xs
xsm
sm
md
lg

ลาวยังรวยได้อีก ไตรมาสแรกเหมืองทองผลิตได้เกินคาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033><i>ภาพจากเว็บไซต์บริษัทมินมีทัลส์ (MMG) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองทองเซโปนในแขวงสะหวันนะเขต วันที่ 1 พ.ย.2554 แสดงให้เห็นเครื่องบินเล็กของรัฐวิสาหกิจลาวเดินอากาศ ที่ใช้เป็นพาหนะในการขนทองคำจากเหมืองไปยังท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อส่งออกสู่ตลาดปลายทางอีกทอดหนึ่ง ไตรมาสแรกปีนี้เหมืองเซโปนยังคงผลิตทองคำใด้ปริมาณมาก แม้ MMG จะคาดการว่า สินแร่ทองคำหรือออกไซด์โกลด์จะร่อยหรอลงและจะหมดไปในปีหน้าก็ตาม.</i> </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ไตรมาสแรกของปีนี้ กิจการเหมืองเซโปนเรืองรอง เนื่องจากผลิตทองคำได้เพิ่มขึ้นกว่า 90% เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปี 2554 แม้เจ้าหน้าที่จะกล่าวก่อนหน้านี้ว่า สินแร่ทองคำกำลังค่อยๆ หมดลงก็ตาม

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และหลังจากติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ของเหมืองแห่งนี้ สื่อของทางการอ้างรายงานของบริษัทเจ้าของสัมปทาน

สามเดือนแรกของปีนี้ เหมืองทองของบริษัทเอ็มเอ็มจีล้านช้างมิเนอรัลส์ (MMG Lane Xang Minerals Ltd) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมือง (อำเภอ) วีละบูลี แขวงสะหวันนะเขต ผลิตทองแดงแผ่น (copper cathode) ได้ทั้งหมด 19,758 ตัน หลังจากได้ขยายโรงงานผลิตปลายปีที่แล้ว ทำให้ผลิตได้มากขึ้น 7% เทียบกับไตรมาสแรก ปี 2554

แม้ว่าแร่ทองแดงจะลดลงถึง 29% ก็ตาม บริษัทยังคงเป้าหมายผลิตทองแดงตลอดทั้งปี 2555 ไว้ที่ 78,000-80,000 ตันเท่าเดิม สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

MMG LXML กล่าวว่า การผลิตทองคำเพิ่มขึ้นถึง 92% ในช่วงเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้แสดงตัวเลขทองคำที่ผลิตได้ และแต่ยังคงเป้าหมายผลิตตลอดปีระหว่าง 60,000-65,000 ออนซ์เท่าเดิมว่าสินแร่ทองคำ (oxide gold) จะร่อยหรอลงในครึ่งหลังของปี ขปล.กล่าว

“ผลิตทองคำได้มากกว่าไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว 92% เนื่องจากขุดค้นสินแร่คุณภาพสูง การดำเนินการที่ดีของโรงงาน และการขุดค้นที่ได้มากขึ้น” แต่ “แร่ทองออกไซด์ที่เซโปนจะหมดลงในปี 2556 นี้” สำนักข่าวของทางการกล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์บริษัทมินมีทัลส์ (MMG) วันที่ 1 พ.ย.2554 หญิงชาวลาวที่ได้รับผลกระทบจากการสำรวจและผลิตของเหมืองเซโปน เข้าฝึกอาชีพที่ศูนย์ฝึกอาชีพห้วยกองในเขตเมืองวีละบูลีที่อยู่ในความดูแลของบริษัทเจ้าของสัมปทานเหมือง ซึ่งตามสัญญาสัมปทาน จะต้องดูแลราษฎรหลายหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ ให้ทุกคนมีงานอาชีพทำตลอดระยะเวลาสัมปทาน 25 ปี. </b>
<bR><FONT color=#000033>และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามเด็กๆ ในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองเซโปนได้มีที่เรียน และมีอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น ภาพจากเว็บไซต์บริษัทมินมีทัลส์ (MMG) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองทองของกลุ่มเหมืองแร่จากจีนในแขวงสะหวันนะเขต วันที่ 1 พ.ย.2554.  </b>
.
นับตั้งแต่เริ่มผลิตปี 2546 เป็นต้นมา เหมืองเซโปนส่งมอบเงินพันธะต่างๆ เข้าคลังหลวงของลาวแล้วเกือบ 800 ล้านดอลลาร์ ขปล.กล่าว

เดิมเหมืองทองแห่งนี้เป็นของกลุ่มอ๊อกเซียนา (Oxiana Resources) ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2551 ทำให้กลุ่มเหมืองออสเตรเลีย ขายกิจการเหมืองหลายแห่งให้แก่กลุ่มมินมีทัลส์ (Minerals and Metal Group) ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองขนาดใหญ่ของรัฐบาลจีน

ขณะที่ต่างชาติเป็นผู้ลงทุนสำรวจ-ผลิต รัฐบาลลาวมีรายได้จากค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ของบริษัท ภาษีรายได้จากเงินเดือนพนักงาน และเงินส่วนแบ่งหุ้นที่ร่วมถืออยู่ 10% ในเหมือง

ภายใต้สัญญาสัมปทาน บริษัทเหมืองแห่งนี้ยังจะต้องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหลายหมู่บ้านในเขตเมืองวีละบูลี ที่ได้รับผลกระทบ จัดสรรที่ทำกินให้ใหม่ จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน นำไฟฟ้า น้ำประปา เข้าไป สร้างโรงพยาบาล และโรงเรียนสำหรับเด็กๆ

บริษัทยังจะต้องตั้งเงินกองทุนหมุนเวียน เพื่อให้ราษฎรนำไปประกอบอาชีพ และให้มีงานทำตลอดอายุสัมปทาน 25 ปีอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น