xs
xsm
sm
md
lg

เปิดตัว “กบของเฮเลน” นักโดดร่มตัวยง ในป่าเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>โฉมหน้า กบบินของเฮเลน (Helens Flying Frog) หรือ ตัวปาดบินได้ซึ่งเป็นชนิดใหม่ของสายพันธุ์ อาจจะพออนุมานเรียกเป็น เขยตีนโต .. ดูเท้าของเขาไม่ใช่ธรรมดามันทำให้ บิน ได้ และเป็นนักกระโดดร่มตัวยง กระโดดไปได้ทั่วป่าใกล้นครโฮจิมินห์ ผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลียประกาศการค้นพบในวารสารเกี่ยวกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำฉบับล่าสุดในสัปดาห์นี้. -- REUTERS/Australian Museum/Jodi Rowley/Handout. </b>
.

ซิดนีย์ (เอเอฟพี) 15 ม.ค. - นักวิจัยชาวออสเตรเลียที่ค้นพบตัวปาดชนิดใหม่ที่บินได้ในป่าใกล้กับนครโฮจิมินห์ และตั้งชื่อตามชื่อคุณแม่ของเธอกล่าวในวันอังคารนี้ว่า เป็นการค้นพบในเขตใกล้กับเมืองใหญ่ที่หาได้ยากยิ่ง โจดี โรว์ลีย์ (Jodi Rowley) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำแห่งพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย (Australian Museum) ในนครซิดนีย์ พบมันตั้งแต่ปี 2552 ในเขตป่าชานนครที่รู้จักกันในชื่อไซ่ง่อนเมื่อก่อน

ตอนแรกๆ ที่พบมันนั่งอยู่บนขอนไม้ริมทางเดิน โรวลีย์คิดว่าตัวปาดที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้และบินได้โดยมีฝ่าเท้าที่เป็นพังผืดขนาดใหญ่ที่ทำให้มันร่อน หรือกระโดดข้ามไปข้ามมาในเขตป่านี้ เป็นชนิดที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

จนกระทั่งได้กลับไปอีกครั้งหนึ่ง เธอจึงได้พบเจ้าตัวที่เป็นของแท้ๆ ในอีกย่านหนึ่งของเวียดนาม จึงทำให้เธอตระหนักว่า มันเป็นอีกชนิดหนึ่งที่แตกต่างออกไปอย่างแท้จริง

“ชนิด (แรก) ที่พบมีท้องสีขาวสดใส และตาขาวที่ขาวจัดเด่นชัด แต่ชนิดที่ฉันพบครั้งหลังท้องเป็นสีเหลืองเลมอน และนัยน์ตาขาวของมันก็เป็นสีเหลือง ซึ่งฉันคิดว่าคงเป็นญาติที่ใกล้ชิดของมัน” โรวลีย์กล่าวกับเอเอฟพี

“สีพังผิดของมันก็ต่างออกไปเช่นเดียวกับสีบริเวณต้นขา เราดูตลอดตัวของมันแล้ว มันดูตัวโตกว่าอีกชนิดที่พบก่อน”

ผลการวิจัยโมเลกุลได้ยืนยันความสงสัยของโรวลีย์ ซึ่งเธอได้ตั้งชื่อให้มันว่า rhacophorus helenae หรือกบบินของเฮเลน (Helen's Flying Frog) เพื่อเป็นเกียรติแก่มารดาของเธอ ที่การตรวจเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า เป็นมะเร็งที่มดลูก

เธอบอกว่า ตัวปาดชนิดใหม่ที่น่าประทับใจซึ่งยาวตลอดลำตัว 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) นี้ นับเป็นการค้นพบแบบเซอร์ไพรส์ในป่าพื้นที่ราบ ที่ห้อมล้อมไปด้วยนาข้าวในเขตนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในเวียดนาม

“มันเป็นการค้นพบที่หาได้ยากด้วยความเป็นจริงที่ว่า ฉันพบมันอยู่โดดๆ อยู่ห่างจากใจกลางนครโฮจิมินห์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงไม่ถึง 90 กิโลเมตร” โรวลีย์กล่าว

ปัจจุบัน นักวิจัยกำลังพยายามหาข้อมูลว่ากบบินของเฮเลนนี้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไม่ แหล่งอื่นๆ ที่พบพวกมันอีกก็คือ ในป่าราบทางตอนใต้ของ จ.บี่งทวน (Binh Thuan) และ จ.โด่งนาย (Dong Nai) ซึ่งโรวลีย์กล่าวว่า เธอวิตกกังวลเกี่ยวกับการอยู่รอดของพวกมันมาก

“เราวิตกกันมากก็เพราะว่ามันเป็นป่าพื้นราบ และเป็นป่าแบบเดียวกันกับที่แรดพันธุ์ชวาได้สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 2554 การสูญเสียแหล่งอาศัยของพวกมันนับเป็นประเด็นใหญ่” โรวลีย์กล่าว

การค้นพบของโรวลีย์ร่วมกับนักวิจัยอีกหลายคนจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ (University of Science) นครโฮจิมินห์ ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Herpetology ฉบับล่าสุด.
.
 <bR><FONT color=#000033>โจดี โรวลีย์ (Jodi Rowley) ผู้พบกล่าวว่า ตัวที่เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อ 2552 แถบที่ท้องสีขาวจัดเช่นเดียวกับนัยน์ตาขาว แต่ไม่ได้คิดว่ามีอะไรต่างจากตัวปาดทั่วไป แต่พอไปพบตัวในภาพนี้ซึ่งมีท้องสีเหลืองเล็มม่อน นัยน์ตาขาวก็เป็นสีเหลือง จึงทำให้มั่นใจว่าพวกมันแตกต่างไปจากชนิดอื่นและตัวที่พบก่อนอาจจะเป็นญาติที่ใกล้ชิดของเจ้าตาเหลืองตีนโตนี้. ---- REUTERS/Australian Museum/Jodi Rowley/Handout.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น