xs
xsm
sm
md
lg

เศรษฐีซาอุฯ ควัก $50 ล้าน ช่วยเหลือโรฮิงญาในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นักเคลื่อนไหวชาวอิสลามราว 300 คนชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ตาวันที่ 9 ส.ค.2555 เรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียหาทางหยุดยั้งการเข่นฆ่าชาวโรฮิงญาในพม่า แต่ในประเทศเศรษฐีน้ำมันซาอุดิอาระเบียไม่มีการชุมนุมประท้วงใดๆ พระราชาธิบดีสั่งตูมเดียวให้ส่งความช่วยเหลือ 50 ล้านดอลลาร์เข้าพม่าในทันที. --  REUTERS/Supri.</b>
.

ริยาด (รอยเตอร์) - พระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ แห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงสั่งการให้รัฐบาลส่งความช่วยเหลือไปให้แก่ชาวมุสลิมโรฮิงยาในพม่า เป็นมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ โดยกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เป็นเป้าหมายการปราบปรามของทางการประเทศนั้น นับตั้งแต่การจลาจลที่เกิดขึ้นในเดือน มิ.ย.

รายงานชิ้นหนึ่ง โดยสำนักข่าวของทางการซาอุฯ กล่าวว่า ประชาคมชาวโรฮิงญาได้ “ตกเป็นเป้าการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายด้าน รวมทั้งการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยให้หมดไป การฆาตกรรม ข่มขืน และการบีบบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน”

“พระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์..ได้มีพระราชดำรัสให้ส่งความช่วยเหลือมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ไปให้แก่ชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า” สื่อในซาอุดีอาระเบียรายงานเรื่องนี้ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยไม่มีการกล่าวโทษฝ่ายใดที่เกิดการล่วงละเมิดดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) แถลงในวันที่ 1 ส.ค. ระบุว่า ชาวโรฮิงญาเจ็บปวดกับการถูกจับ ถูกเข่นฆ่า และข่มขืนด้วยน้ำมือของกองกำลังรักษาความปลอดภัยพม่า

ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มนี้ ตกเป็นเป้าการปราบปรามหลังการวางเพลิง และการไล่ไล่ฟันในเดือน มิ.ย. ทั้งโดยชาวโรฮิงญาเอง และชาวพุทธในรัฐระไค กลุ่มเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนกล่าว

แต่พม่า ซึ่งมีชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 800,000 คน ที่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นชนชาติส่วนน้อยอีกกลุ่มหนึ่งในประเทศที่มีชนกลุ่มน้อย และกลุ่มนับถือศาสนาต่างๆ กล่าวว่า พม่าได้ใช้ “ความอดกลั้นอย่างที่สุด” ในการปราบปรามการจลาจลที่ผ่านมาให้สงบลง

ซาอุดีอาระเบียได้ทำตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของมุสลิมทั่วโลก ฐานเป็นถิ่นประสูติของพระมะหะหมัด และยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดจำนวนหนึ่งของศาสนา ทั้งในนครเมกกะ และเมดินา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในกรุงริยาดก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มรณรงค์ประชาธิปไตยอยู่บ่อยๆ ว่า ขาดความเป็นประชาธิปไตย

สัปดาห์ที่แล้ว คณะรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบียได้กล่าวประณามพม่าที่ใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในรัฐทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation) ซึ่งประชุมในวันที่ 31 ก.ค. ที่เมืองเจ็ดดาห์ ได้เรียกร้องประเทศสมาชิกให้ความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮิงญา

กลุ่ม OIC กำลังจะประชุมระดับผู้นำในนครเมกกะในวันอังคารนี้.
.
<bR><FONT color=#000033>ชาวโรฮิงยาที่อาศัยทำกินในประเทศไทยไปชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ในวันที่ 23 ก.ค.2555 ระหว่างที่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ผู้ชุมนุมราว 100 คนเรียกร้องทางการพม่าให้คุ้มครองความปลออภัยให้แก่ชาวโรฮิงยา และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้าแทรกแซงหลังเกิดการจลาจลใหญ่ในรัฐระไค. -- REUTERS/Chaiwat Subprasom. <b>
<bR><FONT color=#000033>ชาวมุนลิมโรฮิงญาถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงกัวลาลัมเปอร์วันที่ 17 มิ.ย.2555 ต่อต้านการจลาจลทางศาสนาที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพม่าและเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าช่วยเหลือ ภายหลังเกิดการปะทะระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญากับชาวพุทธในรัฐยะไข่ ช่วงที่ผ่านมามีการประท้วงคล้ายกันนี้ในอีกหลายประเทศ. -- AFP PHOTO/Mohd Rasfan.<b>
<bR><FONT color=#000033>ผู้ประท้วงชาวปากีสถานคนหนึ่งจัดไฟเผาธงชาติพม่า ระหว่างการชุมนุมประท้วงในเมืองมุลตัน (Multan) วันที่ 27 ก.ค.2555 ต่อต้านการเข่นฆ่าชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า กลุ่มตอลิบานในปากีสถานถึงกับประกาศจะโจมตีพม่าฐานเข่นฆ่าญาติพี่น้องชาวอิสลามของพวกเขา แต่ปากีสถานก็เป็นชาติมุสลิมแห่งแรกๆ ที่ปฏิเสธจะรับชาวโรฮิงญาในพม่าไปตั้งถิ่นฐาน. -- AFP PHOTO/SS Mirza.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น