xs
xsm
sm
md
lg

รมต.ต่างประเทศตุรกีเยือนพม่าสังเกตสถานการณ์ยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายอาห์เมต ดาวูโตกลู รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี. -- AFP PHOTO/Adem  Altan. </font></b>

เอเอฟพี - นายอาห์เมต ดาวูโตกลู รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี เดินทางออกจากกรุงอังการา มายังพม่าวานนี้ (8) เพื่อเข้าสังเกตสถานการณ์ในพม่า หลังทางการตุรกีได้รับรายงานขัดแย้งเกี่ยวกับเหตุรุนแรงทางศาสนา

“ทางการพม่าระบุ ยอดผู้เสียชีวิตราวร้อยคน แต่แกนนำมุสลิมในยะไข่ที่ตุรกีติดต่อด้วยนั้น ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน” นายดาวูโตกลู กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงอังการา ก่อนออกเดินทาง

นายดาวูโตกลู เดินทางมาพร้อมกับเวชภัณฑ์ และสิ่งของที่ได้รับบริจาครวบรวมโดยสภากาชาดตุรกี ที่จะส่งให้แก่ชาวมุสลิมมากกว่า 50,000 คน และชาวพุทธ 20,000 คน ที่อพยพไร้ที่อยู่เนื่องจากความขัดแย้ง

“ข้อมูลที่เราได้รับ หรือประชาคมโลกได้รับขัดแย้งกันอย่างมาก” นายดาวูโตกลูกล่าว

การต่อสู่ในรัฐยะไข่ ระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมโรฮิงญา ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 80 คน จากทั้งสองฝ่าย นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. เป็นต้นมา รวมทั้งที่เสียชีวิตล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ (5) อีก 6 คน ทางการพม่าระบุ

รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีระบุว่า เขาต้องการเดินทางด้วยตนเอง และสังเกตสถานการณ์จากความเป็นจริงเพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้มั่นใจว่า ความช่วยเหลือถึงมือประชาชน

กระทรวงต่างประเทศตุรกีอ้างในคำแถลงฉบับหนึ่งว่า ความช่วยเหลือจากตุรกีเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศครั้งแรกที่พม่ายอมรับ นอกเหนือจากความช่วยเหลือที่ได้รับจากโครงการของสหประชาชาติ

ความรุนแรงเริ่มต้นขึ้นในเดือน มิ.ย. หลังเกิดเหตุข่มขืน และฆ่าหญิงชาวยะไข่ และเหตุรุมประชาทัณฑ์มุสลิม 10 คน จากกลุ่มชาวพุทธที่โกรธแค้น

เหตุนองเลือดที่เกิดขึ้น บดบังการปฏิรูปที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคน และการเลือกตั้งนางอองซานซู จีเข้าสู่รัฐสภา

รายงานของฮิวแมนไรท์วอช ระบุว่า กองกำลังของพม่าเปิดฉากโจมตีโรฮิงญา กระทำการข่มขืน และเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งให้โจมตีกัน นอกจากนั้น ทางการยังล้มเหลวที่จะคุ้มครองทั้งสองฝ่าย ทั้งยังใช้ความรุนแรง และกวาดต้อนชาวโรฮิงญา

การเลือกปฏิบัติที่ยาวนานหลายทศวรรษ ทำให้ชาวโรฮิงญาไร้สัญชาติ ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า ชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดในโลก

รัฐบาลพม่า กำหนดให้ชาวโรฮิงญาที่มีอยู่ในประเทศราว 800,000 คน เป็นชาวต่างชาติ ขณะที่ชาวพม่ามองว่า ชาวโรฮิงญาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ชาติสมาชิกอาเซียน กำลังพิจารณาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เผชิญกับความเจ็บปวด และทุกข์ทรมานในพม่า เลขาธิการอาเซียนกล่าววานนี้ (8) และว่า อาเซียนควรเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา.
กำลังโหลดความคิดเห็น