ค.ปีหน้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ในย่านอเมริกาใต้ เพื่อติดตามเฮอริเคน หรือ "ไต้ฝุ่น" ที่เกิดในซีกโลกนั้น แทนดวงเก่าที่กำลังจะหมดอายุลง ปัจจุบันดาวเทียมคงที่ของสหรัฐ ส่งภาพเรียลไทม์กลับสู่พื้นโลกทุกๆ 10 วินาที

สำหรับ Himawari-8 บนความสูงและตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าว ทำให้สามารถมองเห็นสรรพสิ่งในเบื้องล่าง ผ่านกล้องคุณภาพสูง ครอบคลุมทั่วทั้งเขตศูนย์สูตร ทั้งในย่านแปซิฟิกและย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลอ่าวไทย ทะเลเบงกอล ทะเลจีนใต้ กับทะเลแปซิฟิกตะวันตกทั้งมวล ลงไปจนถึงแปซิฟิกใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ เหนือขึ้นไปถึงทะเลจีนตะวันออก จีน เกาหลี และ หมู่เกาะญี่ปุ่นทั้งหมด จนถึงภาคตะวันออกไกล-ไซบีเรียในรัสเซีย

ญี่ปุ่นมีทุกเหตุผลที่จะต้องมีดาวเทียมแบบ Himawari-8 เนื่องจากในแต่ละปี จะมีไต้ฝุ่นกับพายุโซนร้อน เคลื่อนเข้าสู่หมู่เกาะกว่าสิบลูก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องสงสัยเลย.. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงนี้ สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของเรือสินค้า รวมทั้งเรือรบทุกลำในย่านนี้ได้ ในทุกๆ 10 นาที ทั้งวันทั้งคืน... หากต้องการ.
กำลังโหลดความคิดเห็น