xs
xsm
sm
md
lg

พม่าชี้ประเทศหุ้นส่วนของภูมิภาคควรร่วมแก้ไขปัญหาผู้อพยพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เย ตุ๊ต รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่าให้สัมภาษณ์สื่อหลังการบรรยายสรุปของเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าต่อนักการทูต ที่ศูนย์สันติภาพพม่า (MPC) ในนครย่างกุ้ง วันที่ 18 พ.ค. หลังนานาประเทศกดดันพม่าเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพทางเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.--Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - พม่ายอมรับวันนี้ (18) ว่า ประชาคมโลกมีความวิตกต่อสถานการณ์คลื่นมนุษย์เรือหลบหนีขึ้นฝั่งประเทศต่างๆ แต่ยืนยันว่า พม่าไม่ควรต้องถูกตำหนิเพียงผู้เดียวสำหรับวิกฤตผู้อพยพนี้

เย ตุ๊ต รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่า กล่าวว่า ประเทศของเขาเข้าใจถึงความวิตกกังวลของประชาคมโลกเกี่ยวกับผู้คนในทะเล

“แทนที่จะกล่าวโทษพม่าสำหรับปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ ประเด็นทั้งหมดนี้ควรได้รับการแก้ไขโดยประเทศหุ้นส่วนของภูมิภาค” เย ตุ๊ต กล่าว หลังการบรรยายสรุประหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาล และนักการทูตในนครย่างกุ้ง

ชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายหมื่นคน ที่เผชิญต่อข้อจำกัด และความอคติในดินแดนพม่าเดินทางหลบหนีข้ามอ่าวเบงกอลด้วยเรือที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ยังมีผู้อพยพจากบังกลาเทศ ที่ต้องการหลบหนีความยากจนร่วมเดินทางอพยพมากับชาวโรฮิงญาเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย

พม่าเผชิญต่อแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนานาประเทศในเดือนนี้ หลังผู้อพยพหลายพันคนถูกขบวนการค้ามนุษย์ทอดทิ้งอยู่ในเรือแออัด หลังการปราบปรามการค้ามนุษย์ในไทยที่เป็นจุดขนย้ายสำคัญ

ชาวโรฮิงญา และบังกลาเทศหลายพันคนที่ส่วนใหญ่ซูบผอม และเหนื่อยล้า บางส่วนได้ขึ้นฝั่งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขณะที่อีกส่วนหนึ่งถูกผลักดันกลับออกสู่ทะเล ทำให้หลายประเทศไม่พอใจ

พม่าคัดค้านกระแสวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว และยังไม่ตอบรับว่าจะเข้าร่วมการประชุมภูมิภาคเกี่ยวกับวิกฤตผู้อพยพที่ไทยเป็นเจ้าภาพหรือไม่

ทางการในพม่าปฏิเสธว่าโรฮิงญา 1.3 ล้านคนที่อยู่ในประเทศเป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อยบนแผ่นดินพม่า และยังคงระบุว่า คนเหล่านี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น