xs
xsm
sm
md
lg

อีก 2 ปีลาวประกาศอิสรภาพ หยุดนำเข้าไฟฟ้าจากไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>เมืองท่าแขกเมืองเอกของแขวงคำม่วน ในภาพถ่ายระยะไกลจากโรงแรมริมแม่น้ำโขงในเมืองนครพนมของไทย เวลาเช้าตรู่วันที่ 22 ก.พ.2555 เห็นระโยงระยางอยู่มุมบนขวาของภาพเป็นสายส่งไฟฟ้าข้ามแดนไทย-ลาว ที่นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีทั้งการซื้อและขายไฟ แต่ปัจจุบันแขวงภาคกลางของลาวแห่งนี้ผลิตไฟฟ้าได้เหลือเฟือ รวมทั้งจากเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งใหญ่ที่สุดในขณะนี้ด้วยและยังมีระบบสายส่งที่ไปได้ทั่วถึงมากขึ้น ลาวไม่จำเป็นต้องซื้อไฟฟ้าจากฝั่งไทยอีกแล้ว ในอีก 2 ปีก็จะเลิกพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านทางฝั่งขวาอย่างสิ้นเชิง. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ในปี 2558 หรืออีกเพียง 2 ปี ลาวจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ เนื่องจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่งจะเริ่มปั่นไฟในปีข้างหน้านี้ ในขณะที่อีกหลายแห่งกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้การนำเข้าไฟฟ้าลดลงเหลือน้อยกว่า 1% จาก 10% ในปัจจุบัน สื่อของทางการรายงาน

เมื่อปีที่แล้ว มีเขื่อนที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 17 แห่ง ซึ่งจะปั่นไฟรวมกันได้กว่า 5,000 เมกะวัตต์ ในนั้นจะส่งออก 3,674 เมกะวัตต์ และจำหน่ายภายในประเทศอีก 1,388 เมกะวัตต์ สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานอ้างตัวเลขของ นายดาววง พอนแก้ว อธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่

ช่วงต้นปี 2556 นี้ ทางการได้อนุมัติให้สร้างเขื่อนใหม่อีก จำนวน 6 แห่ง มีกำลังปั่นไฟรวมกันได้ 858 เมกะวัตต์ ครึ่งหนึ่งของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะใช้ในประเทศ

สถิติปี 2554 บ่งบอกว่า 38.5% ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ในทั่วประเทศทั้งหมด 3,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี เป็นส่วนที่ใช้ในครัวเรือนของประชาชน อีก 29% ใช้ในแขนงอุตสาหกรรม ที่เหลือใช้ในการเกษตร และสำนักงานของรัฐ

ลาวส่งไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำงึม 1 ในแขวงเวียงจันทน์จำหน่ายให้ไทยมานาน 40 ปี แต่ในช่วงเวลาเท่าๆ กัน ก็ซื้อกลับจากไทยส่วนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ในแขวงที่ห่างไกลทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เนื่องจากระบบสายไฟแรงสูงในประเทศยังไปไม่ถึง รวมทั้งกรณีเฉพาะอีกจำนวนหนึ่ง เช่น เหมืองทองเซโปนในเขตเมืองวีละบูลี แขวงสะหวันนะเขตซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก่อนหน้านี้ต้องซื้อไฟฟ้าจากเวียดนามใช้

อย่างไรก็ตาม ช่วงกว่า 10 ปีมานี้ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวได้ขยายข่ายสายไฟฟ้าแรงสูงออกไปยังแขวงที่อยู่ห่างไกลเกือบจะทั่วถึงทั้งหมดแล้ว ด้วยความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากรัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศหลายแห่ง

จนถึงปัจจุบัน ไทยได้เซ็นความตกลงซื้อไฟฟ้าจากลาวในปริมาณ 7,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะครอบคลุมระยะเวลา 10 ปี เวียดนามเซ็นซื้ออีก 3,000 เมกะวัตต์ และกัมพูชาพิจารณาซื้ออีก 1,000 เมกะวัตต์

ข้อมูลตามรายงานประจำปี 2544-2555 ของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวบรวมจนถึงต้นเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ได้มีการเซ็นสัญญา หรือเอ็มโอยู ฯลฯ กับนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ จำนวน 88 โครงการ มีกำลังติดตั้งรวมกันกว่า 20,000 เมกะวัตต์ และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ไม่น้อยกว่า 100,000 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ลาวซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรราว 6 ล้านคน และไร้ทางออกสู่ทะเล ปัจจุบันมีเขื่อนที่กำลังผลิตไฟฟ้าเข้าระบบรวม 18 แห่ง กำลังติดตั้ง 2,572 เมกะวัตต์ และทั่วประเทศมีระบบสายส่งไฟฟ้ารวมกันคิดเป็นระยะทางราว 40,000 กิโลเมตร.
.
 <bR><FONT color=#000033>เมืองท่าแขกแขวงคำม่วนในภาพถ่ายจากระยะไกลจากฝั่งแม่น้ำโขงเมืองนครพนม ตอนเช้าตรู่วันที่ 22 ก.พ.2555 เรือหาปลาลอยลำอยู่ใต้เงาทะมึนของเสาไฟฟ้าแรงสูงที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ที่นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีทั้งการซื้อและขายไฟ แต่ปัจจุบันแขวงภาคกลางของลาวผลิตไฟฟ้าได้อย่างเหลือเฟือและระบบสายส่งไปได้ทั่วถึงมากขึ้น ลาวไม่จำเป็นต้องซื้อไฟฟ้าจากฝั่งไทยอีกแล้ว อีก 2 ปีก็จะเลิกพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านทางฝั่งขวาอย่างสิ้นเชิง. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</b>
.
 <bR><FONT color=#000033>กลุ่มบริษัทผู้ลงทุนโครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในแขวงจำปาสัก-อัตตะปือ ซึ่งรวมทั้งบริษัทราชบุรีผลิตไฟฟ้าฯ ของไทยเซ็นสัญญาเช่าที่ดินจากกระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและส่งแวดล้อมลาววันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา การก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 390 เมกะวัตต์จะเริ่มขึ้นแล้ว จนถึงสิ้นปี 2555 มีเขื่อน 17 แห่งกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง อีก 18 แห่งกำลังผลิตไฟฟ้าและกว่า 10 ปีมานี้ลาวได้เซ็นสัญญาสร้างหรือศึกษาสำรวจเขื่อนรวม 88 โครงการ ประเทศนี้กำลังจะหยุดซื้อไฟฟ้าจากไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.</b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น