xs
xsm
sm
md
lg

เครื่องบินพลังสุริยะ Solar Impulse 2 สร้างประวัติศาสตร์ บินข้ามแปซิฟิกถึงฮาวายโดยปลอดภัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เครื่องบินพลังสุริยะโซลาร์อิมพัลส์ 2  ขณะเตรียมจะลงจอดในนครโฮโนลูลู ตอนเช้าตรู่วันศุกร์ 3 ก.ค.นี้ หลังบินรวดเดียวเป็นเวลากว่า 70 ชั่้วโมงจากประเทศญี่ปุ่น ฝ่าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ท่ามกลางสภาพอากาศอันเลวร้ายเป็นเวลา 5 วันเต็ม ระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ให้กับวงการบินพลเรือนของโลก เครื่องบินพิเศษสุดลำนี้ กำลังพยายามบินรอบโลกรวมระยะทางราว 35,000 กม. โดยไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงใดๆ แม้แต่หยดเดียว ปลายทางสุดท้ายอยู่ที่นครอาบูดาบี ในตะวันออกกลาง จุดเริ่มต้นซึ่ง Si2 บินขึ้นจากที่นั่นวันที่ 9 มี.ค. -- Agence France-Press/Solar Impulse/Jean Revillard.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เครื่องบินที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว ได้ใช้เวลา 5 วันในการบินรวดเดียวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ไปลงจอดในมลรัฐฮาวาย ของสหรัฐฯ ได้สำเร็จโดยไม่ได้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแม้แต่หยดเดียว ซึ่งเป็นการสร้างประวัติการณ์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบินของโลก อันเดรย์ บอสแบร์ก (Andre Borschberg) นักบินได้สร้างสถิติใหม่จำนวนหนึ่ง ก่อนนำ Si2 ลงจอดโดยปลอดภัยในวันศุกร์ 3 มิ.ย.นี้ นั่นคือเป็นเวลา 3 เดือนเศษนับตั้งแต่บินขึ้นจากนครมัณฑะเลย์ ในพม่า

เครื่องบินที่ไม่ใช้นำมันเชื้อเพลิงใดๆ ลงจอดเมื่อเวลา 05.55 น. ที่สนามบินกาลาเอลาว (Kalaelao) ใกล้กับนนคโฮโนลูลู ตามเวลาในท้องถิ่น และได้รับการต้อนรับตามประเพณีของชาวพื้นเมืองฮาวาย ซึ่งเป็นการพิสูจน์ขีดความสามารถของอากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่นำไปหมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่มีหมดสิ้น และยังเป็นการพิสูจน์ว่า เครื่องบินที่้ต้องพึ่งพาแสงแดด สามารถบินในระยะทางไกลๆ ได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน

โซลาร์ อิมพัลส์ บินขึ้นจากนครนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น ตอนเช้าตรู่วันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา บินอย่างต่อเนื่องถึงฮาวายโดยใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 75 ชั่วโมง ทำลายสถิติเดิมที่เคยบินจากจีนถึงญี่ปุ่น ที่ใช้เวลา 44 ชั่วโมง ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ SolarImpulse.Com
.

.
นายบอร์สแบร์ก ต้องพึ่งพาตนเองทุกอย่างขณะบินข้ามมหาสมุทรใหญ่ บนความสูงราว 9,000 เมตร และต้องใช้ถังออกซิเจนในการช่วยหายใจ โดยนั่งบนแก้อี้ที่ติดตั้งสุขภัณฑ์สำหรับการขับถ่ายไว้ให้พร้อม ติดร่มชูชีพกับแพยางเอาไว้ให้ในกรณีฉุกเฉิน ที่อาจจะต้องสละเครื่องบินลงสู่ทะเลเบื้องล่าง เขาจะหลับครั้งละประมาณ 20 นาที เป็นระยะๆ เพื่อตื่นขึ้นมาควบคุมเส้นทางการบิน มีศูนย์ควบคุมการบิน ที่ประเทศโมนาโก ติดตามให้คำแนะนำตลอดเส้นทาง โดยการสื่อสารผ่านดาวเทียม

ตามบันทึกของบอร์สแบร์ก เขาประสบความยุ่งยาก และเสี่ยงภัยมากที่สุดขณะบินข้าม “แนวอากาศเย็น” ที่เป็นเสมือนกำแพงในชั้นบรรยากาศที่อากาศแปรปรวนหนัก ขณะอยู่กลางทะเลแปซิฟิก แต่แล้วก็สามารถผ่านไปได้อย่างปลอดภัย

โซลาร์ อิมพัลส์ 2 ที่มีต้นกำเนิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกเดินทางจากนครอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วันที่ 9 มี.ค. แวะพักที่เมืองอาห์เมดาบัด และเมืองพาราณสี ในอินเดีย เข้าสู่ตอนเหนือของพม่า ก่อนบินต่อไปยังนครฉงชิ่ง กับนครหนันจิง ของจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้เวลาแวะพักยาวนานที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยสำหรับการบินข้ามหาสมุทรแปซิฟิก ระยะทางกว่า 8,100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ไกลที่สุดตลอดเส้นทาง
.

.

.

.

.
เครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่้หมุนในพัด แบบ “2 เครื่องยนต์” ลำนี้ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่ใช้ผลิตฟฟ้าจากดวงอาทิตย์รวมกว่า 17,000 ชิ้น ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรีลิเธียม ซึ่งทำให้เครื่องบินสามารถบินในเวลากลางคืนได้ อันเป็นสิ่งหนึ่งที่ Si2 ต้องการพิสูจน์ว่า อากาศยานที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์สามารถกระทำได้

ปีทั้งสองข้างของ Si2 กว้างกว่าปีกของ “จัมโบ้เจ็ต” โบอิ้ง 747 และน้ำหนักราวมราว 2.3 ตัน หรือเท่าๆ กับรถครอบครัวขนาดใหญ่คันหนึ่ง

โซลาร์ อิมพัลส์ 2 กลังจะบินเข้าสู่แผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ โดยมุ่งหน้าสู่เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เป็นแห่งแรกซึ่งจะเป็นเที่ยวบินที่ 9 ก่อนจะไปแวะยังอีกปลายทางหนึ่งในตอนกลางของประเทศ เพื่อบินต่อไปยังนครนิวยอร์ก และบินข้ามมหาสมทุรแอตแลนติกแบบรวดเดียวอีกเช่นกัน โดยมีปลายสุดท้าย ณ จุดเริ่มต้นในตะวันออกกลาง

นายแบร์ตร็องด์ พิการ์ด (Bertrand Piccard) กับนายบอร์สแบร์ก ซึ่งเป็นสองผู้ก่อตั้งโครงการโซลาร์ อิมพัลส์ กำลังรณรงค์ให้ทั้งโลกหันมาใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม และต่อชาวโลก พวกเขายังหวังอีกว่า ความสำเร็จในการบินรอบโลกของโซลาร์อิมพัลส์ 2 อาจจะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนขึ้นในอุตสาหกรรมบินของโลกได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น