xs
xsm
sm
md
lg

ป่าช้ารถถังโซเวียต ชมภาพชุดใหญ่ไปเยือนญาติพี่น้องของ “โอปล็อต-M”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#000033>รถถังราว 450 คัน จอดอยู่ภายในโรงซ่อมเครื่องยนต์เมืองคาร์คอฟแห่งนี้เป็นเวลา 25-30 ปีมาแล้ว เพื่อรอซ่อม ยานเกราะทุกคันผลิตจากโรงงาน ที่ผลิต <i>T-84 (Oplot-M) </i>ให้กับกองทัพบกไทยในวันนี้ โอปล็อต จึงเป็นรุ่นที่พัฒนามาไกลสุด ในขณะที่ญาติๆ ยังจอดรอการซ่อมแซม และ ผ่านพ้นยุคไป พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต. -- ภาพ: Livejournal.Com/Pasha Itkin.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อดีตของสถานที่แห่งนี้คือ โรงงานซ่อมเครื่องยนต์รถถังในยุคสงครามเย็นที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้จนรกร้าง นับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลาย ที่นี่อยู่ในเขตเมืองคาร์คอฟ (Karkiv) สาธารณรัฐยูเครน อันเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานมาลีเชฟ (Malyshev Plant) ที่ผลิตรถถัง T-84 “โอปล็อต-เอ็ม” (Oplot-M) สำหรับกองทัพบกไทย และ โรงงานทั้ง 2 แห่งก็มีประวัติเคียงคู่กันมายาวนานมาก

ช่างภาพสมัครเล่น 2 คนได้เข้าไปยังสถานที่รกร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า “โรงงานซ่อมเครื่องยนต์แห่งคาร์คอฟ” ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่โรงซ่อมเครื่องยนต์ธรรมดาทั่วไป หากเป็นเครื่องยนต์รถถัง และภายในอาณาบริเวณก็เต็มไปด้วยรถถังหลากหลายรุ่น ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไป “รอซ่อม” แต่ยังไม่มีโอกาสได้ซ่อม โรงงานได้ล่มสลายไปเสียก่อน พร้อมๆ กับมหาอาณาจักรสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพโซเวียต

ปูพื้นหลังสักนิดหนึ่งว่า สาธารณรัฐยูเครนเมื่อก่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในบรรดา “สาธารณรัฐแห่งสภาพโซเวียต” เช่นเดียวกับสาธารณรัฐจอร์เจีย, คาซัคสถาน, เติร์กเมเนีย, ทาจิกิสถาน, อาร์เมเนีย และอื่นๆ แต่แตกต่างไปจากสาธารณรัฐอื่นๆ อีกหลายแห่ง ยูเครนเป็นแหล่งผลิต และซ่อมรถถังหลักของค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่เมื่อก่อนนี้ .. ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ที่นี่เป็นแหล่งใหญ่ทีเดียว

นอกจากซ่อมแล้ว ยูเครนยังเป็นแหล่งผลิตรถถัง กับยานเกราะอีกหลายชนิด มาตั้งแต่ยุคสงครามโลก และไม่ได้ผลิตแต่ยานเกราะ หากยังผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และอะไหล่สำหรับยานเกราะ รวมทั้งเครื่องยนต์สำหรับเรือรบ และเรือเล็กทั่วไปอีกด้วย ปัจจุบันก็ยังมีสัญญาที่จะต้องผลิตอุปกรณ์ และส่งมอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้แก่ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ในรัสเซียหลายรายด้วยกัน ความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะราบรื่นระหว่างยูเครน กับรัสเซียในช่วง 2-3 ปีมานี้ ทำให้การผลิตเรือรบของฝ่ายหลังหยุดชะงักไปหลายโครงการ

สาธารณรัฐยูเครน ในยุคใหม่ค่อยๆ ฟื้นโรงงานเก่าๆ เปิดเครื่องเดินสายการผลิตอีกครั้งหนึ่งตามความต้องการของตลาดโลก โดยไม่ได้อยู่ภายใต้ใต้อาณัติของใครอีก และประเทศนี้ได้ก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมเสรีนิยมอย่างเต็มรูปแบบ

ปาชา อิตกิน (Pasha Itkin) นักท่องเที่ยวกับเพื่อนอีกคนหนึ่งได้เข้าไปยังโรงงานซ่อมเครื่องยนต์แห่งคาร์คอฟ เมื่อ 3 ปีก่อน และนำเอาภาพที่เขาถ่ายออกมาทั้งหมดลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ Livejournal.Com ให้โลกภายนอกได้ชื่นชม เขากับเพื่อนปีนขึ้นไปตรงโน้นทีตรงนั้นทีเพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง เก็บเอาทุกซอกทุกมุมออกมา และช่วยกันนับรถถังภายในโรงซ่อมแห่งนี้ได้กว่า 450 คัน มีทั้ง T-64 รุ่นต่างๆ แม้กระทั่ง T-72 กับ T-80 ที่ใหม่กว่า หลากหลายเวอร์ชัน

อิตกิน กล่าวว่า สภาพภายนอกของยานเกราะทั้งหมดยังดูดี ไม่ต้องสงสัยเลยว่ารถถังเหล่านี้ผลิตจากโรงงานมาลีเชฟในคาร์คอฟนั่นเอง ส่งป้อนกองทัพอันเกรียงไกรของสหภาพโซเวียตเมื่อก่อน โรงงานมาลีเชฟผลิตยานเกราะมาหลายยุค หลายรุ่น รวมทั้ง T-34 ที่มีชื่อเสียงมาในหลายสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามต่อต้านนาซี สงครามในคาบสมุทรเกาหลี มาจนถึงช่วงต้นๆ ของสงครามเวียดนามเลยทีเดียว

หากจะพูดอีกทางหนึ่งก็คือ รถถังที่ “จอดซ่อม” ที่โรงงานในภาพชุดนี้ผลิตจากโรงงานเดียวกัน เป็นญาติๆ ผู้พี่ของ T-84 “โอปล็อต” ที่ยูเครนพัฒนามาเป็นของตนเอง และเป็นรถถังหลักที่ใช้ในปัจจุบัน โดยมีกองทัพบกไทยเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรก

ในยุคสงครามเย็น คือ ช่วงปีอันยาวนานหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดการเชิญหน้ากันแบบตึงเครียดด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่สหภาพโซเวียต กับค่ายทุนนิยมเสรีนิยมตะวันตก ช่วงเวลานั้นได้ผ่านไป 24-25 ปีแล้ว นับตั้งแต่การล่มสายของอาณาจักรใหญ่ ครั้งที่กำแพงเบอร์ลินถูกทุบจนพังทลายลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เริ่มขึ้่นในปี พ.ศ.2533

นั่นคือยุคที่โซเวียตได้ระดมสรรพกำลังกับเงินทุนมากมายมหาศาลเพื่อสร้างกองทัพยานเกราะให้ยิ่งใหญ่ จนทำให้โลกตะวันตกหวั่นไหว เนื่องจากก่อนหน้านั้น รถถังของโซเวียตเคยบดขยี้ทุกแนวต้าน และรุกเข้าสู่ดินแดนของหลายประเทศ และทำให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “รัฐบริวารยุโรปตะวันออก”
.

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16
เหตุการณ์ที่รู้จักกันดีไปทั่วโลก คือ การบุกยึดกรุงปราก ประเทศเชโกสโลวะเกีย ที่ได้กลายเป็นโมเดลการปฏิวัติแบบโซเวียต ซึ่งทำให้โลกทุนนิยมเสรีนิยมหวั่นไหวกันมาตลอดยุค

ไม่มีตัวเลขแน่นอนว่า ระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสิ้นสุดยุคสงครามเย็น โซเวียตได้สร้างรถถังรุ่นต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนทั้งหมดเท่าไร แต่ตัวเลขประมาณการอย่างไม่เป็นทางการนั้นอยู่ระหว่าง 80,000-120,000 คัน ทั้งหมดกระจายอยู่ในอาณาจักรใหญ่ตั้งแต่รัฐบริวารในยุโรปตะวันออก ไปจนถึงเขตเทือกเขาอูราล และดินแดนไซบีเรียอันกว้างใหญ่ไพศาล อีกจำนวนมากส่งไปให้แก่มิตรประเทศในแอฟริกา ไกลออกไปจนถึงคิวบา กับละตินอเมริกาอีกหลายประเทศ ในย่านตะวันออกกลาง กับทวีปเอเชีย รวมทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ด้วย

หันมาดูตัวเลขที่เป็นปัจจุบัน ในวันนี้กองทัพบกรัสเซีย กับกองกำลัง “ราบนาวี” อันเป็นหน่วยรบที่คล้ายกับกองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐฯ มีรถถังประจำการนับจำนวนรวมกันประมาณ 13,000 คัน ในนั้นมี T-72 ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก T-62 เป็นกำลังหลัก และกำลังทยอยปลดประจำการ T-80 ออกไปให้หมดภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน ก็หยุดสายการผลิต T-90 หลังจากผลิตออกมาได้ยังไม่ถึง 1,000 คันดี ทั้งนี้ ก็เพื่อทุ่มเททรัพยากรกับทุนไปให้แก่การผลิต T-14 “อาร์มาตา” (Armata) รถถังยุคใหม่ ที่รัสเซีย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในพิธีสวนสนามใหญ่ครบรอบปีที่ 60 สงครามต่อต้านนาซี ต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

แน่นอน.. โรงงานซ่อมเครื่องยนต์แห่งคาร์คอฟในภาพชุดนี้ไม่ได้เป็น “สุสานรถถัง” เพียงแห่งเดียวของอดีตสหภาพโซเวียต หากยังมีโรงงานอีกหลายแห่งที่ตกอยู่ในสภาพคล้ายกันนี้ ในแคว้นไซบีเรีย และทั่วทั้งภาคตะวันออกไกลรัสเซียปัจจุบัน แม้กระทั่งภายในฐานทัพร้างอีกหลายแห่งที่กระจายกันอยู่ในสาธารณรัฐอื่นๆ รวมทั้งในยูเครนด้วย

สื่อของยูเครนรายงานเมื่อปีที่แล้วว่า รัฐบาลมีแผนการจะปัดฝุ่นรถถังในสุสานราว 300 คัน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ระบบอาวุธและระบบควบคุมใหม่ เปลี่ยนเกราะให้เป็นระบบรีแอ็กทีฟรุ่นใหม่ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ทั้งหมด แต่อีกไม่กี่เดือนต่อมาก็มีผลการศึกษาออกมาว่า การฟื้นชีพ T-80 กับ T-72 นั้น เป็นโปรเจกต์ที่ไม่คุ้มค่าคุ้มราคา รัฐบาลจึงตัดสินใจให้โรงงานมาลีเชฟ เพิ่มอัตราการผลิต T-84 “โอปล็อต” สำหรับกองทัพบก คู่ไปกับผลิตเพื่อส่งให้แก่ไทยด้วย

โอปล็อต-M ของยูเครน ก็ไม่ได้ต่างไปจาก T-90 ของรัสเซียในวันนี้ ซึ่งต่างก็มีที่มาที่ไปจากแหล่งเดียวกัน นั่นก็คือ พัฒนาไปจากพื้นฐานของบรรดาญาติผู้ใหญ่ที่จอดรอซ่อมชั่วนิรันดรภายในสุสานรถถังแห่งเมืองคาร์คอฟ.
.


17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28
กำลังโหลดความคิดเห็น