xs
xsm
sm
md
lg

สื่อจีนวิเคราะห์ ขีปนาวุธใหม่เวียดนาม อันตรายต่อเรือรบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่ากองทัพประชาชนเวียดนามมีระบบป้องกันชายฝั่ง บาสเตียน (Bastion) P-300 มานาน แต่รุ่นใหม่ล่าสุด K-300P ที่มีระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ล้ำหน้ากว่าและจรวดร่อนยาโค้นต์ (Yakhont) P-800 ที่ประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน เป็นครั้งแรกทื่สื่อกลาโหมจีนพินิจพิเคราะห์ศักยภาพระบบป้องกันและโจมตีของเวียดนามอย่างวิตกกังวล เพราะตระหนักดีว่าสิ่งนี้มีไว้ต่อกรกับแสนยานุภาพทางเรือของจีนที่กำลังพัฒนาไปไกล ขณะที่จีนประกาศครอบครองเกือบ 80% ของเขตน่านน้ำทะเลจีนใต้.   </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นับตั้งแต่สื่อในรัสเซียปูดข่าวออกไปปลายปีที่แล้ว ระบบจรวดนำวิถีป้องกันชายฝั่งรุ่นใหม่ของเวียดนาม ได้กลายเป็นเป้าหมายจับตามองจากทั่วภูมิภาค สื่อกลาโหมในจีนเองก็จับตาใกล้ชิด และสัปดาห์ที่ผ่านมามีอย่างน้อย 2 สำนักที่ออกเตือนรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ให้หามาตรการรับมือเขี้ยวเล็บที่น่าเกรงขามนี้

เวียดนามเป็นเพียงหนึ่งใน 3 ประเทศ ที่มีระบบป้องกันและโจมตีเรือแบบ K--300P “บาสเตียน” (Bastion) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดของระบบขีปนาวุธ ยาโค้นต์ (Yakhont) รุ่น P-800 เป็นหัวใจ และได้นำทั้งสอง 2 ชุด รวมทั้งชุดใหม่ล่าสุดที่ได้รับมอบในเดือน ต.ค.2554 ติดตั้งในเขตภาคกลางของประเทศ

ในขณะที่เว็บไซต์ ChinaDefence ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับขีดความสามารถที่น่าเกรงขามของระบบป้องกันชายฝั่งของเวียดนาม นักวิเคราะห์ของเว็บไซต์ Xinjunshi.com ระบุตรงๆ ว่า “ความสามารถของ K-300P บาสเตียน เป็นภัยใหญ่ที่ข่มขู่คุกคามเรือของเรา เราไม่อาจจะนิ่งดูดายและประเมินศัตรูต่ำเกินไป” หนังสือพิมพ์ออนไลน์เดิ๊ตเหวียด (Báo Đất Việt) รายงานในวันอาทิตย์ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา

เวียดนามเป็นประเทศแรกนอกรัสเซียที่มีระบบป้องกันชายฝั่งแบบนี้ประจำการในกองทัพ

จรวดยาโค้นต์รุ่น P-800 เป็นจรวดนำวิถีซูเปอร์โซนิค ความเร็ว 2.5 เท่าเสียง ใช้สำหรับโจมตีเรือข้าศึก และยังโจมตีเป้าหมายบนบกได้อีกด้วย ชุดที่รัสเซียส่งมอบให้เวียดนามในปลายปี่ที่แล้ว เป็นลอตที่สั่งซื้อตอนต้นปี

ยาโค้นต์ P-800 ปรับให้ปฏิบัติการได้ใน 2 โหมด ให้ร่อนระดับต่ำเหนือน้ำทะเลด้วยความเร็วต่ำกว่า ซึ่งทำให้มีรัศมีทำการ 120 กม.การเคลื่อนที่ต่ำในระดับนั้นทำให้อีกฝ่ายหนึ่งตรวจจับได้ยาก แต่รัศมีการโจมตีจะทำได้ไกลถึง 300 กม.หากใช้โหมดผสมผสาน เคลื่อนที่ในอากาศด้วยความเร็ว 780 ม./วินาที และเคลื่อนที่ในระดับต่ำเหนือผิวน้ำ 680 ม./วินาที เมื่อเคลื่อนเข้าใกล้เป้าหมาย

ตามรายงานของสำนักข่าวเรียโนวอสติของรัสเซีย ระบบ K-300P หนึ่งระบบสามารถควบคุมชายฝั่งได้เป็นระยะทางถึง 600 กม.ระบบเรดาร์ของจรวดยาโค้นต์ P-800 สามารถล็อกเป้าหมายได้จากระยะไกล 50 กม.มีระบบต่อต้านเรดาร์ของอีกฝ่ายหนึ่ง

นักวิเคราะห์ของ Xinjunshi.com กล่าวว่า ภัยที่คุกคามเรือรบของจีนก็คือ ขีดความสามารถในการโจมตีเป็นระยะไกล 300 กม.มีระบบนำวิถีที่กับระบบนำร่องที่ประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับระบบต่อต้านเรดาร์ที่ฝังอยู่ใน K-300P ซึ่งรัสเซียร่วมผลิตกับบริษัทอาวุธเพื่อสงครามอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในสาธารณรัฐเบลารุส
.
<bR><FONT color=#000033>จรวดร่อนยาโค้นต์ (Yakhont) P-800 บรรจุในท่อยิงที่ติดตั้งบนยานขนส่งรุ่นใหม่คันละ 2 ลำ ซึ่งจะอยู่ในแนวนอนยามขนย้าย และอยู่ในแนวตั้งเมื่อจะยิง จรวดรุ่นใหม่ติดเรดาร์ทันสมัยขึ้นและมีระบบต่อต้านเรดาร์ข้าศึก บังคับให้ ร่อน เข้าหาเป้าหมายได้ 2 ระบบ รัศมีทำการไกลถึง 300 กม. ขึ้นอยู่กับลักษณะที่ใช้งาน สื่อกลาโหมจีนกล่าวว่าระบบป้องกันรุ่นใหม่ของเวียดนามเคลื่อนที่ได้เร็วและยากต่อการตรวจจับ.</b>
<bR><FONT color=#000033>การปฏิบัติงานของระบบป้องกัน K-300P ผสมผสานกันหลายส่วน ตั้งแต่การชี้เป้าซึ่งในแผนภูมินี้จำลองด้วยเฮลิคอปเตอร์ติดอุปกรณ์ จะใช้อากาศยานติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าหรือผ่านระบบดาวเทียมสื่อสารได้เช่นกัน ยังมีระบบต่อต้านการรบกวนคลื่นสัญญาณ ระบบต่อต้านเรดาห์ มีศูนย์บัญชาการและสั่งการ ฯลฯ ทั้งหมดติดตั้งในยานพาหนะ สามารถหลบซ่อนหรือติดตั้งในสถานที่ๆอยู่ห่างไกลกันออกไปได้. </b>
.
ระบบ K-300P ยังติดตั้งในยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงรุ่นใหม่ที่ผลิตจากเบลารุสเช่นกัน ซึ่งทำให้การค้นหาเพื่อโจมตีก่อนเป็นไปได้ยากยิ่ง

“ความสามารถของ K-300P นั้น เป็นภัยอันใหญ่หลวงต่อเรือของเรา เราไม่ควรดูเบาเรื่องนี้และเฉยชาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ต่อหน้า” เว็บไซต์เดียวกันกล่าว

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ข่าวกลาโหมของจีน ได้ให้ความสำคัญต่อระบบป้องกันชายฝั่งอีกระบบหนึ่งที่เวียดนามมีใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นคือ 4K51 “รูเบซ” (Rubezh) กับ 4K44B REDUT ที่พัฒนาต่อมา ระบบนี้ตรวจหาเป้าหมายไกลถึง 500 กม.แต่องค์ประกอบอื่นๆ ถือว่าล้าสมัย หากเทียบกับ K-300P แต่ก็ยังเป็นเขี้ยวเล็บที่สำคัญของเวียดนามเช่นกัน

ระบบ K-300P ออกแบบมาเพื่อโจมตีทำลายกองเรือ ขบวนเรือ รวมทั้งกองเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ เรือรบเดี่ยวๆ รวมทั้งเป้าหมายบนบกเช่นฐานเรดาร์ของฝ่ายข้าศึกที่กำกับการโจมตีหรือการบกพลขึ้นบก จรวดร่อนยาโค้นต์ติดตั้งบนยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้ด้วยเร็วสูง ทั้งหมดใช้เวลาติดตั้งเพียง 3-4 นาทีก็อยู่ในสภาพพร้อมรบ และสแตนด์บายได้นาน 3-5 วัน

ปี 2554 เช่นกันซีเรียได้เป็นประเทศที่ 3 ที่มีระบบป้องกันชายฝั่งแบบนี้ใช้งานแต่เป็นรุ่น L-300P โดยรัสเซียส่งมอบให้จำนวน 2 ชุด ในเดือน ธ.ค.ตามสัญญาซื้อขายที่เซ็นกันในปี 2548 การส่งมอบมีขึ้นในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ในขณะที่ซีเรียกำลังปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างหนัก

การติดตั้งระบบ L-300P ในซีเรียได้สร้างความวิตกให้กับหลายฝ่ายในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออิสราเอล ในขณะที่สหรัฐฯ วิตกว่า จรวดนำวิถีประสิทธิภาพสูงนี้อาจตกไปถึงมือกลุ่มก่อการร้ายฮิซบอลเลาะห์

กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวปลายปีที่แล้วว่า การขายอาวุธให้ซีเรียถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกประการ นอกจากจะช่วยซีเรียซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ในตะวันออกกลางมีไว้ป้องกันชายฝั่งแล้ว ระบบอาวุธนี้ยังจะช่วยป้องกันฐานทัพเรือของรัสเซียในซีเรียอีกด้วย
.
<bR><FONT color=#000033>ตามรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ จรวดร่อนยาโค้นต์ (Yakhont) P-800 สามารถติดตั้งในยานพาหนะได้หลายรุ่น ตามความเหมาะสมทางสภาพภูมิศาสตร์ เวียดนามเป็นประเทศแรกนอกรัสเซียที่มีระบบป้องกันรุ่นใหม่ใช้ในกองทัพ ซีเรียเป็นประเทศที่ 3 โดยรัสเซียส่งมอบให้เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่าย. </b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพแสดงให้เห็นระบบป้องกันรุ่นเดียวกันนี้แต่เป็น L-300P ที่ติดตั้งในซีเรียซึ่งนักวิเคราะห์ตะวันตกมองว่าเพื่อรับมือกองทัพเรือตุรกี โดยมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจจะใช้ประเทศนี้เป็นตัวแทนโจมตีซีเรีย แต่สำหรับอิสราเอลสิ่งที่ต้องวิตกไม่ใช่จรวดร่อนยาโค้นต์ หากเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับไหล่ยิงซึ่งซีเรียมีใช้จำนวนมาก สหรัฐฯ ก็เกรงว่าจะตกไปถึงมือกลุ่มหัวรุนแรงและเครื่องบินโดยสารอาจตกเป็นเป้าหมายได้.   </b>
.
อดีตสหภาพโซเวียตได้เช่าฐานทัพเรือตาร์ตูส (Tartous) ของซีเรียที่อยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มาตั้งแต่ปี 2514 ปัจจุบันเป็นฐานทัพนอกประเทศที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียว รัสเซียใช้เป็นฐานสนับสนุนปฏิบัติการของเรือรบในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ

เดือน ธ.ค.ปีที่แล้วรัสเซียได้เคลื่อนกองเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเน็ตซอฟจากทะเลบอลติกไปเยือนฐานทัพตูร์ตูสนัยว่าเพื่อแสดงความเป็นเจ้าเข้าเจ้าครองพื้นที่ ในช่วงเดือนที่รัสเซียส่งมอบระบบป้องกันชายฝั่งรุ่นใหม่ให้แก่ซีเรีย

นักวิเคราะห์มองว่า ระบบ L-300P ในซีเรียไม่ได้มีไว้ข่มขู่อิสราเอล เนื่องจากสงครามใดๆ ระหว่างอิสราเอลกับซีเรียหากจะมีขึ้น ชัยชนะจะชี้ขาดด้วยแสนยานุภาพทางบกกับทางอากาศ เชื่อกันว่าซีเรียมีระบบนี้ไว้ป้องกันการคุกคามของกองทัพเรือตุรกีมากกว่า โดยวิตกว่าสหรัฐฯ อาจจะใช้ตุรกีเป็นตัวแทนในการโจมตี

แต่เวียดนามต่างไปจากซีเรียที่มีระบบชี้เป้าดีกว่าและก้าวหน้ากว่า มีกองทัพเรือกับกองทัพอากาศที่เข้มแข็งกว่า ซึ่งจะช่วยเสริมการป้องกันการโจมตีทางเรือของข้าศึกได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ตะวันตก มองว่า หัวใจของระบบป้องกันนี้ขึ้นอยู่กับการหลบเลี่ยงการตรวจจับ ในขณะที่จรวดยาโค้นต์วิ่งเข้าหาเป้าด้วยควมเร็วระดับซูเปอร์โซนิคมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งในปัจจุบันโลกตะวันตกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ล้วนมีระบบตรวจจับขีปนาวุธโจมตีที่ทันสมัย รับมือจรวดของรัสเซียได้

แต่นักวิเคราะห์ก็มองว่า ระบบที่ใหญ่โตเช่นนี้มีโอกาสที่จะทำให้เรือรบระดับเรือพิฆาต หรือเรือบรรทุกเครื่องบินของอีกฝ่ายหนึ่งถูกทำลายได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นจุดผันแปรสำคัญสำหรับสงครามทางเรือ.
กำลังโหลดความคิดเห็น