xs
xsm
sm
md
lg

ฟิลิปปินส์เล็ง “เรือลำพี่” จักรีนฤเบศ สเปนปลดประจำการต้นปีนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เรือปรินซิเป ดี แอสทูเรียส (Principe de Asturias) ประจำการในราชนาวีสเปนมาเป็นเวลา 25 ปี ปลดระวางประจำการต้นเดือน ก.พ.ปีนี้ และอยู่ระหว่างถอดระบบอาวุธ แต่ถ้าหากประเทศใดสนใจก็พร้อมจะขายและจะหยุดการถอดอาวุธ เพื่อซ่อมบำรุงและติดตั้งระบบกับอุปกรณ์สมัยใหม่ เป็นเรือชั้นเดียวกับเรือหลวงจักรีนฤเบศของไทย  อินโดนีเซียเป็นรายแรกที่ไปเยี่ยมชมถึงถิ่น แต่ก็ประกาศในเวลาต่อมาว่ามีงบประมาณไม่พอ ฟิลิปปินส์เป็นรายต่อไป. -- ภาพ: Wikipedia. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ฟิลิปปินส์ได้ให้ความสนใจเรือปรินซิเป ดี แอสทูเรียส (Principe de Asturias) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเดียวกันกับเรือหลวงจักรีนฤเบศของไทย ที่กองทัพเรือสเปนปลดประจำการเมื่อต้นปีนี้ หลังใช้งานมาเป็นเวลา 25 ปี และหลังจากอินโดนีเซียตัดสินใจที่จะไม่ซื้อ

ปรินซิเป ดี แอสทูเรียส หรือเจ้าชายแห่งแอสทูเรียส (Prince of Asturias) เป็นพระฐานันดรศักดิ์ของเจ้าชายฟิลิเป ฆวน ปลาโบ อัลฟองโซ ดี โตโดส ลอส ซานโตส (Prince Felipe Juan Pablo Alfonso de Todos los Santos) พระราชโอรสพระองค์เดียว แห่งพระราชาธิบดีฆวนคาร์ลอส (King Juan Carlos) ในพระราชินีโซเฟีย (Queen Sofia) แห่งสเปน

กองทัพเรือสเปน ดำเนินการปลดเรือในเดือน มิ.ย.2555 ตามแผนรัดเข็มขัดของรัฐบาลที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า อันเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในทวีปยุโรปในช่วง 2-3 ปีมานี้ ดำเนินการแล้วเสร็จ และประกาศปลดระวางอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2556

เรือเข้าจอดที่เมืองท่าเฟรอล (Port of Ferol) มาตั้งแต่เดือน ม.ค.ปีนี้ และอยู่ในขั้นตอนดำเนินการถอดระบบอาวุธออกทั้งหมด ซึ่งอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 6-9 เดือน

ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้กำหนดชะตากรรมของเรือในขั้นตอนต่อไป แต่รัฐบาลสเปนยินดีที่จะขายให้แก่ประเทศที่สนใจ และหากมีลูกค้าสนใจซื้อ สเปนก็จะหยุดกระบวนการถอดระบบอาวุธ จากนั้นจะต้องซ่อมบำรุง และอัปเกรดระบบต่างๆ ให้ทันสมัย ก่อนที่จะส่งมอบ เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งรายงานในสัปดาห์นี้

ในเดือน มี.ค. คณะผู้แทนจากกองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้เดินทางไปยังท่าเรือเฟรอล ริมฝั่งมหาสมุทรแอตเแลนติก ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน อินโดนีเซียประกาศในเวลาต่อมาว่า ไม่มีเงินงบประมาณเพียงพอที่จะจัดหาเรือลำนี้ไปใช้งานได้ และข่าวฟิลิปปินส์ แสดงความสนใจก็ได้ผุดขึ้นมาแทน

ยังไม่ทราบมูลค่าของเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าว รวมทั้งค่าซ่อมบำรุง-ยกระดับ และระบบอาวุธ

แหล่งข่าวในฟิลิปปินส์กล่าวว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้จะมีประโยชน์ทั้งการทหารในยามที่มีความต้องการ และใช้ในการกู้ภัย ซึ่งหมู่เกาะใหญ่แห่งนี้เกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงเป็นประจำแทบจะทุกปี

ฟิลิปปินส์มิใช่ดินแดนใหม่สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่นั่นเคยเป็นสมรภูมิรบร้อนระอุระหว่างกองเรือสหรัฐฯ กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 “ยุทธภูมิอ่าวเลย์ตี” (Battle of Leyte Gulf) เป็นศึกทางทะเลที่เลื่องลือมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก

นั่นคือเหตุการณ์ในเดือน ต.ค.2487 ฝ่ายสหรัฐฯ ที่นำโดย พล.อ.ดักลาส แม็คอาร์เธอร์ นำกองเรือสหรัฐฯ กองเรือรบออสเตรเลียกับพลพรรคกองโจรต่อต้านญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์ ขับไล่กองเรือรบญี่ปุ่น ที่นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ ออกจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากยึดครองมาเป็นเวลา 3 ปี การศึกนี้สหรัฐฯ ระดมเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 8 ลำ

ประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ว่า ฝ่ายสหรัฐฯ สูญเสียกำลังพลในสงครามอ่าวเลย์ตีกว่า 3,500 คน อีกกว่า 12,000 คนบาดเจ็บ และฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตเกือบ 50,000 คน มีเพียง 389 คนเท่านั้น ที่ยอมให้จับเป็นเชลย นอกจากนั้น ก็ยังเป็นยุทธภูมิแรกที่ญี่ปุ่นนำเอายุทธวิธีกามิกาเซออกใช้
.

2

3

4
<bR><FONT color=#000033>เรือปรินซิเป ดี แอสทัวเรียส (Principe de Asturias)  กับเรือฆวน คาร์ลอส (Juan Carlos) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมยกพลขึ้นบก ลำแรกปลดประจำการวันที่ 6 ก.พ.ปีนี้ เป็นชั้นเดียวกันกับเรือหลวงจักรีนฤเบศของไทย ฟิลิปปินส์กำลังให้ความสนใจอย่างยิ่งหลังจากอินโดนีเซียไม่พร้อมที่จะซื้อ. </b>
5
ฟิลิปปินส์ซึ่งพ้นจากปัญหาหาทางเศรษฐกิจหมาดๆ ได้เริ่มสร้างเสริมความเข้มแข็งกำลังทางเรือครั้งใหญ่ หลังจากจีนกล่าวอ้างเป็นเจ้าของเกาะใหญ่น้อยนับสิบแห่งที่เป็นของฟิลิปปินส์มานานหลายร้อยปี บางเกาะอยู่ห่างจากฝั่งฟิลิปปินส์เพียง 200 กิโลเมตร แต่ห่างจากฝั่งทะเลที่อยู่ใกล้ที่สุดของจีนถึง 1,200 กม. เรือบรรทุกเครื่องบินย่อมเป็นประโยชน์ในสถานการณ์เผชิญหน้าเช่นที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

กองทัพเรือกำลังจะได้รับเรือรบลำที่ 2 จากสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย.นี้ เป็นเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้นแฮมิลตัน (Hamilton-class) ขนาด 3,400 ตันชั้นเดียวกับเรือกรีกอริโอ เดล ปิลาร์ (Gregorio del Pilar) ที่ซื้อเป็นลำแรก โดยสหรัฐฯ ดัดแปลง และยกระดับให้เป็นเรือฟรีเกตติดอาวุธนำวิถี

เมื่อต้นปีนี้กองทัพเรือฟิลิปปินส์ยังสั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ออสกัสต้าเวสต์แลนด์จากอังกฤษ 3 ลำ ติดระบบตรวจการณ์และเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อภารกิจในการลาดตระเวนหมู่เกาะกับน่านน้ำ ลำแรกมีกำหนดส่งมอบในเดือน มิ.ย.นี้เช่นกัน

ฟิลิปปินส์ยังมีแผนจัดซื้อเรือฟรีเกตทันสมัยอีก 2 ลำ หลังจากตัดสินใจไม่ซื้อเรือเก่าที่ปลดประจำการของอิตาลี โดยพุ่งความสนใจไปที่เรือเกาหลีชั้นเดียวกันกับที่กองทัพเรือไทยตัดสินใจซื้อจำนวน 2 ลำ เมื่อเดือนที่แล้วและเรือบรรทุกเครื่องบินสเปนเป็นกรณีล่าสุด

ตามประวัติอย่างเป็นทางการ เรือปรินซิเป ดี แอสทูเรียส สั่งต่อวันที่ 29 พ.ค.2520 วางกระดูกงูเดือน ต.ค.2522 ปล่อยลงน้ำ 22 พ.ค.2525 เข้าประจำการ 30 พ.ค.2531 ได้หมายเลข R-11 เคยเป็นเรือธงของราชนาวีสเปน

ส่วนกองทัพเรือไทย ได้รับมอบเรือหลวงจักรีนฤเบศเมื่อปี 2540 พร้อมกับเครื่องบิน AV-8S “แฮริเออร์” ขึ้นลงทางดิ่ง เรือมีประโยชน์อย่างมากในยามสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจด้านมนุษยธรรม การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติ

ปัจจุบัน กองทัพเรือไทยกำลังอัปเกรดเรือจักรีนฤเบศครั้งใหญ่ เพื่อให้เชื่อมต่อการสื่อสารและสื่อข้อมูลกับฝูงบิน JAS39 “กริพเพน” และเรือรบลำอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์สู้รบ.
กำลังโหลดความคิดเห็น