xs
xsm
sm
md
lg

พม่ามองหาหุ้นส่วนเอกชนร่วมบริหาร นสพ.รัฐ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แม่ค้าจัดแผงหนังสือพิมพ์ริมทางในย่านใจกลางนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 15 ม.ค. --  AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>

เอเอฟพี - หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ที่้เป็นกระบอกเสียงของอดีตรัฐบาลทหารกำลังมองหาหุ้นส่วนเอกชนเข้าบริหาร ในขณะที่รัฐบาลนักปฏิรูปของประเทศผ่อนคลายความเข้มงวดในสื่อของรัฐลง ทางการพม่าระบุวานนี้ (30)

แม้รายละเอียดจะยังคงไม่ชัดเจน แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจสละอย่างน้อยที่สุดการควบคุมบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาอังกฤษ ที่ในช่วงหลายปีมานี้กล่าวตำหนิฝ่ายตรงข้าม และกองกำลังต่างชาติ

“เราเห็นพ้องกับกระทรวงข้อมูลข่าวสารที่จะเชื้อเชิญบุคคลที่สนใจเข้าเป็นหุ้นส่วนบริหารหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ฉบับภาษาอังกฤษ คงเป็นไปไม่ได้ที่กระทรวงจะบริหารดูแลหนังสือพิมพ์รายวันได้อย่างมีประสิทธิภาพในแง่ของทรัพยากรมนุษย์ และเราคาดหวังให้หนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพ” สมาชิกคณะกรรมการควบคุมสื่อบริการสาธารณะกล่าว

คณะกรรมการควบคุมสื่อบริการสาธารณะ ตั้งขึ้นเมื่อเดือน ต.ค หลังหนังสือพิมพ์รัฐ 3 ฉบับ ได้ประกาศแผนเปลี่ยนแปลงเป็นสื่อบริการสาธารณะ

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ได้ผ่อนการใช้ถ้อยคำภาษาที่รุนแรงลงนับตั้งแต่การปกครองระบอบเผด็จการทหารสิ้นสุดลงในต้นปี 2554 วลีที่ใช้โจมตีสื่อต่างชาติถูกแทนที่ด้วยข่าวซุบซิบบันเทิงต่างประเทศ

หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทม์ส วีคลี่ ที่หวังจะขยับเป็นหนังสือพิมพ์รายวัย มีความสนใจที่จะทำงานร่วมกับหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์

“เป็นโอกาสที่ดีมากที่จะช่วยแปลงโฉมสื่อของรัฐในประเทศนี้” รอสส์ ดังค์ลีย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเมียนมาร์ไทม์ส กล่าว

นับตั้งแต่บริหารประเทศเมื่อปีก่อน ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศหลายประการ เช่น ปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน และการเลือกตั้งนางอองซานซูจีเข้าสู่สภา

ในเดือน ส.ค. รัฐบาลประกาศยุติการเซ็นเซอร์เนื้อหาก่อนตีพิมพ์ ที่ก่อนหน้านี้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ไปจนถึงเนื้อเพลง หรือนิทาน ต้องถูกส่งให้ทางการตรวจสอบเนื้อหาก่อนตีพิมพ์ ขณะเดียวกัน วารสารของเอกชนจะอนุญาตให้ตีพิมพ์รายวันได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. นี้

สมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Border) ระบุว่า อันดับของพม่าในดัชนีด้านเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก (Press Freedom Index) ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 151 จากทั้งหมด 179 ประเทศ ในปี 2556 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18 อันดับ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น