xs
xsm
sm
md
lg

รับรางวัลโนเบลประวัติศาสตร์ “ซูจี” ลั่นสร้างปรองดองในพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นางอองซานซูจี ขณะกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีรับรางวัลโนเบล ที่ศาลากลางกรุงออสโลว์ นอร์เวย์ วันที่ 16 มิ.ย. --AFP PHOTO/POOL/Daniel Sannum Lauten.  </font></b>
.

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ในวันนี้ (16 มิ.ย.) ให้คำมั่นที่จะเดินหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป ขณะกล่าวสุนทรพจน์รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่ได้รับเมื่อ 21 ปีก่อนขณะถูกควบคุมตัวภายในบ้านพัก

1 ปีของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในพม่า นางอองซานซูจีให้คำมั่นที่จะทำงานเพื่อความปรองดองแห่งชาติ แต่ชี้ว่า นักโทษการเมืองที่เหลืออยู่ และความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ยังคงมีอยู่ในประเทศของนาง

อองซานซูจีกล่าวว่า พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย และตนเองพร้อมและตั้งใจที่จะทำหน้าที่ในทุกบทบาทในกระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติ

นางซูจีแต่งกายด้วยชุดโสร่ง มีผ้าพันคอสีม่วง พร้อมดอกไม้ประดับที่ผม ได้รับการปรบมือแสดงความชื่นชมอย่างกึกก้องภายในศาลากลางกรุงออสโลว์ ที่มีทั้งราชวงศ์ ผู้ทรงเกียรติ และชาวพม่าพลัดถิ่นเข้าร่วมในงานนี้

นางซูจีกล่าวว่าต้องการให้สนับสนุนพม่าอย่างระมัดระวัง ในการเปลี่ยนผ่านจากการปกครองระบอบทหารไปสู่ประชาธิปไตย ภายใต้รัฐบาลกึ่งพลเรือนของประธานาธิบดีเต็งเส่ง โดยระบุว่าการระมัดระวัง ไม่ใช่เป็นเพราะไม่มีความเชื่อในอนาคต แต่เพราะไม่ต้องการให้สนับสนุนด้วยความเชื่อศรัทธาแบบตาบอด

แม้ว่ารัฐบาลได้ลงนามหยุดยิงกับกลุ่มกบฎชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม แต่เหตุนองเลือดยังคงเกิดขึ้น ทั้งความขัดแย้งกับกองกำลังเอกราชกะฉิ่นในภาคเหนือ และเหตุความไม่สงบระหว่างชาวพุทธ และชนกลุ่มน้อยมุสลิม

“ความรุนแรงยังไม่ยุติลงในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งในพื้นที่ตะวันตก การวางเพลิงและสังหารเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันก่อนที่ข้าพเจ้าจะเริ่มการเดินทางที่นำข้าพเจ้ามาสู่ที่นี่ในวันนี้” ซูจี กล่าว

ประชาชน 50 คนถูกสังหาร และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมากในเหตุปะทะกันในรัฐยะไข่ สื่อทางการพม่าระบุวันนี้ (16) และสหประชาชาติเตือนว่า ประชาชนหลายพันคนที่ต้องย้ายที่อยู่เพราะเหตุรุนแรงต้องเผชิญกับความยากลำบากสาหัส

นางซูจีชนะรางวัลโนเบลในปี 2534 แต่ไม่สามารถรับรางวัลได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเกรงว่าจะไม่สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้อีก ในครั้งนั้น นายไมเคิล อารีส สามีและบุตรชาย 2 คน ได้เข้ารับรางวัลดังกล่าวในนามของนางซูจี

นางซูจีที่รณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2531 ในประเทศที่ปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารมาอย่างนาวนาน กล่าวว่าบ่อยครั้งในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในบ้านพักที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกไปเสียแล้ว

“สำหรับข้าพเจ้าการได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ หมายถึงการได้แสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนนอกเหนือขอบเขตพรมแดน” ซูจี กล่าว ทั้งระบุอีกว่า รางวัลโนเบลได้เปิดประตูในหัวใจของนาง

อองซานซูจียังได้เรียกร้องการปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ยังคงเหลืออยู่ในพม่า และเตือนถึงความเสี่ยงที่บุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จักจะถูกลืม และร้องขอให้ผู้ร่วมรับฟังสุนทรพจน์จดจำบุคคลเหล่านั้น และทำทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ที่จะส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการปล่อยตัวอย่างไร้เงื่อนไข

นางซูจีกล่าวขอบคุณทุกคนที่รักในเสรีภาพ และความยุติธรรมที่มีส่วนให้โลกได้รับรู้ถึงสถานการณ์ของพม่า และเพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพม่าทำให้ได้มาอยู่ที่นี่ในวันนี้.




<br><FONT color=#000033> นางอองซานซูจี สัมผัสมือกับนายธอร์บยอร์น แจ็กแลนด์ ประธานคณะกรรมการโนเบล. --AFP PHOTO/POOL/Daniel Sannum Lauten.  </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น