xs
xsm
sm
md
lg

ทองหมดแล้วจริงๆ แต่เหมืองเซโปนผลิตทองแดงมากเป็นประวัติการณ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>เจ้าหน้าที่ MMG LXML กับผลงานแผ่นธาตุทองแดง (Copper Cathode) ที่ผลิตได้ ในโอกาสฉลองครบรอบปีที่ 10 ของเหมืองเซโปนเมื่อปีที่แล้ว บริษทจีนสัญชาติลาวที่เป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองแห่งนี้ประกาศในรายงานประจำปี 2556 ว่าสามารถผลิตทองแดงได้มากเป็นสถิติใหม่ถึงแม้ว่าจะหยุดการผลิตทองไปแล้วก็ตาม. -- ภาพ: MMG LXML.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เมืองทองใหญ่ที่สุดของลาวในแขวงสะหวันนะเขต ได้หยุดการผลิตทองคำลงตามกำหนดในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ทว่าปีที่แล้ว สามารถผลิตทองแดงได้กว่า 90,000 ตัน ซึ่งเป็นสิถิติสูงสุดนับตั้งแต่ดำเนินการมา บริษัทเอ็มเอ็มจี ล้านช้าง มิเนอรัลส์ จำกัด (MMG Lane Xang Minerals Ltd) ประกาศเรื่องนี้ในผลประกอบการประจำปี 2556 ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ปี 2556 เหมืองแห่งเมืองวีละบูลี ผลิตทองแดง จำนวน 90,030 ตัน เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2555 เหมืองแห่งนี้ออกแบบเริ่มต้นให้มีกำลังผลิตแผ่นทองแดง (Copper Cathode) เพียง 65,000 ตันต่อปี ต่อมาในปี 2554 ได้ลงทุนเพิ่มเติมขยายขีดความสามารถขึ้นเป็น 80,000 ตันต่อปี

รายงานอีกชิ้นหนึ่งที่อ้างนายริค วัตฟอร์ด ผู้จัดการใหญ่บริษัท MMG LXML ระบุว่า การผลิตได้เกินกำลังการผลิตเมื่อปีที่แล้วเกิดจากการพัฒนากำลังผลิต และสัมฤทธิผลในการผลิตที่เหมืองแห่งนี้ และถือเป็นความสำเร็จอย่างสูงจากความพยายาม และการทำงานหนักของทุกฝ่าย

ผู้บริหารคนเดียวกันนี้กล่าวอีกว่า ในปี 2557 นี้ จะยึดถือเรื่องความปลอดภัยเป็นเรืองสำคัญเพื่อยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นไปอีก

นายแอนดริว มิเคลมอร์ (Andrew Michelmore) ผู้จัดการใหญ่ของ MMG ในออสเตรเลีย เปิดเผยในรายงานประจำปี 2556 ว่า มีพนักงานชาวลาว 1 คน เสียชีวิตขณะทำงานในเหมืองเซโปน แต่สถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่รวบรวมได้จากเหมืองแห่งต่างๆ ของกลุ่มในหลายประเทศ ระบุว่าเหตุบาดเจ็บระหว่างทำงานของพนักงานลดลงอย่างมากในปีเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อน

บริษัท MMG LXML ซึ่งกลุ่ม MINMETALS บริษัทเหมืองแร่ใหญ่ของรัฐบาลจีนถือหุ้น 90% กล่าวว่า นับตั้งแต่ทำการผลิตเป็นต้นมา เหมืองเซโปน ได้จ่ายผลประโยชน์กับค่าตอบแทนให้รัฐบาลลาวแล้วกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งในรูปของภาษีอาการ ค่าภาคหลวง และเงินปันผลตามมูลค่าหุ้น ทำให้บริษัทนี้เป็นผู้ที่เสียภาษีมากที่สุดในลาว นายวัตฟอร์ดกล่าว

นอกจากจ่ายผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลลาวแล้ว MMG LXML ยังจ่ายเข้าเงินกองทนุพัฒนาชุมชุนอีกกว่า 5 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ สร้างอาชีพ และงานทำอย่างยั่งยืนให้แก่ราษฎรที่อยู่รายรอบเขตเหมือง

เหมืองทอง-ทองแดงเซโปน ก่อเกิดจากการลงทุนโดยบริษัทเหมืองแร่ใหญ่แห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน เริ่มผลิตทองคำตั้งแต่ปี 2548 แต่ต่อมา ในปี 2552 ได้ขายกิจการในลาวให้แก่กลุ่ม MMG ของจีน หลังจากบริษัทแม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯ อย่างรุนแรง

บริษัทในลาวได้ประกาศในเดือน พ.ย.2556 จะหยุดการผลิตทองที่เหมืองลงในเดือนถัดมา เนื่องจากสายแร่ทองในเหมืองสัมปทานแห่งนี้ร่อยหรอลง ซึ่งจะมีพนักงานในส่วนนี้จำนวนหนึ่งถูกปลดออกจากงาน แต่ MMG LXML ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในรายงานประจำปี.
.
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่กำลังทำงานที่เตาหลอมภายในโรงงานที่เหมืองเซโปนในภาพที่ไม่ระบุวันถ่าย MMG LXML ประกาศในรายงานประจำปี 2556 ว่า การผลิตทองที่เหมืองทองใหญ่ที่สุดของลาวแห่งนี้ได้หยุดลงตามกำหนดในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาเนื่องจากสายแร่ทองร่อยหลอลง แต่สามารถผลิตทองแดงได้มากมายเป็นสถิติใหม่. -- ภาพ: MMG LXML. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น