xs
xsm
sm
md
lg

ไปดูพายุแฝดสามในทะเลแปซิฟิก .. “หลินฟา” มุ่งหน้าถล่มจีน-เวียดนาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>1.พายุโซนร้อนหลินฟา (Linfa) 2.ไต้ฝุ่นจันทน์หอม (Chan Hom) 3.ไต้ฝุ่นนังคา (Nangka) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ พายุแฝดสาม ในสัปดาห์นี้ ขณะลูกแรกกำลังมุ่งหน้าถล่มชายทะเลตอนใต้ของจีน จนถึงอ่าวตังเกี๋ยในเวียดนาม ไกลออกไปในตอนกลางแปซิฟิก จนถึงบริเวณทะเลฮาวาย จะเห็นการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศอีก 3 หย่อม ถ้าหากพัฒนาเป็นพายุได้ใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า มหาสมุทรแปซิฟิกก็จะมีพายุใหญ่ 6 ลูกพร้อมกันอย่างเป็นประวัติกาล. -- องค์การนาซ่า. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ธรรมชาติพิโรธแรง เกิดพายุขึ้น 3 ลูกในเวลาไล่เลี่ยกัน และอาละวาดอยู่ในทะเลแปซิฟิกตะวันตก ทั้ง 3 ลูกก่อตัวขึ้นสัปดาห์ที่แล้ว พัฒนาเป็นพายุรุนแรงในสัปดาห์นี้ แต่โชคดียิ่งที่ทั้ง 3 ลูก หมุนคว้างออกไปคนละทิศละทางกัน

นั่นคือ ไต้ฝุ่น 2 ลูก มุ่งหน้าขึ้นเหนือ กับอีกลูกหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ อาละวาดอยู่เหนือคุ้งน้ำ ขณะที่พายุโซนร้อนหลินฟา (Linfa) มุ่งหน้าขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่จีน ก่อนจะหันซ้ายบ่ายหน้าสู่เกาะไหหลำ

ทั้ง 3 ลูกก่อเกิดในเวลาติดๆ กันระหว่างวันที่ 1-3 ก.ค.ที่ผ่านมา และในบริเวณใกล้เคียงกัน ในทะเลตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ถึงแม้ว่าการเกิดพายุรุนแรงพร้อมกัน 3 ลูกในย่านนี้จะมิใช่ครั้งแรก แต่ก็มีให้เห็นไม่บ่อยครั้ง และ ไกลออกไปในย่านแปซิฟิกกลาง กับแปซิฟิกตะวันออก จนถึงบริเวณทะเลฮาวาย องค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐ หรือนาซ่า กำลังเฝ้าจับตาการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศอีก 3 แห่ง ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนรุนแรงได้ในระยะ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีพายุในมหาสมุ่ทรแปซิฟิกเพิ่มขึ้นเป็น 6 ลูกอย่างเป็นประวัติการณ์ ในสัปดาห์เดียวกัน

ภาพถ่ายดาวเทียมของนาซ่า ที่เผยแพร่ในช่วงข้ามวันมานี้ แสดงให้เห็นพายุใหญ่ทั้ง 3 ซึ่งได้แก่พายุโซนร้อนหลินฟา ไต้ฝุ่นจันทน์หอม (Chan Hom) ซึ่งเป็นชื่อภาษาลาว กับไต้ฝุ่นนังคา (Nangka) ชื่อภาษามาเลย์ ซึ่งในวันพุธ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 ปั่นความเร็วจนทำให้เกิดนัยน์ตาเล็กแหลมในช่วงกลางพายุมองเห็นได้ชัดเจน

ในวันพุธเช่นกัน ดาวเทียมของนาซ่าดวงหนึ่งได้ถ่ายภาพผ่านนัยน์ตาแห่งพายุนี้ จนมองทะลุเห็นผืนน้ำสีฟ้าครามของมหาสมุทรในแปซิฟิกอยู่เบื้องล่าง

ในขณะที่พายุโซนร้อนหลินฟา กำลังมุ่งหน้าเข้าอาละวาดแถบมณฑลกวงตุ้ง ชายทะเลตอนใต้ของจีน มุ่งหน้าสู่เกาะไหหลำ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม ไต้ฝุ่นจันทน์หอม กำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือ ปลายทางสุดท้ายอาจจะอยู่ที่เกาะไต้หวัน หรือคาบสมุทรเกาหลี กับทะเลจีนตะวันออก

ส่วนไต้ฝุ่นนังคานั้น นักพยากรณ์อากาศในย่านนี้เชื่อกันว่า จะป่วนอยู่ในทะเลแปซิฟิกตอนกลาง จนอ่อนกำลังลงเป็นลำดับในช่วง 3-4 วันข้างหน้า

ถึงแม้พายุโซนร้อนหลินฟา จะยังอยู่ไกลถึงบริเวณทางตอนใต้เกาะไต้หวันก็ตาม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางของเวียดนาม ได้ออกเตือนในตอนค่ำวันพุธ ให้เรือหาปลาทุกลำในทะเลจีนใต้ ระวังคลื่นสูง 3-5 เมตร ในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้า เรือประมงที่อยู่ไกลฝั่งควรเข้าใกล้ฝั่ง หรือเกาะ เพื่อหาที่หลบกำบังในยามฉุกเฉิน

นอกจากนั้น ถึงแม้ว่าจะเชื่อว่าพายุหลินฟา จะอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน และเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้าก็ตาม ศูนย์พยากรณ์อากาศของเวียดนาม ยังคงเฝ้าจับตาพัฒนาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในช่วงนี้.
.
<FONT color=#00003>ภาพดาวเทียม MTSAT2 ขององค์การอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น วันพุธ 8 ก.ค.2558 เห็นพายุใหญ่ทั้งสามลูกในย่านนี้.</b>
2
<FONT color=#000033>ภาพกว้างออกไปแสดงตำแหน่งพายุแฝดทั้งสาม ในแผนภูมิขององค์การนาซ่าแห่งสหรัฐในวันเดียวกัน.</b>
3
<FONT color=#000033>ตำแหน่งของพายุแฝดทั้งสาม ในแผนภูมิพยากรณ์ขององค์การอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น วันพุธ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา. </b>
4
<FONT color=#000033>ดาวเทียมขององค์การนาซ่าดวงหนึ่ง ถ่ายทะลุนัยน์ตาไต้ฝุ่นนังคา (Nangka) วันพุธที่ผ่านมา ขณะปั่นความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 มองเห็นผืนน้ำทะเลแปซิฟิกตะวันตกอยู่เบื้องล่าง.  </b>
5
<FONT color=#000033>ดูภาพใกล้ของหย่อมความกดอากาศ 3 หย่อม ในตอนกลางมหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงทะเลฮาวาย ซึ่งมีโอกาสจะพัฒนาขึ้นเป็นพายุรุนแรงอีก 3 ลูก. </b>
6
<FONT color=#000033>เหตุการณ์ในสัปดาห์นี้ทำให้นักอุตุนิยมวิทยาต้องย้อนกลับไปรำลึกถึงปรากฏการณ์คล้ายกันปลายปีที่แล้ว ซึ่งเกิดพายุแฝด 4 ขึ้นในทะเลแปซิฟิก ที่เห็นในแผนภูมิขององค์การนาซ่านี้ เป็น เฮอริเคน 1 ลูก กับ พายุโซนร้อนอีกลูกหนึ่ง ส่วนลูกที่ 4 เป็นไต้ฝุ่นในแปซิฟิกตะวันตกไม่ได้อยู่ในนี้. </b>
7
กำลังโหลดความคิดเห็น