xs
xsm
sm
md
lg

ไปเยี่ยมโรงงานประกอบ Su-30 งามตระการตาอย่าพลาดเชียว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นี่คือเครื่องบินรบอเนกประสงค์ทางเลือก สนนราคาลำละตั้งแต่ 30-50 ล้านดอลลาร์ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์สำหรับภารกิจที่ต้องการ Su-30 ของกองทัพอากาศรัสเซียส่วนใหญ่ ก็ผลิตจากโรงงานในตอนกลางของไซบีเรียแห่งนี้ รวมทั้ง Su-30SM ซึ่งเป็น รุ่นท็อป ในปัจจุบันด้วย สื่อรัสเซียรายงานว่า 12 ลำในล็อตล่าสุดของกองทัพอากาศเวียดนามก็ไปจากที่นี่ และ ยังเป็นฝูงแรกที่ติดเครื่องยนต์แบบที่มี Vectoring Control อีกด้วย แต่ประเทศเจ้าของก็ยังไม่เคยเปิดเผยเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ. -- ภาพ: Stepanov Slava.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สำหรับผู้ที่พลาดมาก่อน นี่เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่จะได้เห็นภายในโรงงานประกอบอากาศยานอีร์คุตซ์ (Irkutsk Aviation Plant) แหล่งผลิต Su-27/30 เครื่องบินรบอเนกประสงค์ชั้นเยี่ยมที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของโลก โรงงานที่อยู่ทางตอนกลางของแคว้นไซบีเรียแห่งนี้ เพิ่งฉลองครบรอบ 80 ปีมาหมาดๆ และเป็นโอกาสเดียวที่ผู้สื่อข่าว กับช่างภาพรัสเซียจำนวนหนึ่งได้เข้าไปที่นั่น ตลอดหลายสิบปีที่๋ผ่านมา

ยังมี Su-27/Su-30 อีกจำนวนหนึ่ง ประกอบที่โรงงานอีกแห่งหนึ่งในเมืองคอมโซมอลสค์-ออน-อามูร์ (Komsomolsk-on-Amur) ริมฝั่งแม่น้ำอามูร์ ทางตอนเหนือของเมืองท่าวลาดิวอสต็อก ที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางภาคตะวันออกไกลสุดของประเทศ แต่ IAP แห่งนี้ใหญ่โตกว่า นอกจาก Su-27/30 แล้ว ก็ยังประกอบอีกหลายรุ่น ตั้งแต่ก่อตั้งมา มีการเข็นเครื่องบินออกจากที่นี่กว่า 7,000 ลำแล้ว โดยไม่ได้นับรวมกับเครื่องบินที่ส่งไปซ่อม ไปดัดแปลง หรือไปอัปเกรด

ในด้านของการประกอบ และผลิต โรงงานอีร์คุตซ์ ทำกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับ Su-27/30 ตั้งแต่ผลิตอะไหล่เองเกือบ 95% ของทั้งหมด จนถึงขั้นประกอบเข้าเป็นชิ้นๆ การติดตั้งระบบต่างๆ และขั้นตอนสุดท้ายคือ การทดสอบ จึงเป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง

ตามรายงานของสื่อรัสเซีย IAP จะส่ง Su-30MK2 ที่เหลืออีก 8 ลำ ให้เวียดนามภายในปลายปี 2558 นี้ เป็นล็อตที่เซ็นซื้อกัน 12 ลำ เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศของประเทศอาเซียนแห่ง นี้มีจำนวนทั้งหมด 36 ลำ และ 12 ลำสุดท้ายที่กล่าวถึงนี้จะติดเครื่องยนต์รุ่นที่มี Vectoring Control ทั้งหมด เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจู่โจม หลบหลีก การปีนไต่ระดับ การลดระดับ การพลิกม้วน ฯลฯ

ระบบอาจจะบอกได้ว่า เวียดนามสั่งสเปกนี้ไปเพื่อการใด

ต้องย้อนความหลังกันสักนิด ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา ไม่ได้มีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มี Su-30 ประจำการในกองทัพ ทัพฟ้าเสือเหลืองก็มีอยู่ 18 ลำ ติดเว็กเตอริ่งคอนโทรลทั้งหมด อินโดนีเซียก็มีถึง 16 ลำ เมื่อนับรวมกับ Su-27 ที่อยู่ระหว่างอัปเกรด ไกลออกไปในภูมิภาคนี้ กองทัพอากาศอินเดีย มี Su-30 เวอร์ชันต่างๆ ประจำการกว่า 200 ลำ กองทัพประชาชนจีนอีกหลายสิบลำ นี่ยังไม่นับรวมพวกที่แปลงร่างกลายไปเป็น “J” ของจีนเองอีกหลายรุ่น จำนวนหลายร้อยลำ

กลุ่มนาโต้ เรียก Su-27 ว่า “แฟล็งเคอร์” (Flanker) เรียก Su-30 ว่า “แฟล็งเคอร์-ซี” (Flanker-C) หากจะอธิบายกันสั้นๆ ตรงนี้เลยก็คือ Su-30 เป็นเวอร์ชัน 2 ที่นั่งของ Su-27 ก็ไม่ผิด แต่ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่อธิบายกันข้ามวันก็ไม่หมด

เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วที่ Su-27 ปรากฏตัวในน่านฟ้ากว่า 10 ประเทศทั่วโลก จนกระทั่งกลายมาเป็น Su-30 ในช่วงกว่า 20 ปีมานี้ ปัจจุบันกองทัพอากาศรัสเซียเองก็ยังใช้อยู่ และ ยังสั่งซื้อจากซูคอยเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ถึงแม้ว่า จะทยอยนำ T-50 PAKFA เครื่องบินรบยุคที่ 5 ของค่ายนี้เข้าประจำการในอีก 2 ปีข้างหน้าก็ตาม

จาก Su-27 เอวบางร่างน้อย ที่คล่องแคล่วคล่องตัวในทุกสมรภูมิ ได้กลายมาเป็น Su-30 รุ่นจัดหนัก สร้างขึ้นมาให้บรรทุกอาวุธต่างๆ ได้มากกว่า เพดานบินสูงกว่า และ บินได้ไกลกว่า คลุมน่านน้ำกับน่านฟ้าที่กว้างใหญ่ไพศาลได้ทั่วถึง ซึ่งเครื่องบินรบรุ่นเล็กทำแทนไม่ได้ หรือไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น Su-30 ก็จะต้องติดเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า และแรงกว่า ซดน้ำมันมากกว่า แต่ก็มีเครื่องหลายรุ่นให้เลือก รวมทั้ง “รุ่นท็อป” ที่สงวนเอาไว้ให้กองทัพอากาศรัสเซียเท่านั้น
.

.

.
ของรัสเซียรุ่นปัจจุบันพัฒนามาจนถึง Su-30SM ที่ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ระบบนำร่องใหม่ เรดาร์ใหม่ และระบบวิทยุ-สื่อสาร ฯลฯ ทุกอย่างดีกว่าเหนือกว่า และไม่อนุญาตให้ส่งออก แม้ว่า Su-30 รุ่นมาตรฐานของกองทัพ จะมีรัศมีทำการถึง 3,000 กิโลเมตร ทำความเร็วสูงสุดได้กว่า 2,100 กม./ชม. อยู่แล้วก็ตาม

โรงงาน IAP แห่งนี้เป็นแหล่งผลิต Su-30SM ซึ่งราคาค่างวดลำละประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ด้วย แพงกว่า Su-30 บางเวอร์ชันพื้นฐานเกือบเท่าตัว
.
<bR><FONT color=#000033>S-30SM รุ่นจัดหนักของกองทัพอากาศรัสเซียที่โรงงานอีร์คุตซ์ รัฐบาลไม่อนุญาตให้ส่งออก และ 3 ปีมานี้กองทัพอากาศสั่งซื้อไปเกือบ 40 ลำ เพื่อนำเข้าประจำการ รวมทั้งอีก 7 ลำเมื่อปีที่แล้ว ยังไม่นับรวมกับ Su-30 เวอร์ชั่นอื่นๆ อีกหลายสิบลำ ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อทางการ. -- ภาพ: Stepanov Slava.</b>
2
เครื่องบินก็ไม่ต่างกับรถยนต์ เมื่อประกอบลำตัวกับชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเสร็จสรรพ ก็จะมีการติดตั้งระบบต่างๆ ทั้งระบบนำร่อง ระบบเรดาร์ และระบบควบคุมอาวุธ ฯลฯ แตกต่างกันไปตามลักษณะภารกิจที่จะนำไปใช้ Su-30 ก็จึงแตกออกไปเป็น Sub-type หรือ เรียกง่ายๆ ว่า “เวอร์ชัน” ต่างๆ มากมาย ตามความต้องการของผู้ใช้ จะใช้ในภารกิจทางทะเล หรือบนบกเป็นหลัก โจมตีทางอากาศหรือบินขับไล่ หรืออะไรก็ตามแต่ จากรุ่นส่งออกทั่วไปที่ใช้รหัส MK2 ก็กลายเป็น MKM สำหรับมาเลเซีย หรือ MKI สำหรับอินเดีย MKV สำหรับเวเนซุเอลา และ MK2V สำหรับเวียดนาม เป็นต้น

เครื่องบิน Su-27/30 เป็นผลงานวิจัยและออกแบบ และพัฒนาระบบต่างๆ โดยกลุ่มบริษัทซูคอย (Sukhoi Company) ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียตจนถึงยุคใหม่ ก็จึงได้รหัสรุ่นของเครื่องบินเป็น Su เช่นเดียวกันกันรุ่นก่อน และรุ่นหลังของค่ายผู้ผลิตเดียวกัน และซูคอยก็ได้เครดิตแต่เพียงผู้เดียวล้วนๆ มาโดยตลอด ขณะที่แหล่งผลิตเป็นแหล่งต้องห้าม แทบจะไม่เป็นที่รู้จัก

โรงงานประกอบอีร์คุตซ์แห่งนี้ จ้างคนงาน วิศวกร และช่างเทคนิคราว 12,500 คน อายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 40 ปี แบ่งออกเป็น 7 แผนก ตั้งแต่ระบบไฮดดรอลิก ระบบเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ ปีก อุปกรณ์ลงจอดบนพื้น ระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ และระบบอาวุธ 90% ของเนื้องานนั้น “ทำด้วยมือ” ทั้งสิ้น ซึ่งไม่น่าจะง่ายนัก ยกตัวอย่างเพียงรายการเดียว เช่น สายไฟที่ใช้ใน Su-30 แต่ละลำนั้นรวมกันยาวกว่า 70 กม.

นี่เป็นโอกาสดีที่สุดที่จะได้เห็นการทำงานของแผนกต่างๆ ภายในโรงงาน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ผลิตชิ้นส่วนหลายชิ้่นด้วยมือที่ชำนาญ หรือด้วยเครื่องมือพื้นๆ จนถึงส่วนที่ต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย จนกระทั่งแล้วเสร็จครบวงจร และขึ้นบินได้ตามสเปกที่กำหนดทุกประการ

ภาพทั้งหมดต่อไปนี้หลายคนยกย่องให้เป็น “ภาพศิลป์” มากกว่าจะเป็น “ภาพข่าว” และภาพต้นฉบับทั้งหมดเป็นผลงานของสเตปานอฟ สลาวา (Stepanov Slava) ซึ่งนำขึ้นขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ก่อนจะปรากฏในเว็บไซต์อีกหลายแห่งในช่วงปลายปีมาจนถึงต้นปีนี้.
.

80 ปีมีหนเดียว Stepanov Slava

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31
กำลังโหลดความคิดเห็น