รัฐบาลพม่า ยังคงย้ำการปฏิเสธที่จะยอมรับโรฮีนจาว่าเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อยของประเทศ และยืนยันว่า คนเหล่านี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ
“หากพวกเขากำลังจะหารือเกี่ยวกับโรฮีนจา อย่างที่เราเคยบอกก่อนหน้า เราไม่ยอมรับคำจำกัดความนั้นที่นี่” ซอ เต ผู้อำนวยการสำนักงานประธานาธิบดีพม่า กล่าว แต่ยืนยันว่า พม่าจะเข้าร่วมการประชุมภูมิภาคเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 29 พ.ค. ด้วย นอกจากนั้นรัฐบาลพม่ายังดูมีการอ่อนท่าทีลง ด้วยการเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในอีกด้านหนึ่ง เอเอฟพีรายงานจากเมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภายุโรปว่า สมาชิกของสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป (อียู) แห่งนี้ ได้ออกเสียงผ่านญัตติซึ่งระบุว่า ชาวโรฮีนจารวมถึงผู้อพยพอื่นๆ จำนวนหลายพันคน ถูกลักลอบนำเข้าผ่านประเทศไทยตลอดจนจากประเทศอื่นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยฝีมือของพวกค้ามนุษย์ โดยที่ในบางกรณีมีเจ้าหน้าที่ทุจริตของไทยร่วมด้วย ดังนั้นทางการไทยจะต้องจัดการยุติผู้ที่มีการสมรู้ร่วมคิดใดๆ ก็ตาม กับพวกแก๊งอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์
ญัตติของรัฐสภาอียู ระบุอีกว่า มีผู้อพยพจำนวนมากถูกควบคุมตัวให้อยู่ในสภาพทารุณผิดมนุษย์ที่แคมป์ในป่าทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งที่นั่นพวกเขาถูกทรมาน ถูกซ้อมและปล่อยให้อดตายด้วยน้ำมือของผู้คุม เพื่อเรียกค่าไถ่จากญาติและคนในครอบครัว หรือขายไปเป็นทาสมนุษย์
นอกจากนั้นญัตตินี้ ยังได้ระบุถึงพม่าด้วยว่า จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและยุติการแบ่งแยกกีดกันและฆ่าฟันชาวโรฮีนจา รวมถึงยอมให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้
“หากพวกเขากำลังจะหารือเกี่ยวกับโรฮีนจา อย่างที่เราเคยบอกก่อนหน้า เราไม่ยอมรับคำจำกัดความนั้นที่นี่” ซอ เต ผู้อำนวยการสำนักงานประธานาธิบดีพม่า กล่าว แต่ยืนยันว่า พม่าจะเข้าร่วมการประชุมภูมิภาคเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 29 พ.ค. ด้วย นอกจากนั้นรัฐบาลพม่ายังดูมีการอ่อนท่าทีลง ด้วยการเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในอีกด้านหนึ่ง เอเอฟพีรายงานจากเมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภายุโรปว่า สมาชิกของสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป (อียู) แห่งนี้ ได้ออกเสียงผ่านญัตติซึ่งระบุว่า ชาวโรฮีนจารวมถึงผู้อพยพอื่นๆ จำนวนหลายพันคน ถูกลักลอบนำเข้าผ่านประเทศไทยตลอดจนจากประเทศอื่นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยฝีมือของพวกค้ามนุษย์ โดยที่ในบางกรณีมีเจ้าหน้าที่ทุจริตของไทยร่วมด้วย ดังนั้นทางการไทยจะต้องจัดการยุติผู้ที่มีการสมรู้ร่วมคิดใดๆ ก็ตาม กับพวกแก๊งอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์
ญัตติของรัฐสภาอียู ระบุอีกว่า มีผู้อพยพจำนวนมากถูกควบคุมตัวให้อยู่ในสภาพทารุณผิดมนุษย์ที่แคมป์ในป่าทางตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งที่นั่นพวกเขาถูกทรมาน ถูกซ้อมและปล่อยให้อดตายด้วยน้ำมือของผู้คุม เพื่อเรียกค่าไถ่จากญาติและคนในครอบครัว หรือขายไปเป็นทาสมนุษย์
นอกจากนั้นญัตตินี้ ยังได้ระบุถึงพม่าด้วยว่า จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและยุติการแบ่งแยกกีดกันและฆ่าฟันชาวโรฮีนจา รวมถึงยอมให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้