xs
xsm
sm
md
lg

จีนเสนอเงินกู้ $20,000 ล้าน พร้อมสัญญามิตรภาพกับอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีจีนหลี่เค่อเฉียงโบกมือเมื่อไปถึงศูนย์ประชุมนานาชาติกรุงเนปีดอ วันพฤหัสบเดี 13 พ.ย.นี้ เพื่อร่วมประชุมเอเชียตะวันออกครั้งที่ 9 นรม.จีนพยายามอย่างยิ่งที่จะดึงอาเซียนให้อยู่ข้างฝ่ายเดียวกัน ในความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ที่จีนประกาศเป็นเจ้าของพื้นที่กว่า 90% จีนเสนอให้ทั้งเงินกู้และสัญญามิตรภาพกับอาเซียน แต่ถึงกระนั้นก็ยังดูจะเป็นการยากอยู่ดี เพราะน่านน้ำแห่งนี้มีหุ้นส่วนอยู่มากหมายหลายฝ่ายทั้งใกล้และไกล. -- Associated Press/Khin Maung Win.  </b>

เนปีดอ 13 พ.ย.2557 (รอยเตอร์) -- นายกรัฐมนตรีจีนหลี่เค่อเฉียง ได้เสนอวันพฤหัสบดีนี้ การทำสนธิสัญญามิตรภาพกับอาเซียน พร้อมกับหยิบยื่นเงินกู้ให้ 20,000 ล้านดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยืนหลักการที่ว่าปักกิ่ง จะแก้ไขข้อขัดแย้งในทะเลจีนใต้กับคู่กรณีโดยตรงเท่านั้น

จีน ไต้หวัน และ 4 ชาติจากอาเซียน ยังคงแข่งขันอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลที่สร้างความวิตกว่าความขัดแย้งจะยกระดับสูงขึ้น แม้ว่าบรรดาประเทศที่อ้างสิทธิจะทำงานเพื่อหาข้อตกลงที่จะแก้ไขก็ตาม

“จีน...พร้อมที่จะกลายเป็นหุ้นส่วนการเจรจาครั้งแรก ที่จะลงนามสนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือกับอาเซียน” ผู้นำจีน กล่าวในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่จัดขึ้นในพม่า สนธิสัญญาดังกล่าวถูกมองว่าเป็นความพยายามของปักกิ่งที่จะขจัดความคิดว่าจีนเป็นภัยคุกคาม นายหลี่ เค่อเฉียง ระบุว่า จีนประสงค์ที่จะลงนามเอกสารทางกฎหมายกับชาติต่างๆ ในภูมิภาคด้วยความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นมิตร

นายหลี่ ยังเสนอให้เงินกู้ผ่อนปรน และเงินกู้พิเศษให้แก่กลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่น่าดึงดูดใจสำหรับอาเซียน เพื่อใช้ในการสร้างถนน ท่าเรือ และทางรถไฟ ที่จำเป็นสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ผู้นำจีนยังคงย้ำการแก้ปัญหาของปักกิ่ง ในการปกป้องสิทธิอธิปไตย และจุดยืนของประเทศว่า ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับทะเลจีนใต้นั้นควรจัดการโดยตรงมากกว่าการรวมกลุ่มหรือผ่านอนุญาโตตุลาการ

ฟิลิปปินส์ หนึ่งในชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อ้างกรรมสิทธิ์ สร้างความไม่พอใจให้แก่จีน โดยก่อนหน้านี้ ได้ยื่นฟ้องจีนต่อศาลสหประชาชาติในการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือน่านน้ำของทะเลจีนใต้ถึง 90% แหล่งข่าวทางการทูตจากฟิลิปปินส์ตอบสนองอย่างเรียบเฉยต่อข้อเสนอสนธิสัญญาของจีน โดยกล่าวว่า ข้อเสนอขาดสาระสำคัญ และคล้ายกับข้อเสนอของฟิลิปปินส์ในปี 2555 ที่ถูกจีนปฏิเสธ

นายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง พบหารือกับผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนในค่ำวันพฤหัสบดีนี้ โดยผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนต่างหวังที่จะโน้มน้าวเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่รายนี้ให้ลดความแข็งกร้าวในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ แต่ถึงแม้ว่าจะมีการเจรจาหลังฉากกันก็ตาม อาเซียนในนามทั้งกลุ่มก็ยังคงลังเลที่จะเป็นปรปักษ์กับจีน

“เรายังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้” กลุ่มอาเซียนระบุในคำแถลงในนามประธานของกลุ่ม โดยไม่ได้ระบุชื่อจีน ในขณะที่ฟิลิปปินส์ กับเวียดนามต่างก็แสวงหาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น เพื่อยันกับสิ่งที่สองประเทศนี้กล่าวว่าเป็นการคุกคามจากจีน ในเดือน พ.ค.จีนได้ส่งแท่นขุดเจาะน้ำมันลอยน้ำ เข้าไปยังน่านน้ำที่เวียดนามกล่าวอ้างเป็นเจ้าของ ซึ่งทำให้เกิดการจลาจลต่อต้านจีนอย่างรุนแรงขึ้นในเวียดนาม จนถึงขั้นมีการเสียชีวิต

ประธนนาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในกรุงเนปีดอ เพื่อร่วมประชุมสุดยอดกับผู้นำอาเซียน ได้เปิดการพบเจรจาอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง วันพฤหัสบดีนี้

“เรามีความเชื่อร่วมกันอย่างยิ่งว่าจำเป็นที่ทุกชาติในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็ก หรือประเทศใหญ่ จักต้องปฏิบัติตามแนวโน้มแห่งกฎระเบียบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ” นายโอบามากล่าว

เมื่อวันที่ 2 ต.ค. สหรัฐฯ ตัดสินใจเริ่มผ่อนคลายข้อห้ามจำหน่ายอาวุธร้ายแรงให้แก่เวียดนาม ที่บังคับใช้มาเป็นเวลาเกือบ 4 ทศวรรษ.
<bR><FONT color=#00003>นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (ขวาสุด) สัมผัสมือกับ นรม.รัสเซีย ดมิตรี เวดเมเดฟ ขณะถ่ายรูปหมู่คณะกับบรรดาผู้นำอาเซียน ซึ่งรวมทั้ง ปธน.บารัค โอบามา แห่งสหรัฐ นรม.จีน หลี่เค่อเฉียง กับ ปธน.เกาหลี นางปักกึนเฮ ระหว่างการประชุมเอเชียตะวันออกครั้งที่ 9 ขาดไปอีก 1 หุ้นส่วนในภาพนี้คือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นชินโซ อาเบะ การทูตยังเดินได้และทุกฝ่ายต่างไม่ประสงค์จะเห็นการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ. -- Associated Press/Khin Maung Win.  </b>
<bR><FONT color=#000033>วันพฤหัสบดี 13 พ.ย. เช่นกัน ปธน.สหรัฐบารัค โอบามา ตั้งวงพบเจรจาอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับ นรม.เวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง หลังจากวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา สหรัฐได้เริ่มผ่อนคลายมัตรการขายอาวุธให้แก่เวียดนามเป็นครั้งแรก หลังใช้บังคับมานานเกือบ 40 ปี ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าความเคลื่อนไหวนี้จีนกำลังจับตาอย่างใกล้ชิด. -- Reuters/Kevin Lamarque. </b
กำลังโหลดความคิดเห็น