xs
xsm
sm
md
lg

อาจเป็นข่าวร้าย พม่าร่างกฎหมายลดผลิต-ส่งออกแก๊สธรรมชาติเข้าสภาฯ สัปดาห์หน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ผู้เดินขบวนถือเทียนระหว่างการประท้วงการตัดสินใจขึ้นค่าไฟฟ้าในนครย่างกุ้งของรัฐบาล ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2556  นอกจากไฟฟ้าจะราคาแพงขึ้นแล้ว ก็ยังไม่พอใช้อีกต่างหาก ในฤดูแล้งทุกปี นครใหญ่แห่งนี้จะมีการหมุนเวียน ดับไฟ เป็นย่านๆ ทั้งๆ ที่ประเทศนี้มีทรัพยกรอย่างมากมาย ที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้มีใช้อย่างเพียงพอ ร่างกฎหมายที่จะควบคุมการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ที่จะเสนอต่อรัฐสภาสัปด่าห์หน้า เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง . --   Reuters/Soe Zeya Tun.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐสภาพม่ากำลังจัดทำร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง ที่จะกำหนดให้ประเทศลดการผลิตแก๊สธรรมชาติลง รวมทั้งจำกัดการขายทรัพยากรสำคัญนี้ กฎหมายฉบับเดียวกันยังจะควบคุมการบริหารจัดการ การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศอีกด้วย ร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้จัดทำขึ้นในเดือน ต.ค.นี้ และจะนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาในการประชุม ที่จะเริ่มขึ้นอีกครั้งวันจันทร์ที่ 20 กระทรวงพลังงานเปิดเผยเรื่องนี้

ร่างกฎหมายพลังงาน (Energy Bill) จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงพลังงานไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน สมาคมวิศวกรรมแห่งเมียนมาร์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมาร์ หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งกลายเป็นสื่อกึ่งทางการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นมา รายงานในฉบับวางจำหน่ายวันอังคาร 14 ต.ค.

ในช่วงปีงบประมาณ 2557-2558 (สิ้่นสุด 31 มี.ค. ปีหน้า) กระทรวงพลังงาน มีแผนการจะใช้แก๊สธรรมชาติที่ผลิตจากทั้งแหล่งบนบก และแหล่งในทะเล เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น อันเป็นความพยายามจัดสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าให้ได้ทั่วถึงทั้งประเทศภายในเวลา 2 ปีเศษๆ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวรายงานในข่าวหน้า 1

ตามรายงานของสื่อทางการเมื่อเดือน พ.ค.2557 อุตสาหกรรมขุดค้นและผลิตแก๊สธรรมชาติ ได้กลายเป็นแขนงเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้พม่ามากที่สุด จากมูลค่าส่งออกรวม 3,200 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน โดยมีไทย และจีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของแก๊สพม่า และจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผ่านมา (31 มี.ค.) มีต่างประเทศเข้าลงทุนสำรวจ ขุดค้นและผลิตแก๊สธรรมชาติ รวมมูลค่า 14,000 ล้านดอลลาร์

ในเดือน เม.ย.ปีนี้ รัฐบาลได้ออกใบอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าสำรวจขุดค้นหาแก๊สธรรมชาติอีก 20 หลุม ทั้งหมดอยู่ในแหล่งนอกชายฝั่ง ซึ่งรวมทั้งบริษัทเชลล์ เชฟรอน โคโนโคฟิลลิปส์, โตตาลอีแอนด์พี และบริษัทอื่นๆ จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย กับอินเดีย

การผลิตแก๊สธรรมขาติที่มีปริมาณมากขึ้น ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตปีละ 7.8% ตามเป้าหมาย โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ อ้างข้อมูลเรื่องจากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ

ตามรายงานของธนาคารโลก พม่าเป็นประเทศหนึ่งที่อัตราการมีไฟฟ้าใช้ของประชากร ต่ำที่สุดในโลก คือ มีชาวพม่าราว 33% เท่านั้่นที่เข้าถึงไฟฟ้า และในเดือน ม.ค.ปีนี้ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกแห่งนี้ได้ประกาศให้เงินกู้ 1,000 ล้านดอลลาร์ สนับสนุนการขยายการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าในพม่า

อย่างไรก็ตาม โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวนี้มีขอบเขตการบังคับใช้แค่ไหน และจะส่งผลกระทบต่อการผลิต และส่งออกแก๊สธรรมชาติที่กำลังเฟื่องฟูมากน้อยเพียงไร รวมทั้งเกี่ยวกับแผนการใช้แก๊สในการผลิตไฟฟ้าของกระทรวงต่างๆ ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น