xs
xsm
sm
md
lg

เชิญยิกๆ ให้ไปเยือน บุ่มบ่ามระวังโดนเขมรเคี้ยว- (ความคิดเห็น)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ใครจะโดนเคี้ยวก่อน -- พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประะภา กับ ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ กับ รมว.ต่างประเทศมือใหม่หัดขับ กำลังเผชิญหน้ากับคู่ตำแหน่งที่เหนือกว่ากันมากมายทั้งชั้นเชิงและประสบการณ์ และเป็นฝ่ายกระทำมาโดยตลอด  ในหลายโอกาสไม่ได้ให้ความสำคัญกับมารยาทการทูต การต่างประเทศของไทยได้กลับเข้าสู่ยุคข้าราชการประจำจะต้องกำกับและฝึกปรือนักการเมืองที่อ่อนประสบการณ์กันอีกครั้ง. --AFP PHOTO/Pornchai Kittiwongsakul. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บรรดาผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ร้าวระหว่างกัมพูชากับไทยช่วงหลายปีมานี้ พากันออกแซ่ซ้องรัฐบาลใหม่ของไทยตั้งแต่ไก่โห่ ในขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมเตียบัญ กับรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮอนัมฮอง ต่างยื่นคำเชิญให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่ในกรุงเทพฯ ไปเยือน โดยใช้สถานการณ์ที่พวกเขาเชื่อว่า กำลังเป็นต่อทางการทูต กดดันคู่ตำแหน่งฝ่ายไทยที่อ่อนด้อยกว่าด้วยประสบการณ์

นายฮองได้ออกคำเชิญในวันพุธ 10 ส.ค.นี้ ให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปเยือน และ แสดงความหวังว่าจะสามารถร่วมกันนำสองประเทศก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ได้ ในวันเดียวกัน พล.อ.เตีย บัญ ก็ได้เชิญ พล.อ.ยุทธศักดิษ์ ศศิประภา รมว.กลาโหมคนใหม่ไปพนมเปญอีกคน

เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่จะไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแนะนำตัวเองและทำความรู้จักมักคุ้น แต่ก็เป็นวิถีปฏิบัติทางการทูตอันเคร่งครัดอีกเช่น ที่คู่ตำแหน่งในอีกประเทศหนึ่งจะต้องเยือนต่างตอบแทน (Reciprocation) ตามวาระ

ที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ อดีต รมว.การต่างประเทศเคยไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ และถึงคิวที่นายฮองจะต้องเป็นฝ่ายเยือนตอบ

ไม่ต่างกันกับ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ที่ไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการมาแล้วเช่นกัน และ ยังนำคณะไปเจรจาอีกหลายครั้งทั้งในตำแหน่ง รมว.กลาโหม และประธานคณะกรรมการชายแดนของฝ่ายทหาร ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาบ่ายเบี่ยงที่จะมาเยือนต่างตอบแทนโดยตลอด อ้างว่าการเจรจากับฝ่ายไทยไม่คืบหน้าบ้าง บ้างก็ว่าบรรยากาศไม่อำนวย

และบัดนี้ต่างก็ถึงเวลาที่ฝ่ายกัมพูชาจะต้องเดินทางมาเยือนไทย ตามวิถีปฏิบัติ

การโหมรณรงค์ "ทอดสะพาน" ของสองรัฐมนตรีคนสำคัญ เป็นความพยายามสร้างภาพทำให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายรักสันติ ปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์อันดีกับไทย เป็นการณรงค์ต่อเนื่องจากเดือน มิ.ย. หลังจากศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกมีคำสั่งให้สองฝ่ายทหารจากพื้นที่ 4.6 ตรกม.รอบๆ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้กลายเป็นเขตปลอดทหาร เพื่อให้หน่วยสังเกตการณ์ของอาเซียนเข้าประจำการ

เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนได้เปิดแถลงข่าวแสดงความยินดีต่อคำสั่งของศาลโลกยกใหญ่ พร้อมโชว์ร่างความตกลงที่ส่งถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติฉบับหนึ่ง ประธานกลุ่มอาเซียนฉบับหนึ่ง และ ส่งถึงรัฐบาลไทยอีกฉบับหนึ่ง เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว

การเสนอตัวเอง หรือ เปิดเผยท่าที่ของตน หรือ "เอ็กโปเซ" (Expose) ในทางการทูตไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถึงขั้นเสนอร่างเอกสารทางการ ยัดใส่มือให้อีกฝ่ายหนึ่งร่วมลงนามและกลายเป็นสัญญาระหว่างประเทศนั้น ต้องถือเป็นการล้ำเส้นอย่างน่ารังเกียจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำดังกล่าวมีขึ้นขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ระหว่างรักษาการ ซึ่งโดยมารยาทย่อมจะไม่ดำเนินการเรื่องใดๆ ที่จะเป็นความผูกพันระหว่างประเทศ
.
<bR><FONT color=#000033>นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญานในวันพุธ 10 ส.ค.2554 หากว่าด้วยเรื่องโหละ เครื่องกลึง เครื่องจักรเครื่องกล หรือการก่อสร้างอาจจะเก่งกาจระดับเทพ แต่การต่างประเทศเป็นเรื่องใหม่โดยสิ้นเชิง ซ้ำยังถูกมองเป็นเด็กกดปุ่มให้ขึ้นสู่ตำแหน่งโดยมีวาระแอบแฝง ขณะเดียวกันกลับถือเกียรติยศและชื่อเสียง ตลอดจนผลประโยชน์มหาศาลของประเทศและประชาชนในมือเป็นเดิมพัน. --AFP PHOTO/Pornchai Kittiwongsakul. </b>
.
สิ่งที่ฮุนเซนกระทำ เป็นเสมือนการยัดเยียดให้รัฐบาลชุดใหม่ของไทย ตกเป็นผู้ต้องหาในสายตาของนานาชาติ

ข้อเสนอของผู้นำกัมพูชายังมีขึ้นในขณะที่ชาวไทยทั่วประเทศ เตรียมจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา และได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 5 เดือนนี้ ได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่อย่างสมบูรณ์ในวันพุธ

แต่ในด้านการต่างประเทศนั้น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่อีกยุคหนึ่ง ที่ข้าราชการประจำ จะต้องชี้นำและกำกับนักการเมืองที่อ่อนด้อยประสบประการณ์ด้านนี้

พล.อ.ยุทธศักดิ์วัย 74 ปี มีความช่ำชองพอสมควรหลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร แต่ก็ยังเทียบชั้นไม่ได้กับ พล.อ.เตีย บัญ ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวในตำแหน่งนี้มานานกว่า 30 ปีคู่บัลลังก์ฮุนเซน

เกิดปี พ.ศ.2488 ใน จ.เกาะกง ในชื่อ "นายเตีย สังวร" (Tea Sangvan) หรือ "สังวร หินกลิ้ง" บิดาเป็นชาวไทย-เขมรเชื้อสายจีน ครอบครัวของมารดาเป็นคนไทย เชื้อชาติไทย

พล.อ.เตียบัญ ฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย ได้ดีเท่าๆ ภาษาเขมร อ่านหนังสือพิมพ์ไทย รับฟังข่าวสารผ่านวิทยุโทรทัศน์ไทย รู้ซึ้งถึงนิสัยใจคอของคนไทย และธรรมชาติของนักการเมืองไทยที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษ

นายฮอนัมฮอง เกิดในปี พ.ศ.2478 ปัจจุบันอายุ 76 แม้ผู้ใกล้ชิดบางคนจะบอกว่าข้อมูลนี้ไม่ถูกต้องก็ตาม แต่นายฮองเติบโตและเป็นนักการทูตมาชั่วชีวิต เคยประจำสถานทูตสาธารณรัฐกัมพูชาประจำกรุงวอชิงตันดีซี ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ลอนนอล (2515-2518) จากนั้นได้รับใช้รัฐบาลเขมรแดงของกลุ่มโปลโป้ท-เอียง สารี-เคียว สมพร ก่อนจะแปรพักตร์ไปร่วมกับกลุ่มเพ็ญ สุวรรณ-เจีย ซิม-เฮง สัมรินและฮุนเซน ซึ่งอยู่ในอำนาจมาจนถึงวันนี้
.
<bR><FONT color=#000033>นายสังวร หินกลิ้ง ในอดีตซึ่งกลายเป็นรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาในวันนี้ สัมผัสมือทักทาย พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม ของไทยระหว่างไปประชุม รมว.กลาโหมอาเซียนในกรุงจาการ์ตา 18 พ.ค.2554   สัปดาห์นี้ พล.อ.ประวิตร กลายเป็นเพียงนักการเมืองไทยอีกคนหนึ่งที่ผ่านเข้าไปในชีวิตของ พล.อ.เตีย บัญ ในช่วงกว่า 30 ปีมานี้ ไม่ต่างไปจาก พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ซึ่งเป็นคิวต่อไป. --  REUTERS/Beawiharta. </b>
<bR><FONT color=#000033>ปู่ฮอง หรือ เฒ่าฮอง ตามที่ข้าราชการเรียกขานในยามอยู่ลับหลัง ว่ายเวียนอยู่ในวงการระหว่างประเทศมานาน 30 ปีเช่นกัน เป็น รมว.ต่างประเทศมา 2 ยุค ทั้งในยามสงครามและยามสันติ หาก รมว.ต่างประเทศมือใหม่ของไทย ต้องการจะทราบอะไรมากกว่านี้ ก็มีเหตุผลอันสมควรที่จะต้องเดินเข้าไปหา นายกษิต ภิรมย์ ซึ่งขับเคี่ยวกับนายฮองเป็นคนล่าสุด. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</b>
.
"ปู่ฮอง" ตามที่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาเรียกในยามลับหลัง เป็นผู้ช่วยของฮุนเซนนานหลายปีครั้งผู้นำได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศขณะอายุเพียง 32 ปี และ ไม่กี่ปีต่อมาได้สวมหวกรองนายกฯ อีกใบหนึ่งด้วย นายฮองเป็นครูฝึกผู้ถ่ายทอดวิทยายุทธทางการทูตให้กับฮุนเซน

ทั้งคู่ผ่านชีวิตนักการทูตมาในยุคสงครามเย็น และ มีค่ายสังกัดอย่างชัดเจน จึงแพรวพราวด้วยเชิงการทูตของค่ายหลังม่านเหล็กที่กฎกติกาเป็นเพียงตัวอักษร

นายฮองได้ขึ้นเป็นเจ้ากระทรวงครั้งแรกระหว่างปี 2533-2536 ทั้งก่อนและระหว่างกัมพูชาปกครองโดยคณะบริหารที่แต่งตั้งจากสหประชาชาติ กับอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับนายสุรพงษ์ เกิดปี 2496 อายุ 58 ปี สำเร็จปริญญาโทและปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ถึงแม้ผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดบางคนจะเคยกระซิบกระซาบว่า ภาษาอังกฤษของ รมว.ต่างประเทศคนใหม่ของไทยจะอยู่ในระดับ "ครึ่งๆ กลางๆ" ก็ตาม

แต่ที่ดูเลวร้ายยิ่งกว่าก็คือ นายสุรพงษ์ไม่เคยมีประสบการณ์ใดๆ ทางการทูต การระหว่างประเทศ และถูกมองว่าก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนี้ด้วยคำสั่งจากทางไกล และ มีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง

โชคร้ายมากกว่านั้นก็คือ รัฐมนตรีต่างประเทศเป็นหน้าตาของชาติและประชาชน ในหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ ยึดถือรัฐมนตรีต่างประเทศเป็น "เบอร์ 2" รองจากประธานาธิบดีเท่านั้น

ทั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ และ นายสุรพงษ์ กำลังเผชิญหน้ากับคู่ตำแหน่งที่มีประสบการณ์มากกว่า ผ่านสมรภูมิการต่างประเทศมาโชกโชนกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ฝ่ายไทยถือผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนไทย รวมทั้งมรดกที่ปู่ย่าตายายช่วยกันรักษามานานหลายทศวรรษอยู่ในมือเป็นเดิมพัน

ผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ที่จะต้องพันตูกับเรื่องนี้ พึงต้องสังวรให้จงหนักถึงฐานะตำแหน่ง เกียรติยศและชื่อเสียงของประเทศซึ่งบรรพบุรุษพยายามธำรงรักษากันมาแต่โบราณกาล และมีคนจำนวนมากสละชีพ เพื่อปกป้องสิ่งเหล่านี้ให้อยู่คู่แผ่นดินกับประชาชนชนไทยมาจนถึงวันนี้

ประเทศไทยไม่สามารถขายให้ใคร ด้วยความอ่อนประสบการณ์ได้

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ จะต้องแสดงฝีมือทำให้ฝ่ายกัมพูชาตระหนักว่าความขัดแย้งระหว่างสองประเทศที่ยืดเยื้อมายาวนานนั้นมีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนเป็นรากเหง้า และ ไม่อาจจะแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการเปลี่ยนรัฐบาล ตามที่ฝ่ายนั้นคาดหวัง.
กำลังโหลดความคิดเห็น