xs
xsm
sm
md
lg

ปีหน้ารัสเซียส่ง MC-21 “ซูเปอร์เครื่องบิน” ชนโบอิ้ง-แอร์บัส ล้ำยุคทันสมัยยิ่งกว่า จุผู้โดยสารได้มากกว่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>บริษัทผู้ผลิตนำโมเดล MC-21-400 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหญ่ที่สุด บรรจุโดยสารกว่า 230 ที่นั่ง ออกตั้งแสดงในงานแอร์โชว์กรุงมอสโกเมื่อปี 2556 รัสเซียซุ่มผลิตมาเงียบๆ ก่อนจะประกาศเข็นรุ่นเบสิก MC-21-200 ขนาด 157 ที่นั่ง ออกมาเป็นลำแรกปีหน้านี้ รัสเซียกล่าวว่านี่คือเครื่องบินโดยสารดีที่สุดในโลก ต้นทุนต่ำที่สุด ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล และ อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้โดยสารได้มากที่สุด ผลิตออกมาเพื่อชนโบอิ้ง 737 MAX และ Airbus Neo แบบตัวต่อตัว และรุ่นต่อรุ่น.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มอีร์คุตซ์ (Irkut Corporation) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำของรัสเซีย ประกาศในสัปดาห์นี้พร้อมจะเข็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก-กลางรุ่นใหม่ ลำแรกออกมาในปี 2559 เพื่อใช้แทนตูโปเลฟ (Tupolev) ที่ใช้งานมานาน และยังผลิตป้อนอุตสาหกรรมการบินพลเรือนของทั่วโลกอีกด้วย

โดยชูคุณสมบัติ 3 ประการที่บริษัทนี้กล่าวว่า “อีร์คุต MC-21” เหนือกว่าเครื่องบินโดยสารในระดับเดียวกันทั้งหมด ทั้งโบอิ้ง และแอร์บัสรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดขณะนี้ ซเวซดาทีวี (Zvezda TV) รายงานในวันศุกร์ 19 มิ.ย. ว่า นักบินพร้อมแล้วที่จะนำ “อีร์คุต เอ็มซี-21” (Irkut MC-21) หรือ “เครื่องบินแห่งศตวรรษที่ 21” ขึ้นบินในปีหน้า

“ซูเปอร์เครื่องบิน” (Super Airliner) MC-21 เป็นผลงานการออกแบบ และผลิตร่วมกันระหว่างอีร์คุต กับกลุ่มบริษัทยาคอฟเลฟ (Yakovlev) ออกแบบอากาศยาน กำลังจะทำออกมา 3 รุ่นด้วยกัน บรรจุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 150 จนถึง 230 คน มีรัศมีบินทำการ 5,000 กิโลเมตร และจะเป็นเครื่องบินโดยสารดีที่สุดในโลก อีกไม่กี่ปีข้างหน้าสายการบินต่างๆ ของรัสเซียเองจะใช้ให้บริการ แทนตูโปเลฟ (Tupolev) ทั้ง Tu-154, Tu-134 รวมทั้ง Tu-204/214 ด้วย ซเวซดาทีวี กล่าว

อีร์คุต คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบ Su-27/30 ให้แก่บริษัทซูคอย (Sukhoi) กับเครื่องบินอีกหลายต่อหลายรุ่น ประกาศว่า MC-21 มีข้อได้เปรียบสำคัญเหนือคู่แข่งจากสหรัฐฯ และยุโรป อย่างน้อย 3 ประการ คือ บรรจุผู้โดยสารได้มากกว่า ในขณะที่ A320 ของแอร์บัสบรรจุได้เพียง 180 ที่นั่ง โบอิ้ง 738 MAX-8 บรรจุได้ 189 ที่นั่ง และบอมบาร์เดียร์ CS300 เพียง 135 ที่นั่ง

ประการที่สอง MC-21 มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ตกเครื่องละประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 102.8 และ 93.3 ล้านดอลลาร์ ของ A320 และโบอิ้ง 737 MAX-8 ตามลำดับ และยังต่ำกว่าบอมบาเดียร์ CS300 ที่มีต้นทุนสูงถึง 80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ

ประการที่สาม เครื่องบินรัสเซียมีห้องนักบินกว้างขวางกว่า และลำตัวกว้างกว่า แอร์บัส A320 และโบอิ้ง 737 ทำให้ผู้โดยสารเดินไปมาตามทางเดินระหว่างแถวที่นั่งบนเครื่องได้สะดวกกว่า โดยไม่เบียดเสียด ไม่ชนกัน

ถ้าหากจะนับเป็นความทันสมัย จุดเด่นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ห้องนักบินของ MC-21 ติดตั้งระบบจอแสดงผลแบบ “เฮด-อัป” (Head-up Display) มิใช่จอที่ติดตายบนแผงหน้าปัด หรือแผงแดชบอร์ดทั่วไป ช่วยให้นักบินทำงานสะดวกกว่า ทั้งในช่วงขึ้นบิน และลงจอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครื่องบินบินเข้าสู่เขตมณฑลที่สภาพภูมิอากาศวิกฤต

เครื่องบินรุ่นพื้นฐานลำตัวสั้นที่สุด คือ MC-21-200 จะบรรจุได้ 156 ที่นั่ง ตั้งเป้าแข่งขันตัวต่อตัว กับแอร์บัส A319neo, Boeing 737 MAX 7 กับ Bombardier CS300 ส่วนรุ่นมาตรฐานคือ MC-21-300 บรรจุผู้โดยสาร 211 ที่นั่ง เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Airbus A320neo, Boeing 737 MAX 8/MAX 200 กับ Comac C919 ผลิตในจีน

ส่วนรุ่นสุดท้ายในโครงการ คือ MC-21-400 บรรจุผู้โดยสาร 230 ที่นั่ง จะลงแข่งในตลาดโลกกับ Airbus A321neo และ Boeing 737 MAX 9
.
<FONT color=#00003>โมเดลของ MC-21-200 ไอพ่น 2 เครื่องยนต์ เป็นรุ่น เบสิก ขนาด 157 ที่นั่ง ซึ่งจะได้เห็นลำแรกในปีหน้า. </b>
2
<FONT color=#000033>ห้องนักบินของ MC-21 ซึ่งอีร์คุตกล่าวว่ากว้างกว่าของโบอิ้งและแอร์บัสทุกรุ่นในระนาบเดียวกัน ส่วนบนจะติดตั้งระบบเฮดอัพดิสเพลย์รอบข้าง ทันสมัยและล้ำยุค สมเป็น เครื่องบินแห่งศตวรรษที่ 21. </b>
3
<FONT color=#000033>คอนฟิกกูเรชั่นพื้นฐานภายใน MC-21 ที่มีลำตัวกว้างกว่าของแอร์บัสและโบอิ้ง มีช่องว่างระหว่างแถวที่นั่งให้มากกว่า ผู้โดยสารไม่ต้องเดินชนกันอีก ในยามลุกไปห้องน้ำห้องท่า และ เดินเข้าออก.</b>
4
อีร์คุต MC-21-200 ลำแรกจะแล่นออกจากโรงงานประกอบปีหน้า และจะใช้เวลาทั้งปีในการทดสอบมาตรฐานต่างๆ เพื่อรับใบอนุญาตก่อนผลิตให้แก่ลูกค้า ซึ่งหนังสือพิมพ์อิซเวสเทีย (Izvestia) ของทางการรายงานเมื่อวันจันทร์ อ้างเจ้าหน้าที่บริษัทอิลยูชินไฟแนนซ์ (Ilyushin Finance Co) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องบินสำหรับเช่าในรัสเซีย ที่ระบุว่า สายการบินหลายแห่ง ตั้งแต่ยุโรป ไปจนถึงตะวันออกกลาง และในเอเชีย รวมทั้งลุฟต์ฮันซา (Lufthansa) ของเยอรมนี ได้ให้ความสนใจ MC-21 และรอคอยเครื่องบินลำแรกที่จะออกมา

นายดมิตรี โรโกซิน (Dmitry Rogozin) รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ในเดือน ม.ค.ปีนี้ว่า จนถึงปัจจุบันยอดจอง MC-21 ที่ได้รับการยืนยันได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 180 ลำ บริษัทผู้ผลิตตั้งเป้าจำหน่ายรุ่นต่างๆ ถึง 1,000 ลำ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า

รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้ารัสเซีย เดนิส แมนตูรอฟ (Denis Manturov) ให้สัมภาษณ์ปีที่แล้ว ระบุว่า ชิ้นส่วนต่างๆ ของ MC-21 ราว 50% ผลิตในรัสเซีย ที่เหลือจะเป็นชิ้นส่วนผลิตจากสวีเดน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ กระทั่งจากสหรัฐฯ นับเป็นเครื่องบินโดยสารลำที่ 2 ที่รัสเซียตั้งใจผลิตออกสู่ตลาดโลก หลังจากกลุ่มซูคอย ร่วมกับหุ้นส่วนจากยุโรป ผลิตเครื่องบิน “ซูเปอร์เจ็ต-100” (Sukhoi Superjet-100) เครื่องบินโดยสารไอพ่นขนาด 90 ที่นั่งออกมา สำหรับตลาดการบินเชื่อมต่อระดับภูมิภาคทั่วโลก

ปัจจุบัน มียอดสั่งซื้อ SSJ-100 มีกว่า 200 ลำ และซูคอยทยอยสงมอบให้แก่ลูกค้า รวมทั้งสายการบินเอกชนในลาว อินโดนีเซีย กับฟิลิปปินส์ด้วย และไม่เพียงแต่สายการบินพาณิชย์เท่านั้นที่เป็นลูกค้าเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย กองทัพอากาศไทยเป็นอีกรายหนึ่ง โดยได้สั่งซื้อ SSJ-100 ไปจำนวน 3 ลำ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ สองลำล่าสุดเซ็นสัญญาซื้อเมื่อปลายปีที่แล้ว

ระหว่างนายดมิตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซียไปเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ต้นเดือน พ.ค. ฝ่ายรัสเซีย ได้เสนอขาย SSJ-100 ให้แก่สายการบินในเวียดนาม และเสนอจัดตั้งโรงซ่อมบำรุงขึ้นในประเทศนี้ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น