xs
xsm
sm
md
lg

เปิดตัวเลขประวัติศาสตร์ ทหารเวียดนับหมื่นพลีชีพพิทักษ์ทางหลวงเลข 9

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นาทีสำคัญที่กองกำลังฝ่ายเวียดนามเหนือเข้าโจมตีและขับไล่ทหารอเมริกันกับเวียดนามใต้ออกจากฐานทัพส่วนหน้าที่เดิ่วเหมิ่ว (Đầu Mầu) ในเดือน มี.ค.2515 ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ-รัฐบาลไซ่ง่อนกำลังเปิดการรุกรบครั้งใหญ่หวังตัดเส้นทางลำเลียงโฮจิมินห์ของฝ่ายเวียดนามเหนือ การสู้รบในช่วงนี้ขยายวงเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งทหารเวียดนามใต้พ่ายยับเยินในยุทธการลามเซิน (Lam Sơn) แขวงสะหวันนะเขต แต่ฝ่ายเวียดนามเหนือก็สูญเสียหนักไม่แพ้กัน ไม่ต่างกับอีกยุทธภูมิหนึ่งบนทางหลวงเลข 9 ใน จ.บี่งจิเทียน (Bình Trị Thiên) ซึ่งก็คือ จ.กว๋างจิ (Quảng Trị) ในปัจจุบัน.--- ภาพ: Tuoi Tre/Đoàn Công Tính.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สงครามในยุทธภูมิบนทางหลวงเลข 9 ยุติไป 40 ปีแล้ว การค้นหาศพทหารเวียดนามที่เสียชีวิตในอาณาบริเวณนี้ดำเนินมาเกือบ 20 ปี แต่ก็ยังมีทหารอีกนับหมื่นคนยังไม่ได้กลับบ้าน และการค้นหาก็ยังดำเนินต่อไปอย่างลำบาก สื่อของทางการเปิดเผยเรื่องราวเหล่านี้เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 40 ของสงครามที่สูญเสียมากมายแต่โลกภายนอกรู้จักน้อยที่สุด บนถนนสายยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งปัจจุบัน กลายมาเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบายระหว่างเวียดนาม ลาว และไทย

ขณะที่ต่างประเทศรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสงครามบนเส้นทางโฮจิมินห์ หรือสมรภูมิลามเซินในดินแดนลาวเป็นอย่างดี แต่เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ป้องกันทางหลวงเลข 9 ในเวียดนามมีคนรู้ไม่มาก ทั้งๆ ที่วีรชนเวียดนามนับหมื่นคนได้สละชีพเพื่อภารกิจนี้ นักเขียนที่ชื่อ เลดึ๊กซวุก (Lê Đức Dúc) ระบุดังกล่าวในรายงานชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ปลายสัปดาห์ที่แล้ว

ยังไม่เคยมีการเปิดเผยเกี่ยวกับการสูญเสียกำลังพลในเหตุการณ์สู้รบป้องกันเส้นทางลำเลียงขนส่งสายสำคัญนี้มาก่อน และถ้าหากตัวเลขในรายงานที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ และนำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ภาษาเวียดนามในวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นความจริง ก็นับเป็นการเปิดเผยการสูญเสียครั้งสำคัญของฝ่ายเวียดนามในสมรภูมิหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกับสหรัฐฯ

ทางหลวงเลข 9 ในปัจจุบัน ที่เริ่มจากชายแดนลาว-ไทย ในแขวงสะหวันนะเขต ไปยังเมืองโดงห่า (Đông Hà) จ.กว๋างจิ (Quảng Trị) เป็นเส้นทางการค้าขายมาแต่โบราณกาล และคงความสำคัญมาทุกยุคทุกสมัย ดังจะเห็นได้จากในการเจรจาเซ็นสัญญาสันติภาพปี 2497 ฝ่ายฝรั่งเศสได้พยายามต่อรองให้กำหนดเขตแดนแบ่งเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ โดยยึดเส้นขนานที่ 17 ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป เพื่อที่จะใช้ทางเลข 9 เป็นเส้นทางควบคุมดินแดนอาณานิคมลาวกับเขมรจากภาคเหนือได้

แม้ว่า นายฝั่มวันโด่ง (Phạm Văn Đồng ) หรือ “ฟามวันดง” ที่ชาวไทยรู้จัก อดีตรองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามขณะนั้นไม่ยินยอม แต่การกดดันจากชาติมหาอำนาจต่างๆ ของโลก ทำให้เส้นชายแดนของเวียดนามเหนือต้องถอยร่นจากเส้นขนานที่ 13 ขึ้นไปเป็นเส้นขนานที่ 16 และสิ้นสุดลงที่เส้นขนานที่ 17

จากนั้นก็ได้มีการกำหนด “เขตปลอดทหาร” ขึ้นมาในช่วงสงคราม ซึ่งทำให้สหรัฐฯ กับรัฐบาลเวียดนามใต้ครอบครองทางหลวงยุทธศาสตร์สายสำคัญนี้

หลังเซ็นสัญญาสันติภาพนครเจนีวาได้ไม่นาน ฝ่ายเวียดนามเหนือก็ได้กำหนดแผนการปลดปล่อยภาคใต้ และเกิดเส้นทางยุทธศาสตร์สายโฮจิมินห์ขึ้นมา เพื่อลำเลียงขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ กับทหารเดินเท้าลงสู่ตอนใต้ของประเทศ โดยตัดผ่านเข้าภาคกลางของลาว เลี่ยงเขตปลอดทหารเส้นขนานที่ 17 ก่อนวกเข้าสู่ดินแดนเวียดนาม เพื่อออกสู่ดินแดนลาวอีกครั้ง มุ่งลงไปยังดินแดนกัมพูชา แต่ปัญหาสำคัญก็คือ เส้นทางโฮจิมินห์ช่วงหนึ่งจะต้องตัดผ่านทางหลวงเลข 9 ที่อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ กับรัฐบาลไซ่ง่อน
.
<bR><FONT color=#000033>สุสานวีรชนแห่งชาติที่บริเวณหลัก กม.9 ริมทางหลวงเลข 9 ใน จ.กว๋างจิ (Quảng Trị) สร้างขึ้นสำหรับวีรชนผู้พลีชีพในภารกิจพิทักษ์เส้นทางลำเลียงขนส่งยุทธศาสตร์บนทางหลวงเลข 9 เมื่อ 40 ปีก่อน แต่ถึงวันนี้ก็มีศพฝังอยู่ที่นั่นไม่ถึง 1,000 หลุม แม้การค้นหาจะดำเนินมาเกือบ 20 ปีแล้วก็ตาม และการค้นหายังจะดำเนินต่อไป ขณะที่ยังมีทหารพลีชีพอีกนับหมื่นรายยังสูญหายในเขตป่าเขา ยังไม่ได้กลับคืนสู่อ้อมอกของสังคมและครอบครัว. -- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>
.
“ห้าปีหลังการเจรจาในนครเจนีวา เส้นทางสายหนึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นมาตัดผ่านเจื่องเซิน (เทือกเขาที่กั้นเขตแดนลาวเวียดนาม-ลาว) เพื่อการปลดปล่อยภาคใต้ แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือจะต้องตัดผ่านทางหลวงเลข 9” เลดึ๊กซวุกระบุ

“ในปัจจุบัน เส้นทางจากโดงห่าไปยังลาวบ๋าว (Lao Bảo) ระหว่าง กม.ที่ 41-47 จะเห็นสะพานข้ามลำน้ำสายหนึ่งซึ่งมีแผ่นป้ายเขียนกำกับเอาไว้ว่า --เส้นทางยุทธศาสตร์โฮจิมินห์ตัดผ่านทางหลวงเลข 9--” ซวุกเล่าในรายงานของเขา

เมื่อเส้นทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันของฝ่ายสหรัฐฯ–เวียดนามใต้ ไปตัดกับเส้นทางลำเลียงขนส่งยุทธศาสตร์ของฝ่ายเวียดนามเหนือ การสู้รบรุนแรงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยุทธภูมิทางหลวงเลข 9 เกิดขึ้นในปี 2514 และยุติลงในฤดูร้อนปี 2515 และอีก 5 ปีต่อมาเวียดนามภาคใต้ทั้งหมดก็ได้รับการปลดปล่อย นำมาสู่การรวมประเทศเป็นเวียดนามหนึ่งเดียวเช่นปัจจุบันนี้เมื่อปี 2519

“ถ้าหากไม่มีการต่อสู้พิทักษ์เส้นทางเลข 9 ในวันนั้น ก็ยังมองไม่ออกว่า ประเทศของเราในวันนี้จะเป็นเช่นไร แต่ประวัติศาสตร์ไม่มีคำว่า --ถ้า-- แต่เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว และนำมาสู่การปลดปล่อยประเทศเวียดนามในที่สุด” ซวุกกล่าว

สงครามยุทธภูมินี้ผ่านไปแล้ว 40 ปี สงครามปลดปล่อยชาติก็ผ่านไปแล้วเกือบ 40 ปีเช่นกัน และเบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ การพลีชีพของทหารนับหมื่นคนในภารกิจพิทักษ์เส้นทางขนส่งยุทธศาสตร์
.
 <bR><FONT color=#000033>ปีนี้กับปีโน้นต่างกันลิบลับ อีกไม่กี่ปีข้างหน้ายิ่งจะเปลี่ยนไป จากทางยุทธศาสตร์การทหาร ทางหลวงเลข 9 เปลี่ยนเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นเส้นเลือดสำคัญในอนุภูมิภาค จากท่าเรือด่าหนังชายฝั่งทะเลจีนใต้ในเวียดนามทอดยาวไปจนถึงท่าเรือมะละแหม่ง ชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียในพม่า ภาพจากเว็บไซต์ธนาคารพัฒนาเอเชียที่เห็นอยู่นี้ เป็นภาพจำลองถนนและสะพานข้ามหุบเหวตามรายทางช่วงที่ตัดผ่านเขตป่าเขาที่เป็นสมรภูมิเลือดใน จ.กว๋างจิ (Quảng Trị) เวียดนามเมื่อก่อน คนรุ่นนี้คงจะได้เห็นของจริง.-- ภาพ: Tuoi Tre Online.</b>
.
ในปี 2537 กองทัพประชาชนเวียดนามได้จัดตั้ง “หน่วย 584” ขึ้นมาใน จ.บี่งจิเทียน (Bình Trị Thiên) ในอดีต ซึ่งก็คือ จ.กว๋างจิ ปัจจุบัน เพื่อเป็นหน่วยเฉพาะกิจค้นหาศพทหารที่เสียชีวิตในสมรภูมิทางหลวงเลข 9 การค้นหาเริ่มมาตั้งแต่ปีนั้น แต่ในปัจจุบัน ก็เพิ่งจะมีศพทหารไม่ถึง 1,000 ศพ ถูกนำไปฝังไว้ในสุสานวีรชนแห่งชาติ ที่หลัก กม.7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารที่พลีชีพในดินแดนลาว

ยังมีสุสานวีรชนแห่งชาติอีกแห่งหนึ่งที่เจื่องเซิน (Trường Sơn) ที่นั่นฝังศพ “ทหารที่ไม่ทราบชื่อ” เอาไว้กว่า 1,000 คน ทั้งหมดพลีชีพในภารกิจป้องกันเส้นทางโฮจิมินห์ ส่วนใหญ่เสียชีวิตในการสู้รบในช่วงหลวงเลข 9

ผู้เขียนกล่าวว่า ตนเองเคยติดตามทหารจากหน่วย 584 เข้าค้นหาศพวีรชนที่พลีชีพในเขตป่าเขาชายแดนเวียดนาม-ลาวเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากการค้นหาดำเนินมาเกือบ 30 ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดตอบคำถามได้ว่า จะต้องค้นหาไปอีกนานเท่าไร

“ผมได้ถามผู้พัน (หัวหน้าหน่วย) หลายครั้งเมื่อไรจะจึงหยุดการค้นหาได้ แต่ดูเหมือนท่านไม่สามารถจะตอบได้ เพราะว่ายังมีร่างของทหารนับหมื่นนอนเรียงรายอยู่คู่กับทางหลวงเลข 9” และ “ปีนี้ครบ 40 ปีพอดีนับตั้งแต่ทางหลวงสายนี้ได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ในฤดูร้อนปี 2515 สื่อต่างๆ ในทั่วโลกไม่เคยพูดถึงสงครามบนทางหลวงสายนี้” เลดึ๊กซวุกกล่าว

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์สู้รบในสมรภูมิทางหลวงเลข 9 ถูกบันทึกเอาไว้โดยช่างภาพสนามที่ชื่อ ดว่านกงตี๋ง (Đoàn Công Tính) ซึ่งเจ้าตัวคงจะไม่เคยคิดว่า ผลงานเหล่านั้น จะถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ของชนชาติเวียดนาม ผู้เขียนกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น