xs
xsm
sm
md
lg

พม่าบรรลุข้อตกลงส่งผู้อพยพ 200 คนกลับบังกลาเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพที่ได้รับจากกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่าเผยให้เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจพม่ายื่นขวดน้ำให้กับผู้อพยพบนเรือประมงลำหนึ่งนอกชายฝั่งรัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ทางการพม่าบรรลุข้อตกลงกับบังกลาเทศที่จะส่งตัวผู้อพยพที่ทางการพม่าช่วยไว้นอกชายฝั่งกลับบังกลาเทศทั้งหมด 200 คน จากที่พบบนเรือทั้งหมด 208 คน.--Agence France-Presse/Myanmar Information Ministry.</font></b>

รอยเตอร์ - พม่าเผยวันนี้ (26) ว่า ได้บรรลุข้อตกลงกับบังกลาเทศที่จะส่งตัวชาวบังกลาเทศที่ทางการพม่าได้ช่วยขึ้นจากเรือที่พบนอกชายฝั่งของพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนกลับประเทศ 200 คน

วิกฤตผู้อพยพได้ปะทุขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อชาวมุสลิมโรฮิงญาหลบหนีการกดขี่ในพม่า และชาวบังกลาเทศที่พยายามที่จะหนีความยากจนซึ่งกลายเป็นเหยื่อให้แก่เหล่าขบวนการค้ามนุษย์

หลังไทยดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ บรรดานายหน้าได้ทิ้งเหยื่อที่อัดแน่นอยู่บนเรือกลางทะเลมากกว่าที่จะพยายามลักลอบผ่านไทย ซึ่งหน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติคาดการณ์ว่ายังมีผู้ที่ติดอยู่กลางทะเลราว 3,500 คน

หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานว่าข้อตกลงระหว่างพม่า และบังกลาเทศมีขึ้นวานนี้ (25) หลังการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของบังกลาเทศ ทูตพม่า ประจำบังกลาเทศ และเจ้าหน้าที่บังกลาเทศในพม่า

พม่าระบุว่า มีชาวบังกลาเทศ 200 คน จากทั้งหมด 208 คน ที่กองทัพเรือพม่าได้ช่วยชีวิตไว้เมื่อวันศุกร์ (22) จากบริเวณนอกชายฝั่งรัฐยะไข่ ส่วนอีก 8 คน ที่เหลือเป็นชาวเบงกาลี จากรัฐยะไข่

รัฐบาลพม่านั้นไม่ยอมรับการใช้คำเรียกว่าโรฮิงญา แต่แทนด้วยคำว่าเบงกาลี ซึ่งระบุถึงกลุ่มผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ภาคใต้ของไทย และภาคเหนือของมาเลเซียนั้นถือเป็นเส้นทางหลักของผู้ลักลอบค้ามนุษย์ที่นำคนจากพม่า และบังกลาเทศมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเรือ หลายคนระบุว่า พวกเขาหลบหนีการกดขี่ และมองหาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในต่างแดน

รายงานระบุว่า บรรดาผู้โดยสารบนเรือมาจากเมืองค็อกซ์บาซาร์ เมืองจิตตะกอง และกรุงธากา ของบังกลาเทศ และยังมีบทสัมภาษณ์ชาย 4 คน ที่เผยว่า ถูกหลอก หรือถูกบังคับให้ขึ้นเรือ

“ผมมาเที่ยวชายหาดที่ค็อกซ์บาซาร์ มีชาย 2 คนบังคับให้ผมขึ้นเรือ และมีผู้ชายบนเรือบอกผมว่า เขาซื้อตัวผมมา ซึ่งพวกเขาเดินทางมุ่งหน้าไปประเทศไทย ต่อมา พวกเราถูกเรียค่าไถ่ 50,000 ตากา (ประมาณ 643 ดอลลาร์) เพื่อกลับบังกลาเทศ เพราะบนชายฝั่งของไทยมีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา” หนังสือพิมพ์พม่ารายงานอ้างคำกล่าวของชายคนหนึ่ง

พม่า กล่าวโทษวิกฤตมนุษย์เรือที่เกิดขึ้นนี้ต่อเครือข่ายการลักลอบค้ามนุษย์ และปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่า นโยบายของพม่าต่อชาวโรฮิงญาเป็นสิ่งที่ผลักดันให้คนกลุ่มนี้อพยพหลบหนี

ด้านสหรัฐฯ และสหประชาชาติได้เรียกร้องให้พม่าจัดการต่อปัญหาการเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยระบุว่า นโยบายของพม่าต่อคนกลุ่มนี้เป็นต้นตอการอพยพยย้ายถิ่นของคนหมู่มากที่อยู่เบื้องหลังวิกฤต.
กำลังโหลดความคิดเห็น