xs
xsm
sm
md
lg

หลายเสียงบอกว่า “ซูจี” เรตติ้งตก เหตุอ้ำอึ้ง.. อ้ำอึ้ง กรณีโรฮิงญา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ปรากฏตัวที่ศูนย์กลางผู้สื่อข่าวแห่งชาติในกรุงโตเกียว วันที่ 16 เม.ย.2556 กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนเริ่มไม่พอใจท่าทีของผู้นำฝ่ายค้านพม่า ที่ไม่แสดงความชัดเจนต่อเหตุจลาจล 3 ระลอกใหญ่ทั้งเมื่อปีที่แล้วและในปีนี้ ขณะที่อดีตนักโทษการเมืองและบรรดา สส.ได้ออกประณามการใช้ความรุนแรงและการสังหารชาวมุสลิมโรฮิงญา ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าผู้นำพรรค NLD จำต้องสงวนท่าทีเพื่อมิให้ชาวพุทธที่เป็นคะแนนเสียงส่วนใหญ่ตีตนออกห่าง สำหรับการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า. -- AFP Photo/Kenichiro Seki/POOL.</b>
.

กรุงเทพฯ 21 เม.ย.56 (เอเอฟพี) - การปฏิเสธที่จะประณามการโจมตีชาวมุสลิมในพม่า ได้ทำให้ความนิยมในตัวเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางอองซานซูจี ในหมู่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนลดลง แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การสงวนท่าทีดังกล่าวจะไม่ทำให้เธอเสียคะแนนนิยมในหมู่ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

การจลาจลที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นเวลาเกือบเดือนในตอนกลางของพม่า ทำให้มีผู้ถูกสังหารไป 43 คน บรรดาอดีตนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งเหล่าสมาชิกรัฐสภาต่างออกแสดงความเห็นใจชาวมุสลิมที่ตกเป็นเป้าหมายของความรุนแรง ซึ่งสุเหร่ากับบ้านเรือนของพวกเขาถูกเผา

แต่นางซูจีไม่ได้แสดงกล่าวประณามอย่างชัดเจน ต่อการจู่โจมชาวมุสลิมซึ่งคิดเป็นประมาณ 4% ของประชากรทั้งหมด หรือไม่ได้ประณามวาจาที่สร้างความเกลียดชังของพระสงฆ์หัวรุนแรงจำนวนหนึ่ง

ในทางกลับกัน เมือปี 2555 เมื่อเกิดคลื่นความรุนแรงขึ้น 2 รอบระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญากับพระสงฆ์ชนชาติส่วนน้อยชาวระไค (Rakhine) ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คนในภาคตะวันตกของประเทศ ผู้นำของฝ่ายค้านเพียงแต่กล่าวอ้อมๆ เรียกร้องให้ทุกฝ่าย “เคารพกฎหมาย”

“พวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองของที่ใด และคุณเพียงแต่เสียใจต่อพวกเขาที่พวกเขาเกิดมารู้สึกว่าไม่ได้เป็นพลเมืองประเทศของเราเช่นกัน” นางซูจีกล่าวถึงชาวมุสลิม โรฮิงญา ในพม่าระหว่างเยือนญี่ปุ่นสัปดาห์ที่แล้ว

แต่นางซูจีซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2534 และถูกกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักเป็นเวลาหลายปี ได้ปกป้องท่าทีของตัวเองว่า “ดิฉันเสียใจถ้าหากประชาชนมองว่า ความเห็นของดิฉันไม่น่าสนใจมากพอในการยอมรับพวกเขา”

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การให้ความเห็นอันล่าช้าของนางซูจีในเรื่องนี้ และโดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ของบรรดาตัวการที่ทำให้เกิดความรุนแรงได้ทำให้นางอยู่ไม่สบายแน่ๆ ในฐานะที่เคยเป็นผู้นำต่อสู้อดีตคณะปกครองทหารมารยาวนาน

“ผมดีใจที่นางยอมรับในทางใดทางหนึ่งว่าประชาชนเหล่านี้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง.... แต่.. มันจำเป็นที่จะต้องมีมากกว่านางรู้สึกเศร้า” นายฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) แห่งองค์การฮิวแมนไรท์วอตช์ (Human Right Watch) กล่าว

“ภาระในการดำเนินการตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่นางซูจีก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้นำฝ่ายค้านธรรมดาๆ เช่นกัน.. และนี่คือจุดที่ศีลธรรมจรรยาที่สั่งสมมาตลอดเวลาหลายปีจำเป็นต้องนำมาใช้” นายโรเบิร์ตสันกล่าว

สิ่งนี้ได้ทำให้บรรดาชนชาติส่วนน้อยแสดงความสงสัยต่อประชาชนส่วนใหญ่ในพม่า รวมทั้งนางซูจี และได้ออกกล่าวหาว่า ภายใต้รัฐบาลปฏิรูปที่นำโดยพลเรือน ก็ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ต่อไป สำหรับชาวโรฮิงญายิ่งเป็นที่แน่นอนว่าพวกเขารู้สึกถูกนางซูจีทอดทิ้ง

มีชนชาติส่วนน้อยโรฮิงญาราว 800,000 คน ที่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า เป็นกลุ่มคนถูกเลือกปฏิบัติ และรับเคราะห์กรรมหนักหน่วง อาศัยอยู่ในรัฐระไค ในนั้นมีหลายหมื่นคนกลายเป็นผู้พลัดจากที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงปีที่แล้ว ปัจจุบันต้องหลบภัยในค่ายผู้อพยพที่จัดทำขึ้นชั่วคราว

กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยว่า ในบางกรณีได้เป็นผู้นำการโจมตีชาวโรฮิงญาเสียเอง
.
<bR ><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ศูนย์กลางผู้สื่อข่าวแห่งชาติในกรุงโตเกียว วันที่ 16 เม.ย.2556 เมื่อถูกถามเพราะเหตุใดจึง อ้ำอึ้ง อ้ำอึ้ง ต่อกรณีความรุนแรงทางศาสนาและยังไม่เคยกล่าวประณามการฝ่ายใด ผู้นำที่เป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยก็ยังคงพูดแต่เพียง เสียใจ ต่อเหตุการณ์เท่านั้น ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าผู้นำพรรค NLD จำต้องสงวนท่าทีเพื่อมิให้ชาวพุทธที่เป็นคะแนนเสียงส่วนใหญ่ตีตนออกห่าง สำหรับการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า. -- AFP Photo/Kenichiro Seki/POOL.</b>
2
<bR ><FONT color=#000033>นายฟูมิโอะ โอทสึโบะ (Fumio Ohtsubo) ประธานกลุ่มบริษัทพานาโซนิค ต้อนรับนางอองซานซูจีที่ไปเยือนเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2556 ผู้นำฝ่ายค้านพม่าเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเข้าลงทุนในพม่าเพื่อสร้างงานแก่ราษฎร นักวิชาการกล่าวว่าพวกนักวิจารณ์จากโพ้นทะเลทั้งหลายควรมอง เดอะเลดี้ ใหม่ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น พม่ากำลังจะมีการเลือกตั้งในปี 2558 และนี่อาจจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป. -- Reuters/Issei Kato. </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี เดินทางถึงหอคอย โตเกียว สกายทรี สูง 350 เมตรในเมืองหลวงของญี่ปุ่นวันที่ 18 เม.ย.2556 ซึ่งเป็น เสาอากาศ กระจายเสียง-แพร่ภาพออกอากาศของวิทยุและโทรทัศน์สูงที่สุดในโลก ผู้นำฝ่ายค้านพม่าได้รับการยอมรับในต่างแดนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่ในประเทศความนิยมเริ่มเสื่อมลง บางเสียงบอกว่านางซูจี สอบตก ที่ไม่แสดงท่าทีชัดเจนต่อเหตุรุนแรงทางศาสนาหลายครั้งที่ผ่านมา. --  Reuters/Franck Robichon/Pool. </b>
4
<bR ><FONT color=#000033>ผู้นำฝ่ายค้านพม่า เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมทั้ง ว่าที่ประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งปี 2558 เข้าเยี่ยมคำนับนายชินโซ อาเบ้ นายกรัฐมนตรีพม่าที่บ้านพักในกรุงโตเกียววันที่ 18 เม.ย.2556  ผู้นำฝ่ายค้านพม่าได้รับการยอมรับในต่างแดนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่ในประเทศความนิยมเริ่มเสื่อมลง บางเสียงบอกว่านางซูจีไม่ผ่านการทดสอบความเป็นผู้นำ ในกรณีสังหารชาวโรฮิงญาหลายครั้งที่ผ่านมา. -- AFP Photo/POOL.</b>
5
<bR ><FONT color=#000033>ภาพเหตุการณ์วันที่ 22 มี.ค.2556 ตำรวจตั้งแถวปิดกั้นทางเข้าเมืองเมกทิลา (Meiktila) ในภาคกลางพม่าระหว่างเกิดการจลาจลที่มีชาวมุสลิมโรฮิงญาถูกสังหารหลายสิบคน สุเหร่ากับบ้านเรือนถูกเผาหลายหลัง กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนกลาวหาว่า หลายเหตุการณ์เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐบาลเหล่านี้ นำการโจมตีเสียเอง. -- AFP Photo/Soe Than Win.  </b>
6
อาบู ทาเฮ (Abu Tahay) แห่งพรรคประชาธิปไตยเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ (National Democratic Party for Development) ซึ่งเป็นตัวแทนชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีซึ่งมีฐานะเป็นธิดาของนายพลอองซาน บิดาแห่งเอกราช และเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยนั้น ทำให้มีพันธะที่จะต้องเข้าแทรกแซงในเหตุรุนแรง

แต่นายทาเฮก็ไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำของสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ที่เชื่อกันว่า จะชนะในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2558 ที่อาจจะทำให้นางได้ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

“อองซานซูจีมีการเลือกตั้งที่จะต้องเอาชัยชนะในปี 2558 ถ้าหากแสดงความเอนเอียงไปเข้าข้างมุสลิมโรฮิงญา และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ จนเกินไป นางเสี่ยงต่อการตีตนออกห่างทางการเมืองของกลุ่มชาวพุทธที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานเสียง” นายนิโคลาส ฟาเรลลี (Nicholas Farrelly) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว

“กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนตะวันตก และกลุ่มนานาชาติที่ต่อต้านการไม่ยุติธรรมต่อชาวอิสลาม ล้วนไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะเลือกผู้เข้าไปบริหารพม่าในช่วงปีข้างหน้า” นายฟาเรลลีกล่าว

นายวินทิน (Win Tin) ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “เดอะเลดี้” ไม่ประสงค์ที่จะเติมเชื้อให้แก่ความตึงเครียดทางชนชาติและศาสนา ในขณะประเทศกำลังผ่านออกจากระบอบของคณะปกครองทหาร

“สถานการณ์นี้ทำให้นางสูญเสียภาพของการเป็นศูนย์รวมแห่งธรรม ดอว์ซูจีทราบเรื่องนี้ดี” นายวินทินกล่าวกับเอเอฟพีโดยใช้สรรพนามนำหน้าภาษาพม่าที่แสดวงการยกย่อง พร้อมสำทับว่า “ทุกอย่างล้วนมีความเปราะบางทางการเมือง”

นักการทูตอาวุโสผู้หนึ่งบอกแก่เอเอฟพีว่า บรรดาผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติควรจะมองผู้นำประชาธิปไตยในความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น

ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ “จำเป็นต้องพิจารณาว่าความผิดหวังของพวกเขานั้นเป็นผลจากการมองนางซูจีให้มีฐานะใกล้เคียงนักบุญกับความถูกต้องชอบธรรมในช่วงปีถูกกักบริเวณหรือไม่” นักการทูตที่ขอไม่ให้เปิดเผยตัวตนให้ความเห็น

แต่นางคริส ลูวา ผู้นำอำนวยการ “โครงการอาระกัน” (The Arakan Project) ในกรุงเทพฯ ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชาวโรฮิงญากล่าวว่า นางซูจีล้มเหลวอย่างสำคัญในการทดสอบความเป็นผู้นำ

“นางพูดถึงการปกครองด้วยกฎหมาย แต่นั่นยังไม่พอ” นางลูวากล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น