xs
xsm
sm
md
lg

รัสเซียเปิดเกมรุก ทัพฟ้าอิเหนาเอ่ยปากอยากจะได้ Su-35 จัดเต็มทันทียึดตลาดใหญ่อาเซียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เครื่องบินรบยุค 4++ ที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย อาจจะมีโอกาสมาปรากฏตัวเหนือน่านฟ้ากลุ่มอาเซียนก็ครั้งนี้  หลังจากเวียดนามไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากรัสเซียแบะท่า พร้อมจะขายให้จีนฝูงใหญ่ แต่คราวนี้วงการเชื่อกันว่า รัสเซียจะจับให้มั่นคามือเพื่อรักษาตลาดใหญ่และเก่าแก่ในย่านนี้ ขึ้นอยู่กับว่าอินโดนีเซียเองจะจริงจังแค่ไหน ในขณะที่กำลังอัปเกรต F-16 ที่สหรัฐบริจาคให้ฟรีๆ ตั้งสองฝูง. -- ภาพ: Sputnik.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เจ้าหน้าที่ทางการรัสเซียเพิ่งจะเปิดเผยสัปดาห์นี้ว่า กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ให้ความสนใจอยากจะได้เครื่องบินรบ Su-35 และฝ่ายรัสเซียได้จัดเตรียมแผนเพื่อนำเสนอแบบแพกเกจเพื่อชิงตลาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งในกลุ่มอาเซียน ที่เร่งปรับปรุงสมรรถนะของกองทัพอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้

เซอร์เกย์ คาร์นอฟ (Sergey Kornev) โฆษกของรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธแห่งรัสเซีย หรือ Rosoboronexport เปิดเผยในวันพฤหัสบดี 18 มิ.ย. ในงานปารีสแอร์โชว์ ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้เกี่ยวกับแผนการจัดหาเครื่องบินรบของอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้าประจำการทดแทนเครื่องบิน F-5 ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ฝูงหนึ่งที่ใช้งานมานานหลายสิบปี

“เรารอว่าจะเปิดประกวดราคากันเมื่อไร และเราจะเข้าร่วมด้วย” โฆษกคนเดียวกันกล่าว ทั้งยังย้ำความสำคัญในการพัฒนาเครื่องบินรบอเนกประสงค์ของรัสเซียเพื่อส่งออก

ในเดือน ก.พ. ปีนี้ พล.อ.ท.อากุส ซูปริอัตนา (Akus Supriatna) เสนาธิการกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ได้เดินทางไปเยือนรัสเซีย และแสดงความสนใจ Su-35 แต่ยังไม่มีการเปิดเผยเงื่อนเวลาในการจัดหา

พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทซูคอย (Sukhoi) ซึ่งเป็นทั้งผู้ออกแบบ และผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำในรัสเซีย Su-35 ซึ่งกลุ่มนาโต้เรียกว่า แฟล็งเคอร์-อี (Flanker- E) เป็นเครื่องบินรบยุค “4++” ที่ใช้งานได้หลายบทบาทหน้าที่ โดยใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินรบยุคที่ 5 อยู่ในระบบด้วย เป็นที่ยอมรับกันว่า Su-35 มีข้อได้เปรียบมากมาย เหนือเครื่องบินรบในระดับเดียวกันอีกหลายรุ่น

เครื่องบินรัสเซียไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมสำหรับกองทัพอินโดนีเซีย แม้ว่ากองทัพบก กับกองทัพเรือ จะหันไปใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของตะวันตกมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ทัพอากาศประเทศนี้ยังคงใช้เครื่องบินรบผสมผสาม ระหว่างค่ายสหรัฐฯ กับรัสเซีย รวมทั้งยังมีโรงงานผลิต เครื่องบินขนส่งของค่ายยุโรปอยู่ในประเทศอีกด้วย

อินโดนีเซีย เป็นลูกค้ารายแรกๆ ของ Su-27/30 ในกลุ่มอาเซียน เช่นเดียวกับกองทัพอากาศมาเลเซีย และเวียดนาม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงใช้เครื่องบินขนส่ง C-130 ที่ผลิตในสหรัฐฯ ร่วมกับเครื่องบินที่ผลิตในประเทศ

ส่วนเวียดนาม ไม่ได้แสดงความสนใจใน Su-35 ขณะที่รัสเซีย กับจีนพันตูเจรจาซื้อขายกันในช่วงหลายปีมานี้ และเวียดนามหันไปหาเครื่องบินรบจากค่ายยุโรป ซึ่งรวมทั้ง JAS-39 “กริพเพน” ที่ผลิตในสวีเดน และยูโรไฟเตอร์ “ไต้ฝุ่น” ซึ่่งเป็นผลผลิตร่วมกันของหลายประเทศยุโรป ทั้งนี้ เพื่อนำเขาประจำการแทน MiG-21 ที่เก่าแก่ และทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

สำหรับอินโดนีเซีย นอกจากจะเป็นเจ้าของ Su-27/30 กว่า 10 ลำในขณะนี้ ก็ยังอยู่ระหว่างการอัปเกรตเครื่องบิน F-16 ที่ใช้แล้ว และได้รับบริจาคจากสหรัฐฯ จำนวน 2 ฝูง รวม 24 ลำอีกด้วย ถ้าหากรัสเซียสามารถเจาะตลาดอินโดนีเซียได้สำเร็จ ก็จะเป็นเจ้าของตลาดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในย่านนี้

ที่ผ่านมา รัสเซียได้แสดงให้เห็นความพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษาตลาดเก่าแก่แห่งนี้ รวมทั้งการให้สินเชื่อแก่อินโดนีเซียในการจัดซื้อ Su-30 จำนวน 6 ลำ ที่ส่งมอบแล้วเสร็จในล็อตล่าสุดด้วย.
.
<FONT color=#000033>Su-27SKM หนึ่งในสามลำของทัพฟ้าอิเหนา ที่ฐานทัพแห่งหนึ่งทางตะวันออกกรุงจาการ์ตา ในภาพทวิตเตอร์ของแฟนคนหนึ่ง นอกจากนั้นยังมี Su-27SK อีก 2 ลำ ซึ่งอัปเกรตระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ ขึ้นเทียบชั้น Su-30MK แล้ว ปัจจุบันทัพฟ้าอิเหนายังมี Su-30 อีกตั้ง 11 ลำ ตอนนี้กำลังมองหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ เพื่อเข้าประจำการแทน F-5E/F ที่มีอยู่ 9 ลำ. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น