xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเครื่องติดสั่งรัฐบาลยะไข่สร้างงานให้โรฮิงญาสกัดค้ามนุษย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ครอบครัวชาวมุสลิมโรฮิงยา ภายใน ค่ายผู้ลี้ภัย ที่ตั้งอยู่นอกเมืองสิตตเว (Sittwe) ในภาพวันที่ 29 มี.ค.2557 ที่นี่แยกกันอยู่คนละที่กับชาวระไค (Rakhine/ยะไข่) ที่เป็นชาวพุทธ และ เป็นประชาชนส่วนใหญ่ รองประธานาธิบดี นพ.สายหมอกคำ (Sai Mauk Kham) ที่ไปเยือนรัฐทางตะวันตกของประเทศแห่งนี้ ได้สั่งให้ทางการท้องถิ่นหางานทำให้แก่ชาวโรฮิงยา รวมทั้งสกัดกั้นการค้ามนุษย์ภายในรัฐอีกด้วย. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลกลางของพม่าได้สั่งให้รัฐบาลแห่งรัฐระไค (Rakhine/ยะไข่) กระทำอย่างเต็มกำลังเพื่อหยุดยั้งกระบวนการค้ามนุษย์ และอาชกรรมข้ามชาติทุกชนิด ในรัฐทางภาคตะวันตกของประเทศ ในขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเริ่มกระเตื้อง นพ.สายหมอกคำ (Sai Mauk Kham) ไปเยือนรัฐนี้ในวันพุธ 20 พ.ค. และได้ประชุมหารือกับมุขมนตรี (Chief Minister) แห่งรัฐ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงทุกฝ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้

รองประธานาธิบดีคนที่ 1 ของพม่า ยังได้ร่วมหารือกับนายหม่องหม่องออน (Maung Maung Ohn) เกี่ยวกับการหางานทำ และก่อสร้างที่พักอาศัยแก่ประชาชนในค่ายบรรเทาภัย ซึ่งหมายถึงแหล่งพักพิงชั่วคราวของชาวโรฮิงญาพลัดถิ่นในระไค หลังการปะทะหลายครั้งกับชาวพุทธในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การประชุมหารือมีขึ้นที่เมืองสิตตเว (Sittway) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์การบริหารกลางของรัฐ

“ระหว่างการประชุม ผู้บัญชาการกองเรือเขตธันยวดี (Danyawady/หรือภาคตะวันตก) ได้ปรึกษาเกี่ยวกับความพยายามหยุดยั้งการค้ามนุษย์ในน่านน้ำ ตลอดชายฝั่งรัฐระไคด้วย” ขณะที่ผู้บังคับการตำรวจแห่งรัฐ ได้รายงานเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันอาชญาหกรรมข้ามชาติ และการลักลอบค้ายาเสพติดตามแนวชายแดน โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นเสียงของรัฐบาล รายงานในฉบับที่วางจำหน่ายวันพฤหัสบดี 21 พ.ค.นี้

ความเคลื่อนไหวของผู้นำระดับสูงของพม่าในระไค มีขึ้นในวันเดียวกับที่กระทรวงการต่างประเทศในกรุงเนปีดอ ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งแสดงท่าทีล่าสุดเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญากับชาวบังกลาเทศ ซึ่งไปทางเรือผ่านน่านน้ำของพม่า โดยพม่าระบุว่า พร้อมจะร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา และยังเป็นวันเดียวกันกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย กับอินโดนีเซีย ออกแถลงในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จะให้ผู้อพยพผิดกฎหมายเกือบ 3,000 คน พักอาศัยอยู่ในดินแดนของตนเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี เพื่อเดือนทางไปยังประเทศที่สาม หรือส่งกลับถิ่นฐานเดิม

ก่อนหน้านี้ พม่าได้ยืนยันตลอดมาว่า ปัญหาผู้อพยพไม่ใช่ปัญหาของพม่า ทั้งยังกล่าวโทษว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความอ่อนด้อยในการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

รอง ปธน. นพ.สายหมอกคำ ได้ชื่นชมการพัฒนาที่ดีขึ้นของสถานการณ์ในระไค ความสงบกับเสถียรภาพกลับคืนมาสู่รัฐ และมีการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังชี้ให้เห็นความจำเป็นในความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งรัฐระไค กับองค์กรภาคเอกชนระหว่างประเทศที่ไม่สังกัดรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในภูมิภาคนี้่ต่อไป หนังสือพิมพ์กึ่งทางการ กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น