xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพุทธหัวรุนแรงในพม่าวางแผนจัดชุมนุมประท้วงต่อต้านการช่วยเหลือผู้อพยพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวยะไข่ยืนมองผู้อพยพจากนอกประตูรั้ว ขณะที่บรรดาผู้อพยพซึ่งทางการพม่าพบบนเรือกลางทะเล กำลังเตรียมตัวขึ้นรถบรรทุกเพื่อย้ายไปยังค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว ใกล้กับพรมแดนบังกลาเทศ ชานเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - ชาวพุทธหัวรุนแรงในรัฐยะไข่ของพม่า กำลังวางแผนที่จะจัดชุมนุมประท้วงต่อต้านความเคลื่อนไหวที่ช่วยเหลือผู้อพยพสิ้นหวังที่พบลอยเรือยู่ในอ่าวเบงกอล ตามการเปิดเผยของผู้จัดการชุมนุมวันนี้ (7)

รัฐยะไข่ หนึ่งในรัฐที่ยากจนที่สุดของพม่า ตกอยู่ในความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เป็นชนกลุ่มน้อย ที่หลายคนใช้ชีวิตในค่ายผู้พลัดถิ่นหลังเหตุไม่สงบปะทุขึ้นเมื่อปี 2555

ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคนได้หลบหนีออกจากพม่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ พร้อมกับผู้อพยพชาวบังกลาเทศที่หนีความยากจน ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การหลั่งไหลของผู้คนเป็นจำนวนมากถูกเพิกเฉยเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งการปราบปรามการค้ามนุษย์ในไทยเมื่อเดือนก่อนที่ก่อให้เกิดความโกลาหล เมื่อหัวหน้าขบวนการค้ามนุษย์ทิ้งคนไว้ทั้งบนบก และในทะเล

ผู้อพยพชาวโรฮิงญา และบังกลาเทศราว 4,500 คน ได้ขึ้นฝั่งประเทศในภูมิภาค ขณะที่สหประชาชาติประเมินว่า ยังมีอีกประมาณ 2,000 คน ที่ยังติดอยู่กลางทะเล

หลังปิดหูปิดตามานานหลายปีต่อเหตุการณ์การอพยพของผู้คน กองทัพเรือพม่าพบเรือ 2 ลำ พร้อมผู้อพยพมากกว่า 900 คน ที่ถูกนำตัวมายังรัฐยะไข่ โดยพม่ายืนยันว่า ส่วนใหญ่ของผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ และได้ให้คำมั่นที่จะส่งคนเหล่านี้ไปยังพรมแดนบังกลาเทศ แต่พม่ายังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อผู้อพยพที่ไม่ได้มาจากบังกลาเทศ

ปฏิบัติการช่วยเหลือทั้ง 2 ครั้ง สร้างความไม่พอใจให้แก่หมู่ชาวพุทธหัวรุนแรง และชาวพม่าในรัฐยะไข่ ที่ต้องการให้รัฐบาลกลางยุติการช่วยเหลือผู้อพยพ

กลุ่มคนในท้องถิ่นหลายกลุ่มได้พบหารือกันในเมืองสิตตเว เมื่อวันเสาร์ (6) และให้คำมั่นที่จะจัดการชุมนุมประท้วงในสุดสัปดาห์หน้า

“ที่ประชุมได้ตัดสินใจว่าจะจัดการชุมนุมประท้วงในวันที่ 14 มิ.ย. ต่อต้านเบงกาลีที่ยังอยู่ในรัฐยะไข่ เราจะติดต่อกับเมืองอื่นๆ ในรัฐยะไข่ และรวมตัวประท้วงกันในวันนั้น” โซ นาย ผู้ประสานงานเพื่อโครงการทางสังคมในรัฐยะไข่ ที่เข้าร่วมการประชุม กล่าว

รัฐบาลพม่า ไม่ได้ยอมรับชาวโรฮิงญา 1.3 ล้านคนที่อาศัยในรัฐยะไข่ว่าเป็นพลเมืองของประเทศ โดยระบุว่า คนเหล่านี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ แม้หลายคนจะสามารถตามรอยจุดกำเนิดย้อนกลับไปได้หลายรุ่นก็ตาม

โรฮิงญา เผชิญต่อการกดขี่ข่มเหง และข้อจำกัดมากมายทั้งการเคลื่อนย้าย ขนาดครอบครัว และการทำงาน

ชาวพุทธหลายคนในยะไข่ต้องการที่จะให้โรฮิงญาทั้งหมดออกไปจากพื้นที่ และคัดค้านรัฐบาลกลางที่ให้ความช่วยเหลือคนเรือเหล่านี้

“เราจะขอให้ส่งพวกเขากลับไป รัฐบาลบังกลาเทศต้องรับคนเหล่านี้ และรัฐบาลของเราต้องกดดันบังกลาเทศด้วย” โซ นาย กล่าว

ผู้อพยพ 150 คน จากทั้งหมด 900 คน คาดว่าจะถูกส่งตัวกลับไปบังกลาเทศในวันจันทร์นี้ (8) หลังทางการของทั้งสองประเทศตกลงกันได้ถึงแหล่งที่มาของผู้อพยพ แต่ผู้อพยพคนอื่นๆ ยังคงติดค้างอยู่ในค่ายพักบริเวณชายแดน เมื่อทางการยังไม่สามารถสรุปได้ว่าคนเหล่านี้มาจากประเทศใด

ทั้งสองประเทศต่างก็ไม่เต็มใจที่จะรับผู้อพยพเหล่านี้ ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนวิตกว่า ผู้อพยพบางคนอาจถูกผลักไปอยู่ผิดฝั่งประเทศ.




กำลังโหลดความคิดเห็น