xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ร้องพม่าเร่งช่วยผู้อพยพกว่า 700 คนขึ้นฝั่ง หลังทัพเรือยังควบคุมอยู่ในทะเล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> เรือของกองทัพเรือพม่าลอยลำอยู่ใกล้เกาะไฮ่จ์จี้ เขตอิรวดี เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ผู้อพยพกว่า 700 คน ที่ถูกพบเบียดเสียดอยู่บนเรือประมงนอกชายฝั่งพม่ายังคงถูกทหารเรือควบคุมตัวไว้ไม่ให้ขึ้นฝั่งและไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง โดยระบุว่าทั้งหมดเป็นชาวเบงกาลีและกำลังเร่งตรวจสอบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ต้องการเดินทางไปที่ใด ฝ่ายสหรัฐฯ ร้องให้ทางการพม่าเร่งนำผู้อพยพขึ้นฝั่งและให้ความช่วยเหลือ หลังถูกควบคุมตัวมานานกว่า 3 วัน.--Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - ผู้อพยพมากกว่า 700 คน ที่พบเบียดเสียดกันอยู่บนเรือในทะเลอันดามันยังคงถูกกองทัพเรือพม่าควบคุมอยู่นอกชายฝั่งประเทศในวานนี้ (1) ซึ่งเป็นเวลามากกว่า 3 วัน หลังเรือประมงถูกเข้าสกัดที่บริเวณนอกชายฝั่งพม่า

“รัฐบาลกำลังตรวจสอบประวัติบุคคล และสอบถามว่าพวกเขาต้องการจะทำอะไร และต้องการจะไปที่ไหน” เย ตุ๊ต โฆษกรัฐบาลกล่าวต่อผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ โดยไม่ได้ให้รายอะเอียดเพิ่มเติมถึงสถานที่ตั้งของเรือ

“โดยปกติแล้วส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้ต้องการที่จะเดินทางกลับไปบังกลาเทศ ซึ่งเราจะจัดให้ตามความต้องการของพวกเขา”

เจ้าหน้าที่รัฐบาลปิดปากเงียบเกี่ยวกับรูปพรรณของผู้อพยพทั้ง 727 คน ที่อัดแน่นอยู่บนเรือประมงที่พบลอยลำอยู่เมื่อวันศุกร์ (29) หรือปลายทางที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้

รัฐบาลพม่า ได้ระบุแต่แรกว่า ผู้อพยพที่พบเป็นเบงกาลี คำที่ใช้อ้างถึงทั้งชาวบังกลาเทศ และมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวในภายหลังว่า พวกเขาเชื่อว่าคนส่วนใหญ่บนเรือมาจากบังกลาเทศ

พม่า ตกอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา ที่มากกว่า 100,000 คน ได้หลบหนีการกดขี่ และความยากจนในรัฐยะไข่ นับตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งพม่าปฏิเสธว่าเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา

โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ ได้ร้องให้พม่าอนุญาตให้ผู้อพยพขึ้นฝั่งโดยทันที และให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้อพยพ

“ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ของผู้อพยพเหล่านี้เป็นความสำคัญสูงสุดของประชาคมโลก รวมทั้งสหรัฐฯ ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือที่จำเป็น” มาเรีย ฮาร์ฟ กล่าวในการแถลงข่าว

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (1) ว่า พม่าจำเป็นที่จะต้องยุติการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา หากต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย

“หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดคือ ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้คนเพียงเพราะสิ่งที่พวกเขาเป็น หรือสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือศรัทธา และชาวโรฮิงญาถูกเลือกปฏิบัติ และนั่นคือส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องหลบหนี” ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าว

ผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ และสื่อต่างชาติอื่นๆ ถูกควบคุมตัวเป็นเวลาสั้นๆ และกลับเข้าแผ่นดินใหญ่หลังพยายามเข้าถึงเรือประมงของผู้อพยพในวันอาทิตย์ (31) ซึ่งรายล้อมไปด้วยเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือพม่า เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสั่งให้ผู้สื่อข่าวลบภาพถ่ายเรือ และถึงขั้นที่กะลาสีนายหนึ่งชี้ปืนไรเฟิลมาที่ผู้สื่อข่าว

อย่างไรก็ตาม มีเจ้าหน้าที่กองทัพเรือนายหนึ่งซึ่งปฏิเสธที่จะให้ชื่อกล่าวต่อรอยเตอร์ในวันอาทิตย์ว่า ผู้อพยพบางคนบนเรือพูดยะไข่ได้

รัฐบาลพม่าระบุว่า โรฮิงญาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ และปฏิเสธในที่ประชุม 17 ชาติ ที่หารือเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพว่า เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤต ที่ทำให้ได้เห็นชาวโรฮิงญาและชาวบังกลาเทศมากกว่า 4,000 คน อพยพข้ามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

“เพียงไม่กี่วันหลังการประชุมที่กรุงเทพฯ เกี่ยวกับมนุษย์เรือ ทางการพม่าได้ละเมิดสิ่งที่ได้ตกลงไว้ที่นั่น” ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอช ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าว

พม่าควรอนุญาตให้หน่วยงานระหว่างประเทศเข้าถึงผู้อพยพโดยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ไม่มีใครในประชาคมโลกเชื่อการประเมินที่เร่งรีบของพม่าที่ระบุว่า คนเหล่านี้ทั้งหมดมาจากบังกลาเทศ โรเบิร์ตสัน กล่าว

ด้านโฆษกหญิงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในนครย่างกุ้ง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้หน่วยงานถูกเชิญให้เข้าช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่จุดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของพม่า แต่เวลาต่อมา ถูกบอกว่าสถานที่ขึ้่นฝั่งมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทาง UNHCR ยังคงรอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ที่ผู้อพยพจะขึ้นฝั่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น