xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด -- พม่าจัดพาเหรดรำลึก 66 ปีสัญญาปางโหลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ทหารกองเกียรติยศเดินสวนสนาม ในโอกาสครบรอบปีที่ 66 วันสหภาพ (Union Day)  ในพิธีที่จัดขึ้นเช้าวันอังคาร 12 ก.พ.นี้ พม่าทุกยุคสมัยจัดรำลึกวันสำคัญนี้ประจำทุกปีโดยมีประชาชนชนชาติส่วนน้อยและตัวแทนจากรัฐต่างๆ เข้าร่วมปีละหลายพันคนและใช้กรุงเก่าย่างกุ้งเป็นสถานที่ตลอดมา ถึงแม้ว่าสัญญาปางโหลงจะผ่านไปเกือบ 7 ทศวรรษแล้ว การเมืองภายในได้ทำให้เอกภาพของพม่ามีปัญหามาโดยตลอด แต่หลังการเลือกตั้งปลายปี 2553 และมีการจัดตั้งรัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นบริหารประเทศ ข้อตกลงหยุดยิงกับกองกำลังอาวุธในรัฐต่างๆ เริ่มเห็นผล ปัจจุบันเหลือแเพียงกะฉิ่นเพียงรัฐเดียวเท่านั้นที่ยังมีการปะทะด้วยอาวุธ แต่การเจรจาสันติภาพก็ยังดำเนินต่อไป. --  AFP Photo/Soe Than Win. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการพม่าได้จัดเดินสวนสนามของทหาร และการชุมนุมใหญ่ของประชาชนชนชาติต่างๆ ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง วันอังคาร 12 ก.พ.นี้ เนื่องใน “วันสหภาพ” หรือวันแห่งการรวมชาติ ซึ่งแม้ว่าจะจัดให้มีพิธีรำลึกวันสำคัญนี้ประจำทุกปี ปีนี้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุ และโทรทัศน์แห่งชาติ รวมทั้งสื่อกระจายเสียงท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 66 ปีของเหตุการณ์สำคัญ

ตามรายงายของสื่อทางการพิธีรำลึกเริ่มขึ้นในเวลา 06.40 น. และภาพที่ปรากฏผ่านสถานีโทรทัศน์ MITV (Myanmar International TV) ที่ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” รับชมได้ในกรุงเทพฯ เช้าวันอังคารนี้ มีประชาชนจากชนเผ่า ตลอดจนตัวแทนจากรัฐต่างๆ เข้าร่วมหนาตา จำนวนอาจจะนับได้ถึง 10,000 คน

พม่าจัดรำลึกวันที่ 12 ก.พ.ของทุกปี โดยใช้กรุงเก่าเป็นสถานที่ เพื่อรำลึกถึงวันเซ็นสัญญาปางโหลง (Panglong Agreement) เมื่อปี พ.ศ.2490 ซึ่งรัฐบาลเชื้อเชิญนำชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ที่มิใช่ “ชาวพม่า” จากทั่วประเทศ เจรจาทำความตกลงตกลงยุติการแบ่งแยก กับการดูหมิ่นเหยียดหยาม และรวมตัวเข้าเป็นสหภาพหนึ่งเดียวกัน ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษอย่างสมบูรณ์ในปีถัดมา และนำมาสู่การจัดตั้งรัฐบาลกลางขึ้นในกรุงย่างกุ้ง

การจัดพิธีรำลึก “วันสหภาพ” ในทุกๆ ปีจะมีประชาชน และตัวแทนชนเผ่าต่างๆ เข้าร่วมหลายพันคน

ปีนี้ยังเป็นขีดหมายสำคัญหลังจากผู้นำชนชาติส่วนน้อยในรัฐต่างๆ เกือบทั้งหมด ร่วมทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาล ทำให้การใช้ความรุนแรงยุติลง ในขณะที่การเจรจากับกองทัพเอกราชแห่งกะฉิ่น (Kachin Independence Army) ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศยังคงดำเนินต่อไป

ความพยายามในการเจรจา และเซ็นทำสัญญาปางโหลง ซึ่งนำโดยนายพลบอโย๊กอองซาน (บิดาของนางอองซานซูจี) เป็นความพยายามทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยและปกครองด้วยกฎหมาย แต่โชคร้ายที่ผู้นำถูกลอบสังหารเพียงไม่นานต่อมาหลังจากนั้น ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่า เป็นการฆาตกรรมที่มีเจ้าอาณานิคมอยู่เบื้องหลัง

“วันสหภาพ” เป็นหนึ่งในวันสำคัญแห่งชาติของพม่า เช่นเดียวกันกับ วันกองทัพ (27 มี.ค.) หรือ “ทัตมาดอเน” (Tatmadaw Nay) รำลึกการต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วันวีรชนแห่งชาติ (19 ก.ค.) รำลึกวันสังหารนายพลอองซานในปี 2490 และเป็นการรำลึกถึงวีรชนอีกหลายคนที่พลีชีพในการต่อสู้เพื่อเอกราช และวันเอกราช (11 พ.ย.)

พม่ายังมีวันชาวนาแห่งชาติ (2 มี.ค.) เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่รัฐบาลนายพลเนวิน ซึ่งแม้จะเป็นรัฐบาลเผด็จการทหาร แต่ก็เล็งเห็นความสำคัญของชาวนาเกษตรกรที่มีจำนวนกว่า 70% ของประชากรทั้งประเทศ

นายพลเนวิน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัย กับพรรคโครงการสังคมนิยม (Socialist Programs Party) ได้ออกนโยบายสำคัญๆ จำนวนมากเพื่อฟื้นฟู และส่งเสริมอาชีพนี้ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและด้านอื่นๆ

รัฐบาลที่ยึดอำนาจจากนายกพลเนวินต่อมาอีกหลายสมัย ยังคงยึดถือนโยบายพัฒนากรเกษตรของประเทศเป็นนโยบายสำคัญ.
.
<bR ><FONT color=#000033>พล.ต.มี้นส่วย (Myint Swe) มุขมนตรีแห่งเขตปกครองย่างกุ้ง ปราศรัยในพิธีรำลึกครบรอบปีที่ 66 วันเอกภาพ (Union Day) ที่จัดขึ้นในกรุงย่างกุ้งเช้าวันอังคาร 12 ก.พ.นี้ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดตลอดพิธีผ่านโทรทัศน์และเครื่อข่ายวิทยุต่างๆ ทั่วประเทศ. -- AFP Photo/Soe Than Win. </b>
2
 <bR><FONT color=#000033>ข้อตกลงในสัญญาปางโหลงปี 2490 ที่นายพลบอโย๊กอองซานร่วมเซ็นกับผู้นำของชนชาติต่างๆ ทั่วประเทศมีเพียง 9 ข้อ แต่ว่าด้วยอนาคตของประเทศ แต่เพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ผู้นำซึ่งเป็นบิดาของนางอองซานซูจีในปัจจุบันถูกลอบสังหารซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่ามีเจ้าอาณานิคมอังกฤษอยู่เบื้องหลัง และได้ทำให้ไฟแห่งขบวนการต่อสู้คุโชน จนกระทั่งพม่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปีถัดมา.  </b>
3
ผ่านไป 7 ทศวรรษ
AFP

4

5

6

7
กำลังโหลดความคิดเห็น