xs
xsm
sm
md
lg

ศาลโลกยกพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร - เอเอฟพี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>รัฐมนตรีต่างประเทศไทย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม เดินทางเข้าสู่ห้องพิจารณาคดีที่ศาลโลกในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์วันที่ 11 พ.ย.2556 เพื่อรับฟังการวินิจฉัยคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ที่ยกปราสาทพระวิหารให้ตกเป็นของกัมพูชา ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยในวันนี้ยืนยันดินแดนรอบปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศเพื่อนบ้านและไทยต้องถอนกองกำลังต่างๆ ทั้งตำรวจทหารและเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่. -- Associated Press/Peter Dejong. </b>

กรุงเฮก 11 พ.ย.2556 (เอเอฟพี) - ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาติ ได้ตัดสินในวันจันทร์นี้ว่า พื้นที่รอบๆ ปราสาทโบราณจุดที่เกิดความรุนแรงบนเขตแดนไทยนั้นเป็นของกัมพูชาและกองกำลังความมั่นคงของไทยจะต้องถอนออกไปทั้งหมด

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ได้ตีความคำตัดสินเมื่อปี 2505 ที่ระบุว่า “กัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหารที่ยื่นออกไปทั้งหมด” ผู้พิพากษาปีเตอร์ ทอมคา (Peter Tomka) กล่าว

“ผลที่ตามมาก็คือ ไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีในการถอนทหาร และตำรวจไทย หรือกองกำลังอื่นๆ หรือผู้ดูแลที่ประจำการอยู่บนนั้นออกไปทั้งหมด” นายทอมคา กล่าว

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 28 คน ในเหตุการณ์รุนแรงตั้งแต่ปี 2554 เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของพื้นที่ชายแดนผืนหนึ่งที่อยู่ติดกับปราสาทพระวิหารที่มีอายุ 900 ปี

“เป็นการดีทีเดียว” นายฮอร์นัมฮอง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาทีไปร่วมรับฟังการตัดสินกล่าวกับผู้สื่อข่าว

เมื่อปีที่แล้ว ICJ สั่งให้ทั้ง 2 ประเทศถอนกำลังออกจากรอบๆ ปราสาทของเขมรที่ยื่นออกไปบนหน้าผาในกัมพูชาแต่มีทางขึ้นที่ง่ายกว่าจากฝั่งไทย

ในที่สุด เดือน ก.ค.2555 ทั้งไทย และกัมพูชาก็ได้ถอนทหารหลายร้อยคนออกจากเขตพิพาทและนำกำลังตำรวจกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าไปรักษาการณ์แทน

ก่อนที่ศาลซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จะตัดสินในวันนี้ ได้มีความหวาดกลัวว่าการตัดสินใจอาจจะช่วยรื้อฟื้นความรุนแรงจากความรู้สึกรักชาติ และทำให้การปะทะกันปะทุขึ้นอีกครั้ง

มีผู้คนนับหมื่นๆ ต้องอพยพออกจากพื้นที่ที่มีการปะทะเมื่อปี 2554 ทำให้กัมพูชาร้องขอให้ ICJ ตีความคำพิพากษาต้นตอครั้งเมื่อปี พ.ศ.2505

ประเทศไทยมิได้ขัดแย้งต่อการเป็นเจ้าของปราสาทของกัมพูชาซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกอีกแห่งหนึ่ง แต่ 2 ฝ่ายต่างกล่าวอ้างเป็นเจ้าของดินแดนโดยรอบผืนหนึ่งที่มีเนื้อที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร

ผู้นำของ 2 ประเทศได้เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ อยู่ในความสงบก่อนหน้าจะมีการพิจารณาโดยผู้พิพากษานานาชาติ จำนวน 17 คน คำพิพากษามีผลผูกมัดในทันที และไม่สามารถอุทธรณ์ได้

ก่อนหน้าจะมีการตัดสิน อารมณ์ความรู้สึกของทั้ง 2 ฝั่งของปราสาทพระวิหารตึงเครียด นักท่องเที่ยวยังคงได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเที่ยวชมปราสาทโบราณผ่านทางด้านกัมพูชา แต่บรรดานักข่าวไม่ได้รับอนุญาต

ในขณะเดียวกัน กองทัพกัมพูชาได้ออกปฏิเสธรายงานของสื่อในท้องถิ่นที่ระบุว่า มีการส่งกำลังทหารเสริมเข้าไปในพื้นที่
.
<bR><FONT color=#000033>นายปีเตอร์ ทอมคา (Peter Tomka) ประธานคณะลูกขุนซึ่งเป็นชาวสโลวะเกีย (2 จากขวามือ) กับผู้พิพากษาชาวญี่ปุ่นนายฮิซาชิ โอวาดะ (Hisashi Owada) - ขวามือ - รองประธานคณะลูกขุนนายแบร์นาโด ซีปุลวีดา อามอร์ (Bernardo Sepulveda Amor) จากเม็กซิโก ไปถึงห้องศาลในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ วันจันทร์ 11 พ.ย.2556 ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติได้ออกอ่านคำวินิจฉัยอันเป็นเอกฉันท์ ยืนยันถ้อยคำในคำพิพากษาเดิมครั้งปี พ.ศ.2505. ให้พื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา. -- Associated Press/Peter Dejong. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>คณะลูกขุน (ขวามือ) เข้าไปถึงบัลลังก์ที่ศาลโลกในกรุงเฮกวันจันทร์ 11 พ.ย.2556 การตัดสินของศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติมีผลบังคับทันทีและถือเป็นอันสิ้นสุดไม่สามารถอุทธรณ์ได้. -- Associated Presse/Peter Dejong. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาฮอนัมฮอง (ขวา) รัฐมนตรีอาวุโส ประธานคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติ นายวารกิมฮอง (กลาง) กับนายลอง วิสาโร รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศ ขณะรอฟังการตัดสินของศาลโลกในกรุงเฮกวันที่ 11 พ.ย.2556 นายฮองให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการตัดสินว่า ดีทีเดียว สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน. -- Associated Press/Peter Dejong.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>นายฮอนัมฮองรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาสัมผัสมือทักทายนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ของฝ่ายไทยที่ศาลโลกวันที่ 11 พ.ย.2556 ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติได้ตีความตามที่ฝ่ายกัมพูชาร้องขอและยืนยันในคำพิพากษาเมื่อปี 2505 พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา. -- Associated Press/Peter Dejong.</b>
5
<bR><FONT color=#000033>คณะของกัมพูชา (ซ้ายมือ) กับคณะของฝ่ายไทยลุกขึ้นยืนทำความเคารพขณะคณะลูกขุนเดินเข้าสู่บังลังก์ที่ศาลโลกวันจันทร์ 11 พ.ย.2556  ศาลสูงสุดขององค์การสหประชาชาติได้พิจารณาตามที่กัมพูชาร้องขอ ยืนยันคำพิพากษาปี 2505 พื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและไทยต้องถอนกำลังทั้งทหารตำรวจและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ออกให้หมด คำพิพากษามีผลบังคับในทันที. -- Associated Press/Peter Dejong.</b>
6
<bR><FONT color=#000033>นายปีเตอร์ ทอมคา (Peter Tomka) ประธานคณะลูกขุนชาวสโลวะเกีย (อันดับ 5 จากขวามือ) กับนายฮิซาชิ โอวาดะ (Hisashi Owada) ผู้พิพากษาชาวญี่ปุ่น ขึ้นนั่งบัลลังก์พร้อมผู้พิพากษาคนอื่นๆ รวมจาก 17 ประเทศ ก่อนจะเริ่มแถลงผลการตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 และยืนยันว่าพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาเช่นเดียวกับบริเวณปราสาท. -- Associated Press/Peter Dejong.</b>
7
นายกรัฐมนตรีของไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระบุในเฟซบุ๊กเมื่อวันอาทิตย์ว่า จะ “ปรึกษาหารือ” กับกัมพูชาหลังจากการพิพากษาเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งใดๆ ทั้งกล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยจะออกคำแถลงภายหลังการพิพากษา

การพิพากษาที่มีการถ่ายทอดสดโดยโทรทัศน์ไทยนั้น เป็นอันตรายต่อรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งตอนนี้กำลังเผชิญกับฝูงชนที่ชุมนุมบนท้องถนนอยู่แล้ว เพื่อต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมทางการเมืองอันอื้อฉาว

ในขณะนี้ดูเหมือนฝ่ายค้านของประเทศกำลังจะนำความโกรธแค้นพุ่งไปที่ยิ่งลักษณ์ ซึ่งทักษิณพี่ชายที่สร้างความขัดแย้งของเธอ มีความใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน

กัมพูชาได้อนุญาตให้ทักษิณที่หลบหนีการติดคุกกรณีคอร์รัปชัน จัดการชุมนุมเดินขบวนของกลุ่มคนเสื้อแดงในดินแดนกัมพูชาหลายครั้ง เพื่อแสดงการสนับสนุน

มีความหวั่นเกรงกันว่า การตัดสินที่เป็นโทษต่อไทยจะเพิ่มความโกรธแค้นในบรรดานักชาตินิยมอย่างรุนแรง

ฮุนเซน ได้ออกเรียกร้องทางโทรทัศน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้กองทัพ “อยู่ในความสงบ และอดทนอดกลั้น” ทั้งยังกล่าวอีกว่า ตนเองได้ตกลงกับฝ่ายไทยที่จะปฏิบัติตามการตัดสินของศาลโลก

รากเหง้าของความขัดแย้งอยู่ที่แผนที่ฉบับหนึ่งที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ.2450 ระหว่างการปกครองของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส.
กำลังโหลดความคิดเห็น