xs
xsm
sm
md
lg

บัน คี-มุน หารือพม่าวิตกปัญหาชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาในยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ขณะเดินทางเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติพม่า ในกรุงเนปีดอ วันที่ 12 พ.ย.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวต่อรัฐบาลพม่าวานนี้ (12) ถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า และร้องต่อเจ้าหน้าที่พม่าให้รับประกันว่า หน่วยงานของสหประชาชาติจะสามารถเข้าถึงชนกลุ่มน้อยเพื่อจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

บัน คี-มุน ที่เดินทางเยือนพม่าเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ได้พบหารือกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของพม่าในกรุงเนปีดอ และเรียกร้องให้พม่าเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของโรฮิงญา

ชาวโรฮิงญาเกือบ 140,000 คน ในพม่า ยังคงไร้ที่อยู่อาศัยหลังเหตุปะทะรุนแรงกับชาวพุทธในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศในปี 2555

“ผมได้แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาที่เผชิญต่อการเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง ผมเรียกร้องให้เคารพสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในรัฐยะไข่” บัน คี-มุน กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังการหารือ

คาดว่า ทั้งบัน คี-มุน และประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่อยู่ในพม่าเพื่อร่วมการประชุมเช่นเดียวกันนั้น จะยกประเด็นปัญหาดังกล่าวขึ้นหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าในวันนี้ (13)

ชาวโรฮิงญากำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสาธารณสุขนับตั้งแต่รัฐบาลมีคำสั่งให้องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ออกจากพื้นที่รัฐยะไข่ในเดือน ก.พ. หลังหน่วยงานการกุศลทางการแพทย์กล่าวว่า หน่วยงานได้ให้การรักษาแก่ผู้ที่เชื่อว่าตกเป็นเหยื่อความรุนแรง แม้ในเวลาต่อมา รัฐบาลพม่าจะอนุญาตให้ MSF กลับเข้าพื้นที่ได้ แต่ MSF กล่าวว่า ยังไม่สามารถกลับเข้าไปปฏิบัติการได้อย่างเต็มรูปแบบ การเดินทางในหลายพื้นที่ของรัฐยะไข่ยังคงถูกควบคุมอย่างเข้มงวด และจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐ

4 ปี ของการปฏิรูปนำไปสู่การสิ้นสุดการปกครองของทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ รวมทั้งสถานะประเทศที่ถูกโดดเดี่ยว แต่ยังคงมีความวิตกว่า การปฏิรูปนั้นกำลังหยุดชะงักลง ทหารยังคงครองอำนาจทางการเมือง และกระบวนการสร้างสันติภาพยุติความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธุ์ยังไปไม่ถึงไหน ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดจัดขึ้นในปี 2558 รัฐธรรมนูญที่ร่างโดยทหารยังคงห้ามอองซานซูจี ทำหน้าที่ผู้นำประเทศ

บัน คี-มุน ที่มีกำหนดพบหารือกับซูจี ในระหว่างการเยือนพม่าครั้งนี้ กล่าวว่า การเลือกตั้งในปีหน้าที่โปร่งใส และครอบคลุมจะเป็นสิ่งสำคัญต่ออนาคตของพม่า และการปรับปรุงสถานการณ์ชาวโรฮิงญาจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านของพม่าเป็นไปตามแผน และยังส่งสัญญาณเชิงบวกต่อประชาคมโลกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น