xs
xsm
sm
md
lg

ส่องกล้องคำวินิจฉัยศาลโลก : ชาวเขมรเข้าใจว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ตกเป็นของกัมพูชา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>แผนที่แสดงสภาพภูมิประเทศชายแดนไทย-กัมพูชาจุดที่มีปัญหาโดยกูเกิ้ลเอิร์ธอาจจะช่วยให้มองเห็น เขตชะโงกผา หรือเขตหลังเขาทั้งหมดที่เป็นบริเวณของปราสาทพระวิหารและเป็นเขตอธิปไตยของกัมพูชาตามการตีความของศาลโลกเมื่อวันจันทร์ 11 พ.ย.นี้ พื้นที่โล่งๆ ทางซีกซ้ายมือของภาพหรือทางทิศตะวันตกของปราสาทเก่าแก่ เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณนี้ทั้งหมดตกเป็นของเขมรมาตั้งแต่ 50 ปีที่แล้ว แต่ศาลโลกได้ทำให้กระจ่างในครั้งนี้ ไทยยังคงรักษาพื้นที่พิพาทส่วนใหญ่เอาไว้เป็นของชาติไทยต่อไป.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการกัมพูชายังคงนิ่งเงียบไม่ได้แถลงรายละเอียดให้ชาวเขมร 14 ล้านคนได้ทราบเกี่ยวกับผลการตีความของศาลระหว่างประเทศในวันจันทร์ 11 พ.ย.นี้ แต่ในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับรู้ผ่านสื่อของรัฐ ในวันนี้พื้นที่ 4.36 ตารางกิโลเมตรที่เคยเป็นฉากชุ่มเลือดระหว่าง 2 ประเทศมาเป็นเวลาหลายปี ตกเป็นของกัมพูชาอย่างสมบูรณ์แล้ว

ชาวเน็ตจำนวนมากเขียนแสดงความเห็นผ่านประชาคมออนไลน์คืนวันจันทร์ 11 พ.ย.นี้ ทั้งหมดต่างคิดว่า การตีความของศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกได้ชี้ชัดให้พื้นที่พิพาททั้งหมดรอบๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของพวกเขา ทุกฝ่ายพากันแสดงความยินดีปรีดาเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้แต่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้าน ที่กำลังต่อสู้กับรัฐบาลฮุนเซน ก็ยังเขียนลงในเฟซบุ๊ก ร่วมฉลอง “ชัยชนะ” ของฝ่ายกัมพูชา

นายรังสีที่เพิ่งเดินทางกลับจากเยือนฟิลิปปินส์ได้ถ่ายทำวิดีโอคลิปชิ้นหนึ่งความยาวกว่า 2 นาที บรรยายถึงความเป็นมากับการต่อสู้เพื่อให้ได้ปราสาทเก่าแก่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ตั้งแต่สมสมเด็จพระนโรดมสีหนุ มาจนถึงยุคปัจจุบัน ในคลิปมีผู้นำสำคัญของพรรคหลายคนร่วม รวมทั้งนางมูสุคัว รองประธานพรรคหญิงที่มีบทบาทสำคัญมากผู้หนึ่งด้วย

ในคืนเดียวกัน พรรคกู้ชาติกัมพูชา ยังออกคำแถลงแสดงความยินดีที่ศาลโลกระบุให้กัมพูชาเป็นเจ้าของพื้นที่พิพาทรอบๆ ปราสาท โดยระบุว่าเป็น “ชัยชนะต่อประเทศไทย”

เจียง สุเพ็ง (Cheang Sopheng) ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเอพีที่เดินทางไปติดตามสถานการณ์ชายแดนด้าน จ.พระวิหาร ได้สัมภาษณ์ราษฎรจำนวนหนึ่งซึ่งทุกคนต่างก็เข้าใจว่าพื้นที่พิพาทได้ตกเป็นของกัมพูชาทั้งหมด บางคนหลั่งน้ำตาร่ำไห้ยินดีที่พวกตนจะไม่ต้องโยกย้ายออกจากพื้นที่หรือขุดหลุมหลบภัยอีกต่อไป

ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง สำนักข่าวของรัฐบาลได้ออกรายงานชิ้นหนึ่ง แสดงความพึงพอใจที่ศาลโลกชี้ชัด ว่ากัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือ “พื้นที่ทั่วทั้งบริเวณ” พระวิหาร แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียด

ตกค่ำวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน ให้สัมภาษณ์ผ่านข่ายโทรทัศน์แห่งชาติแสดงความพึงพอใจต่อการวินิจฉัยของศาลโลก และระบุว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติ .. โดยไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ อีกเช่นกัน ซึ่งผิดวิสัยของฮุนเซน

แต่ นรม. กัมพูชาก็กล่าวว่า จะร่วมมือกับฝ่ายไทยเจรจาแก้ไขปัญหาในรายละเอียดต่อไป ซึ่งบอกเป็นนัยว่า กัมพูชาไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด นั่นคือพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ทอดยาวตั้งแต่เขาพระวิหารไปจนถึงเขตภูมะเขือหรือ “พนมตรวบ” ถัดไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร.. แต่ยังไม่แพร่งพรายให้ประชาชนรู้เรื่องนี้

ก่อนหน้านั้น นายฮอร์นัมฮอง รัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์หลังการอ่านคำตัดสินในกรุงเฮก โดยตอบคำถามนักข่าวเพียงสั้นว่า คำวินิจฉัย “ออกมาดีทีเดียว” แต่ไม่มีคำแถลงใดๆ จากคณะของกัมพูชา ซึ่งผิดกับทุกครั้งที่พวกเขา “มีชัยเหนือพวกสยาม” ในต่างแดน

อย่างไรก็ตามฮุนเซนผู้ซึ่งประกาศมาตลอดว่า “ไม่มีพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร” ต้องยอมรับว่า พื้นที่นี้มีอยู่จริงและในนั้นส่วนใหญ่เป็นของไทยอีกต่างหาก

แต่การไม่รู้ข้อเท็จจริงขิงชาวกัมพูชานั้นไม่สามารถกล่าวโทษฝ่ายเดียวได้ทั้งหมด เพราะว่าแม้แต่สื่อหลักของโลก ซึ่งรวมทั้งสำนักข่าวใหญ่ทั้ง 3 แห่งของตะวันตก รวมทั้งโทรทัศน์ CNN และ BBC ลอนดอน ต่างโหมประโคมข่าวว่า ศาลโลกได้ตัดสินให้พื้นที่พิพาทรอบๆ ปราสาททั้งหมดเป็นของกัมพูชาและไทยจะต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ทั้งหมดตามพันธกรณีที่มีต่อคำพิพากษาของศาล
.
<bR><FONT color=#000033>มองจากทางด้านตะวันตกของ ชะโงกผา จะเห็นส่วนหนึ่งของดินแดนพิพาทกับเส้นสีเหลืองแบ่งเขตแดนช่วงที่ทอดไปตามแนวสันปันน้ำซึ่งเป็นไปตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามปี ค.ศ.1904 กับเส้นเขตแดนสีแดงที่ไม่ได้ยึดสันปันน้ำอันเป็นผลจากคำพิพากษา 50 ปีที่แล้ว ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการตีความของศาลโลกเมื่อวันจันทร์จะส่งผลถึงเส้นนี้อย่างไรหรือไม่. </b>
 <bR><FONT color=#000033>มองไปจากทางทิศใต้ในดินแดนกัมพูชาจะเห็นบริเวณ ชะโงกผา ทั้งหมดกับบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ศาลโลกได้ทำเรื่องนี้ให้กระจ่างเมื่อวันจันทร์นี้ ทั้งไทยและกัมพูชาจะต้องลงพื้นที่เพื่อหา เขตปราสาทพระวิหาร ตามคำตัดสินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว. </b>
.
แต่โดยสรุปก็คือ การวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์นี้ ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติ ไม่ได้ก้าวล่วงสู่เรื่องอื่นใด รวมทั้งประเด็นเส้นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศตามที่หลายฝ่ายวิตกกังวล แต่ศาลยืนยันในอำนาจการตีความคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีก่อนตามที่ฝ่ายกัมพูชาร้องขอโดยให้เหตุผลว่าคำพิพากษามีผลในทางปฏิบัติที่จะต้องทำให้กระจ่าง

ศาลโลกได้หยิบยกเอาคำพิพากษาย่อหน้าหนึ่งขึ้นอธิบาย เป็นย่อหน้าที่ระบุว่า กัมพูชามีอธิปไตยเหนืออาณาบริเวณ “ชะโงกผา” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็นสันเขาทอดไปจนถึงผาเป้ยตาดีที่เป็นส่วนแหลมอยู่ด้านในสุดบนแนวสันปันน้ำที่ควรจะเป็นเส้นเขตแดนธรรมชาติ รวมทั้งอาณาบริเวณทั้ง 2 ข้างที่ “ชะโงกผา” แผ่ออกไปตามสภาพพื้นที่ซึ่งมีความชัดเจนอยู่ในตัว

เนื้อหานี้ต่างไปจากแผนที่ฉบับหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีของไทยกำหนดขึ้นมา และแจ้งเป็นบนทึกถึงศาลโลกหลังจากมีการพิพากษายกปราสาทให้ฝ่ายเขมรเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2505

แผนที่ดังกล่าวได้ขีดเส้นตามแนวก่อสร้างปราสาท ระบุให้เป็น “เขตปราสาท” โดยห่างจากแนวก่อสร้างเพียงไม่กี่เมตร ตลอดความยาวเหนือจดใต้ และนั่นคือ เขตปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยต้องการอยากจะให้เป็น

ภาพจากกูเกิลเอิร์ธอันเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ กับเครื่องหาพิกัดผ่านดาวเทียมอาจจะให้คำตอบได้เกี่ยวกับอาณาบริเวณที่เป็นเขตอธิปไตยของฝ่ายกัมพูชาตามที่ศาลโลกทำให้กระจ่างเมื่อวันจันทร์นี้

แต่ 2 ฝ่ายจะต้องลงพื้นที่พิสูจน์สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นจริงต่อไป เพื่อหาอาณาบริเวณที่เป็นเขตปราสาทพระวิหารทั้งหมด ซึ่งได้กลายเป็นเขตมรดกโลกที่ทั้งสองประเทศจะต้องให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการพิทักษ์รักษาตามที่ศาลโลกเสนอแนะ
...............

หากมองจากจุดยืนที่ไทยให้การยอมรับคำตัดสินของศาลโลกตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา สำหรับประชาชนชาวไทยผู้รักชาติ การวินิจฉัยของศาลโลกในวันจันทร์นี้ได้ทำให้ทุกฝ่ายประจักษ์ว่า การต่อสู้เรียกร้องในช่วงหลายปีมานี้ไม่สูญเปล่า แต่มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงในการพิทักษ์รักษาดินแดนของชาติ ชาวไทยยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่พิพาทส่วนใหญ่ และส่วนที่ “สูญเสียไป” ก็เป็นไปตามคำพิพากษาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ซึ่งไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

ช่วงหลายปีมานี้ ประชาชนไทยนับร้อยคนได้หลั่งเลือดชโลมเขาพระวิหารในการต่อสู้ ทหารหาญกว่าสิบนายได้พลีชีพเพื่อรักษาดินแดนส่วนนี้

การต่อสู้อย่างกล้าหาญของชาวไทยผู้รักชาตินี้ต่างกันอย่างลิบลับกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยอมยกดินแดนให้ชาติอื่นอย่างง่ายดาย ด้วยการลงนามในแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2551 อย่างไม่จำแนก ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้แสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่า พวกเขาต้องการรวมเอาพื้นที่พิพาทกับไทยเข้าไปด้วย

การต่อสู้ของประชาชนผู้รักชาติยังต่างกันลิบลับกับคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ปักใจเชื่อ และพูดแทนกัมพูชามาตลอดว่า พื้นที่พิพาททั้งหมดเป็นของฝ่ายนั้นตั้งแต่เมื่อ 50 ปีมาแล้ว คนกลุ่มนี้ดูหมิ่นดูแคลนการต่อสู้เพื่อรักษาดินแดนของประชาชนไทยผู้รักชาติตลอดมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น