xs
xsm
sm
md
lg

เหตุรุนแรงครั้งล่าสุดในรัฐยะไข่มีผู้เสียชีวิต 3 คน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียชูป้ายประท้วงข้อความ หยุดเข่นฆ่าโรฮิงญา และ ให้ความปลอดภัยแก่โรฮิงญา ขณะชุมนุมที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ตา<i>วันจันทร์ 6 ส.ค.นี้</i> วันเดียวกันมีรายงานความรุนแรงรอบใหม่ในรัฐยะไข่และมีผู้เสียชีวิตอีก สหรัฐประชาชาติกล่าวว่าชนชาติส่วนน้อยไร้ดินแดนกลุ่มนี้ถูกทางการพม่าจำกัดสิทธิ์และถูกละเมิดสิทธิต่างๆ มานานหลายทศวรรษ. -- AFP PHOTO/Romeo Gacard.</b>
.

เอเอฟพี - ความรุนแรงระหว่างชาวพุทธและมุสลิมโรฮิงญาครั้งล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ในพม่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าระบุวันนี้ (6 ส.ค.) ท่ามกลางความวิตกที่เพิ่มสูงขึ้นของนานาชาติเกี่ยวกับความไม่สงบทางศาสนา

รายงานของทางการพม่าระบุว่า การต่อสู้ในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 80 คน จากทั้งสองฝ่ายนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. แม้ว่าทางการจะระบุว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้

ผู้เสียชีวิตล่าสุดที่ยังไม่ได้ระบุเอกลักษณ์บุคคลทั้ง 3 คน เสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ (5) ในเมืองจ๊อกตอว์ ห่างจากเมืองซิตตะเว ไปทางเหนือราว 100 กม. และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 5 คน

"สถานการณ์อยู่ในความสงบและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เราไม่ทราบว่าทำไมเหตุการณ์ถึงเกิดขึ้นอีกครั้ง" เจ้าหน้าที่พม่ารายหนึ่ง กล่าว

ความรุนแรงเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิ.ย. หลังเกิดเหตุข่มขืนและฆ่าหญิงชาวยะไข่ และเหตุรุมประชาทัณฑ์มุสลิม 10 คน จากกลุ่มชาวพุทธที่โกรธแค้น

เหตุนองเลือดที่เกิดขึ้นบดบังการปฏิรูปที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมืองหลายร้อยคนและการเลือกตั้งนางอองซานซูจีเข้าสู่รัฐสภา

รัฐบาลพม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาการล่วงละเมิดของกองกำลังรักษาความปลอดภัยในรัฐยะไข่ หลังสหประชาชาติยกประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการปราบปรามมุสลิม

รายงานของฮิวแมนไรท์วอชระบุว่า กองกำลังของพม่าเปิดฉากโจมตีโรฮิงญา กระทำการข่มขืนและเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งให้โจมตีกัน นอกจากนั้นทางการยังล้มเหลวที่จะคุ้มครองทั้งสองฝ่าย ทั้งยังใช้ความรุนแรงและกวาดต้อนชาวโรฮิงญา

การเลือกปฏิบัติที่ยาวนานหลายทศวรรษทำให้ชาวโรฮิงญาไร้สัญชาติ ซึ่งสหประชาชาติระบุว่า ชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดในโลก.
กำลังโหลดความคิดเห็น