.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ภาพชุดยานบิน “ระบบโจมตีทางอากาศไร้การบังคับ” X-47B บินลงจอดแบบ “ทัช-แลนด์ แอนด์โก” (touch-landing and go) บนเรือบรรทุกเครื่องบินจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช (USS George H W Bush -- CVN 77) ได้ประสบความสำเร็จในวันศุกร์ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา หรือเพียง 3 วันหลังจากสาธิตการบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวกันได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบินนาวีของโลก
นั่นคือลักษณะของการลงจอดลักษณะหนึ่ง และประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินเช่นเดียวกับเครื่องบินทั่วไปบนเรือลำเดียวกัน แต่ยาน UCAS-D ลำนี้ลงจอดโดยไร้การบังคับใดๆ กองทัพเรือสหรัฐฯ รายงานในเว็บไซต์
“สำหรับ UCAS-D นี่เป็นการแสดงให้เห็นการใช้ความสุกงอมทางเทคโนโลยีอันสำคัญ การลงจอดบนเรือโดยการคำนวณอันแม่นยำของ X-47B นับเป็นปัจจัยทางเทคโนโลยีอันสุดยอดสำหรับการบินแบบไร้การบังคับกับเรือบรรทุกเครื่องบิน (Unmanned Carrier Aviation -- UCA) ในอนาคต กองทัพเรื่อสหรัฐฯ กล่าว
เมื่อต้นสัปดาห์ ทีมงานทดสอบ UCAS กับเรือจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช ได้ร่วมกันทดลองนำ X-74B บินขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเน้นให้เห็นความสำคัญของการนำการบินแบบไร้การบังคับเข้าร่วมกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว
การบินขึ้น และบินลงเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการบินนาวี และฐานะใหม่ของยานบินไร้การบังคับ แสดงให้เห็นความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในปฏิบัติการของเรือบรรทุกเครื่องบินกับอากาศยานไร้การบังคับ กองทัพเรือกล่าว
เจ้าหน้าที่โครงการผู้หนึ่งกล่าวว่า วันนี้เป็นการเริ่มต้น แต่ทีมงานยังจะต้องทำต่อไปเพื่อสาธิตการบินขึ้นลงที่คงตัว เชื่อถือได้ และสามารถทำซ้ำๆ กันได้ บนดาดฟ้าในขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบินยังเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีอันแม่นยำของการนำร่องเข้าเป็นกุญแจสำคัญทำให้ยานไร้การบังคับปฏิบัติการบนเรือได้
ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า X-43B จะต้องทดสอบการบินขึ้น (โดยใช้ระบบดีด) และบินลงที่สนามบินฐานบินพาทูเซ็นริเวอร์ (Patuxen River Naval Air Station) รัฐแมรีแลนด์โดยใช้เบรกแบบจับยึดเข้าช่วยแบบเดียวกับบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ก่อนจะขึ้นฝึกลงจอดแบบเดียวกันนี้บนเรือในที่สุด
สหรัฐฯ ประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะนำยาน X-47B ขึ้นระวางประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 10 ลำภายในปี 2563 รวมทั้งกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ประจำการในย่าน “อินโดเอเชียแปซิฟิก” และทะเลจีนใต้ด้วย.
บันทึกประวัติศาสตร์ US Navy Photo
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17