xs
xsm
sm
md
lg

เหยื่อความรักฟื้นความหลัง วิวาห์พิสดารยุคเขมรแดง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายจากศูนย์เอกสารอ้างอิงกัมพูชา (DC-Cam) แสดงภาพชายและหญิงชาวกัมพูชาเข้าร่วมในพิธีสมรสหมู่ที่จัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่เขมรแดง ในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย. -- AFP PHOTO/HO/DC-CAM. </font></b>

เอเอฟพี - เมื่อเขมรแดงมีคำสั่งให้พัลลา (Phalla) แต่งงานกับชายที่เธอไม่เคยพบมาก่อนในปี 2519 หญิงสาวคนนี้รู้เพียงว่าเธอต้องทำตามคำสั่งหากต้องการมีชีวิตรอดต่อไปในช่วงเวลาที่เขมรแดงครองอำนาจอยู่ในขณะนั้น

หลังทำให้ผู้บังคับบัญชาในค่ายแรงงานของเธอต้องอารมณ์เสีย เพราะปฏิเสธที่จะแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของตัวเอง เธอถูกเตือนว่าการขัดขืนคำสั่งไม่ควรเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2

“ฉันถูกสั่งให้แต่งงานกับชายอีกคนหนึ่ง และหากยังปฏิเสธ ฉันจะถูกนำตัวไปอบรมอีกครั้ง ซึ่งความหมายของคำนี้คือการประหารชีวิต ฉันตอบตกลงเพราะฉันรู้สึกกลัวมาก” พัลลา ในวัย 54 ปี บอกกับผู้สื่อข่าว โดยปกปิดชื่อที่แท้จริงไว้

ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่ง กล่าวว่า เขมรแดงบังคับชายหญิงกว่าหมื่นคนให้แต่งงานกันในรูปแบบการสมรสหมู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพลพต ที่จะเพิ่มจำนวนประชากร และเจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมทุกด้านของชีวิตของประชาชนแต่ละคน และหาทางกำจัดสายสัมพันธ์ครอบครัว โดยอ้างว่ารัฐคือครอบครัวที่ทุกคนต้องการ

การปกครองระบบคอมมิวนิสต์ในยุคเขมรแดงต้องการสร้างสังคมที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ต้องรับผิดชอบชีวิตประชาชนที่ตายไปมากกว่า 2 ล้านคน จากการทำงานมากเกินไป ขาดอาหาร และถูกสังหาร ระหว่างปี 2518-2522

ผู้นำระดับสูงในยุคเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ 4 คน คือ นายนวน เจีย พี่ชายหมายเลข 2 ของฝ่ายเขมรแดง นายเขียว สัมพัน อดีตนายกรัฐมนตรี นายเอียง สารี อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และนางเอียง ธิริธ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคม ต่างต้องขึ้นให้การในศาลพิเศษของสหประชาชาติต่อการก่ออาชญากรรมดังกล่าวในช่วงกลางปีนี้
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายจากศูนย์เอกสารอ้างอิงกัมพูชา (DC-Cam) แสดงภาพบรรยากาศในพิธีสมรสหมู่ ที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพลพตที่จะเพิ่มจำนวนประชากร และต้องการควบคุมทุกด้านในชีวิตของประชาชนแต่ละคน. -- AFP PHOTO/HO/DC-CAM. </font></b>
การบังคับให้ประชาชนแต่งงานนี้รวมอยู่ในข้อกล่าวหาการก่ออาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์ ซึ่งการพิจารณาคดีจะมีขึ้นเพื่อหาความยุติธรรมให้กับบรรดาสามีภรรยาเหล่านี้ โดยมีประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อบังคับแต่งงานจำนวนมากต้องการที่จะให้ปากคำในกรณีที่เกิดขึ้น

พยานหลายคน กล่าวว่า การแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้นตรงข้ามกับงานแต่งงานตามประเพณีของกัมพูชาอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากพิธีสมรสหมู่แบบฉบับของพลพตนั้นไม่มีความรู้สึกของการเฉลิมฉลองใดๆ และไม่มีสมาชิกในครอบครัวของคู่แต่งงานเข้าร่วมงานด้วย

พัลลา เล่าถึงความหลังว่า “องค์การ” ได้เรียกชื่อชายหนึ่งคนหญิงหนึ่งคน และบอกให้ทั้งคู่ให้คำสัญญาต่อกันที่จะอยู่ร่วมกันตลอดไป และเป็นครั้งแรกของเธอเช่นกันที่ได้พบกับสามี

คู่สามีภรรยาหลายคู่ต่างรู้สึกกดดันที่จะนอนร่วมกันในคืนวันแต่งงาน และที่พักที่สร้างขึ้นจากไม้เพื่อให้คู่แต่งงานมีความเป็นส่วนตัว ก็ไม่ได้อยู่ตามลำพังอย่างที่ควรจะเป็น เพราะมีทหารยืนอยู่ใต้ที่พักคอยฟังความเป็นไปของคู่แต่งงานว่าจะไปด้วยกันได้ดีหรือทะเลาะเบาะแว้ง แต่คู่แต่งงานก็นอนข้างกันเหมือนพี่ชายและน้องสาว

ในวันถัดมาทั้งหมดก็ถูกส่งกลับไปยังค่ายพักของตัวเอง และการเจอกันก่อนการช่วงเวลาที่องค์กรจัดสรรให้เจอกันนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากมาก แต่ไม่มีใครทราบว่ากี่คู่ที่ตั้งครรภ์ หรือกี่คู่ที่แยกทางกันหลังเขมรแดงถูกขับออกจากอำนาจในปี 2522

หลังสิ้นสุดการปกครองของเขมรแดง หลายคนพยายามกลับไปหาครอบครัวและบ้านของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่คู่แต่งงานเหล่านี้จะแยกทางกัน แต่บางคู่ยังอยู่ร่วมกันเพราะมีบุตรที่เป็นผลจากการบังคับแต่งงาน

สำหรับพัลลายังคงอยู่ร่วมกับสามีที่แต่งงานภายใต้ระบบการปกครองพลพต และว่า สามีของเธอเชื่อฟังเธอ เคารพสิทธิของเธอ ไม่ได้ทารุณหรือทำร้ายเธอ และในท้ายที่สุดเธอก็ตกหลุมรักกับสามีที่แต่งงานด้วย

อย่างไรก็ตาม พัลลา ยังคงยืนยันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอาชญากรรม เพราะพวกเธอไม่มีโอกาสได้เลือกคู่ครองของตัวเอง และเธอต้องการความยุติธรรมต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

นายสิน บาน เกษตรกรชาวกัมพูชา อายุ 57 ปี เป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกบังคับแต่งงานในยุคเขมรแดง เขากล่าวว่า เจ้าหน้าที่ในชุมชนของเขาสั่งให้เขาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่งที่ขาพิการไม่กี่สัปดาห์ก่อนกองกำลังทหารของเวียดนามจะเข้ามาล้มอำนาจเขมรแดง และกล่าวด้วยแววตาที่เศร้าลงพร้อมยอมรับว่า เขาตัดสินใจที่จะทิ้งเธอเมื่อได้รับอิสรภาพคืนมา แต่เมื่อคิดว่าภรรยาของเขาที่สูญเสียทั้งพ่อและแม่และพิการ ทำให้เขารู้สึกสงสารและดูแลเธอต่อ

ปัจจุบัน นายสิน อาศัยอยู่กับภรรยาคนดังกล่าวและมีบุตรทั้งหมด 6 คน
<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายวันที่ 17 ม.ค. 2554 นายสิน บาน เกษตรกรชาวกัมพูชาขณะให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์การบังคับแต่งงานของเขมรแดง . -- AFP PHOTO/TANG CHHIN SOTHY. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น