xs
xsm
sm
md
lg

เวทีอาเซียนเปิดฉากวันนี้ คาดปัญหาทะเลจีนใต้ และการปฏิรูปพม่าจะเป็นหัวข้อหลัก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าขี่รถจักรยานยนต์ผ่านซุ้มประตูต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ผู้นำประเทศจากชาติสมาชิกอาเซียน เอเชียตะวันออก และประเทศอื่นๆ จะรวมตัวกันเพื่อร่วมการประชุมที่จัดขึ้นในพม่าในสัปดาห์นี้.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - พม่าเปิดบ้านต้อนรับการรวมตัวของผู้นำโลกครั้งใหญ่ที่สุดในวันนี้ (12) นับตั้งแต่ประเทศเริ่มปฏิรูปที่ทำให้หลุดพ้นจากสถานะโดดเดี่ยว แม้จะยังมีความวิตกกังวลอยู่มากเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเทศจากการปกครองของรัฐบาลทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง ของจีน มีกำหนดพบหารือกันที่กรุงเนปีดอ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

การหารือเป็นเวลา 2 วัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในครั้งนี้ คาดว่าข้อขัดแย้งทางทะเลในทะเลจีนใต้จะถูกยกขึ้นเป็นประเด็นหนึ่ง ด้วยชาติสมาชิกอาเซียน คือ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กำลังมองหาการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำดังกล่าวกับจีน

แต่ปักกิ่งไม่เต็มใจที่จะลงนามในระเบียบปฏิบัติพหุภาคีครอบคลุมน่านน้ำขัดแย้ง และอุดมด้วยทรัพยากรที่มีผลผูกพันนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การหารือน่าจะไม่คืบหน้าในการแก้ไขการเผชิญหน้า

“อาจมีความคืบหน้าเกิดขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากจีนต้องการประวิงเวลาในการหารือเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติให้นานที่สุดเท่าที่เป็นได้ ข้อตกลงสุดท้ายอาจใช้เวลาหลายปี” ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ กล่าว

ในวันนี้ (12) กลุ่มอาเซียนจะจัดการหารือกับอินเดีย ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ ก่อนโอมาบา เดินทางถึงในช่วงค่ำจากการประชุมเอเปกที่กรุงปักกิ่ง

โอบามา มีกำหนดพบหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง และอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ระหว่างการเยือนพม่า 2 วัน เพื่อแสดงการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของพม่าที่จะมีขึ้นในปลายปี 2558

ภายใต้การบริหารของเต็งเส่ง พม่าได้รับการต้อนรับกลับสู่ประชาคมโลกหลังดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายประการ ที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และให้คำมั่นที่จะจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมในปีหน้า

การปฏิรูปที่เกิดขึ้นทำให้ชาติตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ ขณะเดียวกัน การลงทุนจากต่างชาติก็หลั่งไหลเข้ามายังตลาดบริสุทธิ์แห่งนี้

แต่ซูจี แสดงความเห็นว่า สหรัฐฯ มองแง่ดีเกินไปต่อกระบวนการการปฏิรูปของพม่า

การถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การจำกัดเสรีภาพสื่อ รวมทั้งประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น ชาวพุทธหัวรุนแรง และความรุนแรงต่อต้านมุสลิม ยังคงเป็นเงาบดบังการหลุดพ้นจากการถูกโดดเดี่ยวของพม่าหลังตกอยู่ใต้การปกครองของทหารหลายทศวรรษ และก่อให้เกิดความวิตกว่า การปฏิรูปของพม่านั้นกำลังก้าวถอยหลัง

พม่า เป็นประเทศที่ 2 ในการเดินทางเยือนต่างประเทศของโอบามา นานหนึ่งสัปดาห์ เพื่อผลักดันความสำคัญของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และสหรัฐฯ ระบุว่า ประเด็นเกี่ยวกับการประกาศตัวของรัฐอิสลาม และอีโบลาจะถูกนำขึ้นหารือในกรุงเนปีดอครั้งนี้ด้วย.
<br><FONT color=#000033> นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย ที่สนามบินนานาชาติในกรุงเนปีดอ.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033> พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เดินทางถึงพม่าวานนี้ (11).-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033> สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียะห์ แห่งบรูไน.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด้ ผู้นำคนใหม่ของอินโดนีเซีย (กลาง)  .-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
<br><FONT color=#000033> นายกรัฐมนตรีทองสิง ทำมะวง ของลาว (ขวา) เดินลงจากเครื่องบินขณะเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกรุงเนปีดอ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน.-- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น