xs
xsm
sm
md
lg

เขมรตีกินตลอด อ้างถอนทหารอีก 1,800 นาย ออกจากชายแดนพระวิหาร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>พล.อ.กุนกิม (ซ้าย) กับบุตรสาวของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา 2 คน คือ ฮุนมะนา กับ ฮุนมะลิ บนเขาพระวิหารในวันที่ 5 ส.ค.2554 ระหว่างไปเยี่ยมสมาชิกครอบครัวทหารที่อาศัยในพื้นที่ 4.6 ตรกม.รอบๆ ปราสาท รองผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชาวอ้างว่า ได้ถอนทหารออกจากชายแดนด้านนั้นอีก 1,800 คนในวันเสาร์ (20 ส.ค.) และเป็นครั้งที่ 5 เป็นการถอนทหารจากพื้นที่นอก เขตปลอดทหารชั่วคราว ของสหประชาชาติ. -- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กัมพูชาอ้างว่า ได้ถอนทหารอีกราว 1,800 นายออกจากบริเวณรอบๆ ปราสาทพระวิหารในวันเสาร์ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าความตึงเครียดตามแนวชายแดนได้ลดลงหลังจากพรรคเพื่อไทยขึ้นจัดตั้งรัฐบาล

การถอนทหารดังกล่าวมีขึ้นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน พล.อ.กุนกิม (Kin Kim) รองผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา กล่าวถึงเรื่องนี้กับสำนักข่าวซินหวาของจีน

ความเคลื่อนไหวนี้ยังมีขึ้นหลังจาก พล.อ.ชุมสุชาติ (Chhum Socheat) โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา อ้างเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ฮุนเซนได้สั่งถอนทหารจำนวนหนึ่งออกจากชายแดนด้านปราสาทตาเมือน กับปราสาทตาควาย ที่อยู่ห่างออกไปราว 150 กม.ทั้งหมดได้กลับคืนสู่ที่ตั้ง อ.อันลองแวง (Anlong Veng) จ.อุดรมีชัย

ถอนออกไปครั้งล่าสุดนี้เป็นทหารสังกัดกองพลน้อยที่ 9 ที่ประจำอยู่ ในเขตจักจแรง (Chak Chreng) ทางตะวันตกของปราสาทพะวิหาร ทั้งหมดจะกลับไปสู่ที่ตั้งใน อ.จอมกะสาน ที่อยู่ใกล้กับชายแดน

พล.อ.กุนกิมยังกล่าวอ้างอีกว่า ทหารทั้ง 1,800 นาย ประจำอยู่นอกเขตปลอดทหาร ที่ศาลโลกกำหนดขึ้นในวันที่ 18 ก.ค. 2554 อันเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อพิทักษ์ปราสาทพระวิหารไม่ให้ได้รับความเสียหายจาการสู้รบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจาก “การรุกรานของไทย”

พล.อ.เจียดารา (Chea Tara) รองผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา ที่รับผิดชอบชายแดนด้านนี้กล่าวอ้างว่า การถอนทหารเมื่อวันเสาร์เป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.เป็นต้น ไม่นานหลังจากพรรคเพื่อไทย ที่มีนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สนับสนุนชนะการเลือกตั้งและต่อมาจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ

ชายแดนปราสาทพระวิหารกลายเป็นพื้นปะทะกันรอบใหม่ในต้นเดือน ก.พ.ปีนี้ ขณะที่กัมพูชากำลังรณรงค์อย่างหนัก เพื่อทำให้ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การสหประชาชาติ เห็นว่า เป็น “สงครามชายแดน” และเป็นการการรุกรานจากประเทศไทย

นายกฯ กัมพูชา โกหกชาวโลกว่า ทหารไทยได้ยิงปืนใหญ่กว่า 400 นัด ถล่มปราสาทพระวิหาร ซึ่งทำให้ปราสาท “พังไปแถบหนึ่ง” และขอให้ระหว่างประเทศช่วยคุ้มครองปราสาทเก่าแก่ให้พ้นจากการก้าวร้าวรุกรานของไทย

อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายของสำนักข่าวต่างประเทศแห่งต่างๆ ได้เปิดเผยให้เห็นว่า ทหารกัมพูชาใช้ปราสาทอายุ 900 ปี เป็นที่ตั้งและยิงถล่มฝ่ายไทยจากที่นั่นด้วยปืนใหญ่ และอาวุธหนักต่างๆ ซึ่งทำให้ไทยยิงโต้ตอบกลับไป

แต่ปราสาทพระวิหารก็ไม่ได้ “พังไปแถบหนึ่ง” ตามที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวอ้างด้วยตนเองระหว่างให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งในกรุงพนมเปญ

กัมพูชาไม่ประสบความสำเร็จในการรณรงค์ขอให้องค์การสหประชาชาติ ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าประจำในพื้นที่อย่างเร่งด่วน

แต่การสู้รบได้ปะทุขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือน เม.ย.คราวนี้อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกที่ชายแดนด้านปราสาทตาเมือน กับตาควาย ซึ่งนักวิเคราะห์ลงความเห็นว่า เป็นความจงใจของกัมพูชาที่จะให้เกิดการปะทะขึ้น ขณะที่ นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกำลังอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

กัมพูชาได้ขอให้ศาลระหว่างประเทศมีคำสั่งเร่งด่วนคุ้มครองปราสาทพระวิหาร ให้ไทยถอนทหารจากพื้นที่รอบๆ และห้ามเคลื่อนไหวทางทหารทุกชนิดตามแนวชายแดน

ศาลโลกปฏิบัติตามที่กัมพูชาร้องขอโดยอ้างว่ามีสิทธิ์ทำได้ และได้ยกเลิกคำร้องขอของไทยที่ให้ศาลยกคำร้องของกัมพูชา

ต่อมาในเดือน ก.ค.ศาลระหว่างประเทศได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยประกาศเขตปลอดทหารรอบๆ ปราสาทครอบคลุมพื้นที่กว่า 10 ตร.กม.ให้สองฝ่ายถอนทหารออก และให้กองกำลังสังเกตการณ์ของกลุ่มอาเซียนเข้าประจำการ จนกว่ากระบวนการในศาลโลกจะแล้วเสร็จ

ศาลสูงสุดของสหประชาชาติจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ตามที่ฝ่ายกัมพูชาร้องขอ

แม้ว่าศาลจะพิพากษายกปราสาทให้ตกเป็นของกัมพูชา ขณะที่สองฝ่ายยังคงกล่าวอ้างสิทธิเหนือพื้นที่โดยรอบ และฝ่ายไทย กล่าวว่า คำพิพากษาดังกล่าวไม่ใช่การกำหนดเขตแดน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจของศาลโลก
กำลังโหลดความคิดเห็น