นครศรีธรรมราช - “ปลอด” เยี่ยมผู้ประสบภัยแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีฯ ยาหอมสร้างเขื่อนกันคลื่น และท่าเรือปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่ จ.นครศรีธรรมราช ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะได้เดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่บ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อดูข้อเท็จจริง และรับการรายงานจากนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำท้องถิ่น ภายหลังบริเวณหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ของบ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งรุกเข้าสู่พื้นที่ของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในห้วงตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุถนนคอนกรีตและถนนลาดยางในหมู่บ้าน ตลอดจนสิ่งสาธารณประโยชน์ และบ้านเรือนของราษฎรได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ต้องอพยพไปพักอาศัยในสถานที่ปลอดภัยที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนในช่วงของมรสุมเป็นประจำทุกปี
ดร.ปลอดประสพกล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยและเห็นความสำคัญของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย คลื่นถล่มซัดชายฝั่งชายทะเลตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมา โดยเฉพาะที่บ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเกิดเหตุการณ์วาตภัยขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักทุกปี หากไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หมู่บ้านจะถูกคลื่นกัดเซาะหมดอย่างแน่นอน
ดร.ปลอดประสพกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อน และท่าเรือที่มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นแนวป้องกันชายฝั่งและปรับปรุงเป็นจุดท่องเที่ยว โดยใช้หลักการวิศวกรรม ซึ่งจะได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีทราบ น่าจะเห็นผลได้ใน 1-2 ปีนี้ ส่วนการขอใช้พื้นที่ป่าชายเลนเนื้อที่ 150 ไร่ เพื่ออพยพประชาชนใช้เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ ก็จะได้ผลักดันให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน
ที่ จ.นครศรีธรรมราช ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะได้เดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่บ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อดูข้อเท็จจริง และรับการรายงานจากนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำท้องถิ่น ภายหลังบริเวณหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ของบ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งรุกเข้าสู่พื้นที่ของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในห้วงตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุถนนคอนกรีตและถนนลาดยางในหมู่บ้าน ตลอดจนสิ่งสาธารณประโยชน์ และบ้านเรือนของราษฎรได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ต้องอพยพไปพักอาศัยในสถานที่ปลอดภัยที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนในช่วงของมรสุมเป็นประจำทุกปี
ดร.ปลอดประสพกล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยและเห็นความสำคัญของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย คลื่นถล่มซัดชายฝั่งชายทะเลตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมา โดยเฉพาะที่บ้านแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเกิดเหตุการณ์วาตภัยขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักทุกปี หากไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หมู่บ้านจะถูกคลื่นกัดเซาะหมดอย่างแน่นอน
ดร.ปลอดประสพกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อน และท่าเรือที่มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นแนวป้องกันชายฝั่งและปรับปรุงเป็นจุดท่องเที่ยว โดยใช้หลักการวิศวกรรม ซึ่งจะได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีทราบ น่าจะเห็นผลได้ใน 1-2 ปีนี้ ส่วนการขอใช้พื้นที่ป่าชายเลนเนื้อที่ 150 ไร่ เพื่ออพยพประชาชนใช้เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ ก็จะได้ผลักดันให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน